ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในไลน์ เพื่อติดต่อ-สอบถาม
dot
dot
ไม้อัด/MDF/Particle Board
dot
bulletเช็คราคาไม้อัด
bulletเลือกซื้อไม้อัดเกรดไหนดี?
bulletไม้อัด/MDF/Particle Board
dot
ไม้แปรรูป Timber
dot
bulletไม้แปรรูปที่เรามีจำหน่าย
bulletTimberX CCA Treated Wood
bulletRubberwood AB
bulletRubberwood C
bulletไม้แปรรูปอื่นๆ Other Species
dot
พาเลท IPPC
dot
bulletพาเลท ชนิด Four Way
bulletพาเลท ชนิด two way
dot
พาเลทStandard Pallet
dot
bulletพาเลท IPPC Pallet
bulletเกี่ยวกับ EURO Pallet
bulletพาเลทสำหรับCONTAINER
dot
นานาสาระArticle
dot
bulletการเลือกใช้ไม้ชนิดต่างๆให้เหมาะกับประโยชน์การงาน
bulletลิงค์เกี่ยวกับไม้ Hot Links
bulletผลิตภัณฑ์กลุ่มวัสดุแผ่น
bulletการตกแต่งผนังโดยไม้อัดสัก Italy
bulletSoftwood & Hardwood
bulletตารางแสดงค่ากลสมบัติของไม้ชนิดต่างๆ
bulletตารางการหดตัวของไม้ชนิดต่างๆ Wood Shrinkage Table
bulletPlain Sawn or Quarter Sawn ?
bulletการติดตั้งพื้นไม้ Decking
bulletข้อกำหนดไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็ง
bulletวิธีการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้
bulletผลิตภัณฑ์ไม้กับความชื้น
bulletวิธีการเลือกซื้อพื้นไม้
bulletทางเลือกในการซื้อพื้นไม้
bulletการป้องกันและรักษาเนื้อไม้
bulletความรู้เกี่ยวกับไม้สัก
bulletFSC และการรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification)
bulletWood to the rescue
bulletAbout Rubberwood
bulletRubberwood 1,2
bulletRubberwood 3
bulletRubberwood 4 - Utilization
bulletRubberwood 5, 6
bulletข้อมูลเศรษฐกิจไม้ยางพารา
bulletอุตสาหกรรมไม้ยางพารา
bulletไม้ยางพาราในประเทศไทย
bulletคุณรู้จัก IPPC หรือยัง?
bulletกฎใหม่ลังไม้ไปนอก
bulletIPPC- ISPM 15 by country April 2006
bulletผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ไม้ ISPM15
bulletประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
bulletThailand’s forests and the forestry sector
bulletสถิติการป่าไม้ของประเทศไทย 2545-2549
bulletอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา
bulletการใช้ประโยชน์จากไม้ยางพาราในปัจจุบัน
bulletมารู้จักศัพท์ทางด้านการบรรจุภัณฑ์ดีกว่า
bulletHeat treated หรือ Methyl Bromideเลือกแบบไหนดี?
bulletการใช้ไม้เพื่อการหีบห่อ
bulletลังไม้และกล่องไม้
bulletEPAL Pallet System
bulletPallets in a container, on a truck or wagon
bulletLike Box




การใช้ประโยชน์จากไม้ยางพาราในปัจจุบัน

คำนำ

                    บทบาทของไม้ยางพารา มีส่วนเพิ่มวัตถุดิบไม้อย่างยั่งยืน มีผลทางเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่งในประเทศกลุ่มอาเซียน ปัจจุบันไทย มีเนื้อที่ปลูกยางประมาณ 12.2 ล้านไร่ เป็นประเทศผู้ผลิตยางพารา อันดับ 1 ประมาณ 2.3 ล้านตัน นอกจาก ปริมาณน้ำยางแล้ว กำลังผลิตไม้ท่อนเพื่อป้อนสู่โรงงานอุตสาหกรรมไม้ หลังจากต้นยางแก่ให้ผลผลิตต่ำ จะต้องโค่นเนื้อที่ปลูกทดแทนปี ละ 230,000 ไร่ มีปริมาณไม้ ถึง 5.1 ล้านตารางเมตร ปัจจุบันไม้แปรรูปยางพารา มีบทบาทสำคัญ เป็นวัตถุดิบของ อุตสาหกรรมไม้ของ ประเทศ ไม้ยางพาราเป็นผลพลอยได้ของการปลูกยาง สามารถลดการบุกรุกการทำลายพื้นที่ป่าอย่างได้ผลดียิ่ง

 
ความเป็นมาของการปลูกยาง

ต้นยาง (Hevea brasiliensis Muell. Arg.) เป็น ไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน บริเวณเขตชุ่มชื้น แถบลุ่มแม่น้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาได้มี การขยายการปลูกไปยัง บริเวณเขต ต่าง ๆ ของโลก และ บริเวณประเทศใกล้ เส้นศูนย์สูตร ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ประเทศไทย ในประเทศไทย ได้มีการนำมาปลูก ครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2443 โดย พระยารัษดานุประดิษฐ์ เจ้าเมืองตรัง ในขณะนั้น จาก นั้นอีก 6 ปี กรมป่าไม้ ได้มี การทดลองปลูกต้นยางใน บริเวณภาคใต้ ของประเทศ ปี พ.ศ. 2451 หลวงราชไมตรี ได้นำไปปลูกใน บริเวณ 3 จังหวัด ภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง จันทบุรี และตราด ปัจจุบันการปลูกยาง มีการกระจายการปลูกไปยัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แหล่งใหญ่ ที่สุดยังคงเป็น ภาคใต้ รองลงมา ได้แก่ ภาคตะวันออกส่วน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังถือว่าอยู่ ในขั้น ทดลอง ผลของ การสำรวจพื้นที่ปลูกยาง ที่เป็น โครงการขนาดใหญ ่ครอบคลุม พื้นที่ปลูกยาง ในภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคใต้ 14 จังหวัด และ ภาคกลางตอนล่าง 1 จังหวัด คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และพื้นที่ปลูกยางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางจังหวัด รวมพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศ จำนวน 12,245,533 ไร่ ดังนี้

 

ตารางที่ 1 แสดงพื้นที่ปลูกยางรายจังหวัด

 

จังหวัด

ปี 2529

ปี 2533

ปี 2539

ประจวบคีรีขันธ์

3,397

5,563

28,190

ชุมพร

145,739

188,942

318,709

ระนอง

26,599

75,804

79,935

สุราษฎร์ธานี

1,117,510

1,325,183

1,662,643

นครศรีธรรมราช

1,467,727

1,466,229

1,406,104

พังงา

553,415

485,464

617,817

ภูเก็ต

106,645

110,634

108,302

กระบี่

646,645

507,078

621,997

ตรัง

963,425

1,061,592

1,059,294

พัทลุง

552,066

556,740

513,369

สงขลา

1,623,704

1,650,244

1,650,178

สตูล

254,779

256,058

281,290

ยะลา

934,308

907,545

945,105

ปัตตานี

354,450

245,689

271,153

นราธิวาส

935,591

870,973

890,127

ชลบุรี

27,501

23,143

121,274

ฉะเชิงเทรา

4,532

8,181

16,597

ระยอง

397,816

606,696

639,790

จันทบุรี

396,918

263,237

527,569

ตราด

253,361

183,126

198,035

สระแก้ว

-

-

4,180

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

-

193,533

283,875

รวม

10,766,128

10,986,660

12,245,533

 

ที่มา : สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

หมายเหตุ : อ้างอิงข้อมูลนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับ นโยบาย คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ให้ ลดพื้นที่ ปลูกยาง เหลือเพียง 12 ล่านไร่ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542

การใช้ประโยชน์จากไม้ยางพาราในปัจจุบัน

เนื้อที่ป่าไม้ของประเทศ ลดลงอย่างรวดเร็วจาก อดีตถึงปัจจุบัน เนื้อที่ป่าเหล่านี้ ได้ถูกเปลี่ยน เป็นพื้นที่ปลูก พืชเศรษฐกิจ ต่างๆ รวมทั้งบางส่วน เป็นสวนยาง จัดเป็น พืชเกษตรที่ถาวร ไม่ต้องย้ายที่บ่อยๆ เหมือน การทำไร่เลื่อนลอย หรือการปลูกพืชไร่ เช่น ในภาคเหนือของประเทศ เป็นอีกสาเหตุสำคัญ ของการบุกรุกทำลายป่าไม้ ของประเทศ
ปัจจุบัน การผลิตไม้ยางพาราจากการโค่นสวนยางเก่า เพื่อเปลี่ยน เป็นยางพันธุ์ดี ประมาณว่าสามารถทำได้ ประมาณปีละ 230,000 ไร่ เนื้อไม้ จากต้นยางที่ถูกตัดโค่น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ประมาณไร่ละ 22 ลบ.ม. เมื่อคิดรวม เป็นเนื้อไม้ยางพารา ที่ตัดโค่น เพื่อเปลี่ยนใหม ่มีปริมาณไม้ถึง 5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ผลการ ศึกษาทราบว่า สามารถนำไม้ยางพาราออกมา ใช้ได้ ประมาณ 70-75 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณไม้ท่อนที่ผลิตได้ ต่อไร่ ไม้ยางพารา ส่วนใหญ่นำมาผลิต เป็นเฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ เพื่อการส่งออก ปัจจุบัน ทำรายได้จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ ไม้ยางพารา ปีละไม่ต่ำกว่า หมื่นล้านบาท เนื่องจาก อุตสาหกรรมไม้ยางพารา ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นที่นิยมของ ตลาดผลิตภัณฑ์ไม้ทั้งใน และต่างประเทศ แยกออกได้ ดังนี้
1.
ผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราได้แก่ เครื่องเรือนไม้ ของเล่น แผ่นชิ้นไม้อัด (particle board) ไม้อัด แผ่นใยไม้อัดแข็งความหนาแน่นปานกลาง (MDF) พื้นไม้ปาร์เกต์ กรอบรูป เครื่องครัว อื่นๆ เป็นต้น
2.
ไม้เสาเข็มงานก่อสร้าง
3.
ล้อไม้สำหรับม้วนสายไฟฟ้าขนาดใหญ่
4.
เชื้อเพลิงในรูปแบบต่างๆ เช่น ฟืน ถ่าน
5.
ทำลังใส่ปลา
ผลิตภัณฑ์จาก ไม้ยางพาราต่างๆ มีความต้องการใช้ไม้ท่อนเป็น จำนวนมาก เพื่อป้อน สู่ตลาดผู้บริโภค อาจสรุป ความต้องการใช้ไม้ท่อนได้ ดังนี้

ตารางที่ 2 ความต้องการใช้ไม้ท่อนกลมเพื่อกิจกรรมต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ไม้

ชนิดของผลิตภัณฑ์

2540/1997

2545/2002

2550/2007

ทำไม้แปรรูปยางพารา

2.24

2.49

2.77

ไม้อัดและไม้ยาง

1.44

1.82

2.18

แผ่นใยไม้อัด

0.29

0.43

0.57

แผ่นไม้ปาร์ติเกิล

0.56

0.83

1.13

รวมทั้งสิ้น

4.53

5.57

6.65


ที่มา : แผนแม่บทป่าไม้ กรมป่าไม้ 1993

 

ลักษณะเนื้อไม้ยางพาราและคุณสมบัติต่างๆ

ไม้ยางพาราเนื้อไม้ มีสีขาวนวล ความถ่วงจำเพาะระหว่าง 06.60 - 0.70 ที่ความชื้นในไม้ 12 % ส่วนที่เป็นกระพี้ และแก่นไม้แตกต่างกัน เนื้อไม้ค่อนข้างละเอียด เสี้ยนสนเล็กน้อยมาก


ลักษณะโครงสร้าง

ไม้ยางพาราไม่เห็นวงปีเด่นชัด แต่ลายไม้มองเห็นได้ เนื่องจาก ความแตกต่าง ระหว่างความแน่นของไฟเบอร์ และ ปริมาณความหนาแน่นของหมู่เยื่อ Parenchyma ทางด้านข้าง ลักษณะ Pore เป็นแบบเดี่ยว และแฝด 2-3 Pore คละกัน และ กระจายอยู่ค่อนข้างสม่ำเสมอมี Metatracheal Parenchyma (concentric) ติดกับ Ray เป็นตาข่ายทาง ด้านหน้าตัด


การตัดฟันต้นยาง

การทำสวนยางในประเทศไทย มีจุดประสงค์ เพื่อกรีดเอาน้ำยาง เป็นหลัก แต่ผลพลอยได้ หลักจากการทำสวนยาง คือ ไม้ยางพารา ในอดีตต้นยาง ที่ถูกตัดโค่นส่วนใหญ่ ถูกเผาทิ้ง บางส่วนนำไปทำฟืน และ สร้างความยุ่งยาก ให้แก่ชาวสวนเป็นอันมาก ประกอบกับไม้ยางพารา มีความทนทานตามธรรมชาติ ค่อนข้างต่ำ แมลง และเห็ดราสารมรถ เข้าทำลายเนื้อได้ง่าย และรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อตัดฟันต้นยางแล้ว ต้องนำไปใช้ประโยชน์ ทันที จากขีดจำกัด ของการนำไม้ยางพารามา ใช้ประโยชน์ดัง ที่กล่าวมาแล้ว จึงไม่มีผู้สนใจนำไม้ยางพาราไปใช้ ทำให้เกิดความสูญเปล่า ทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ต่อมา เมื่อทรัพยากรป่าไม้ขาดแคลน ไม้คุณภาพดีที่เคยหาได้ง่าย และราคาถูกเริ่มหายาก และมีราคาแพง ดังนั้น จึงได้พยายามหาวิธีที่จะนำไม้ยางพารา มาใช้ประโยชน์ จนประสบความสำเร็จ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ จากไม้ยางพาราเป็นที่ต้องการ ของต่างประเทศ ทำให้เกิดอาชีพการทำไม้ยางพารา ขึ้นในพื้นที่ที่มี การปลูกยางพารา ทั้งในภาคใต้ ภาคตะวันออก และเกือบทุกภาคของประเทศ

ตารางที่ 3 คาดหมายบุคลากรที่มีการจ้างงานในอุตสาหกรรมไม้ของประเทศ

ประเภทของอุตสาหกรรมไม้

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง คาดหมายจากแผนแม่บท

2545/2002

2560/2017

โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา

10.0

13.7

โรงงานไม้อัดไม้บาง

8.4

12.8

โรงงานแผ่นไม้ปาร์ติเกิล และแผ่นใยไม้อัด

4.2

9.3

โรงงานเฟอร์นิเจอร์

161.9

230.2

การตัดฟันและชักลากไม้เข้าโรงงาน

7.1

22.6

รวมกิจกรรม

191.6

288.6

ปัจจุบันการตัดฟันต้นยาง นายหน้า หรือผู้ค้าอิสระเข้าไปรับซื้อต้นยาง จากสวนต่างๆ แล้วดำเนินการ ตัดฟัน แบบตัดหมดทั้งแปลง เจ้าของสวนยาง จะขายให้กับคนกลาง เมื่อคุณภาพ และน้ำยางไม่ดี หรือไม้ยางพาราท่อน มีราคาดี จากการสำรวจ พบว่า สวนยางอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีการขายยกสวน เมื่อมีโอกาสดีมาถึง หลังจากตัดโค่น แล้วไม้ท่อน ที่ได้ขนาดโตเกินกว่า 6 นิ้ว ถูกหมายทอน กิ่งขนาดเล็ก และใบจะถูกเก็บริบสุมเผา บางพื้นที่มี การใช้สารเคมีราดที่ตอเพื่อทำให้ผุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดฟันส่วนใหญ่เป็น เลื่อยยนต์ หลังจาก หมายทอนท่อนแล้ว นำท่อนไม้ยางพารา ขนาดยาว 1.00 - 1.30 เมตร ใส่รถยนต์บรรทุกโดยใช้แรงงานคน นำไปขายยังโรงงานแปรรูป และโรงงานอุตสาหกรรมไม้ ต่างๆ ภาคตะวันออก และภาคใต้ต้นยาง ที่ตัดทอนแล้ว ไม่ได้ใช้สารเคมีพ่น หรือทาท่อนไม้ก่อนนำไปส ู่โรงงานต่างๆ ระยะทางขนส่ง ถึงโรงงานโดยเฉลี่ยประมาณ 30 - 100 กม. ระยะทาง และเวลาที่ดำเนินการตัดฟัน นิยมทำให้สั้นที่สุด เร็วที่สุดอาจเพียง 1 วัน และไม่เกิน 3 วัน เพื่อลดการถูกทำลาย จากเชื้อรา และแมลงเจาะทำลาย

โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา

ปัจจุบันการ ใช้ไม้ยางพาราแพร่หลายในทั่ว ทุกภาคของประเทศ โรงงานแปรรูปไม้ยางพาราส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคใต้เนื่องจากพื้นที่ ปลูกสวนยาง ประมาณ 85 % ของ พื้นที่ปลูกยางของประเทศ โรงงานแปรรูปขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ ไม่มีเตาอบ และ อุปกรณ์อัดน้ำยาไม้ ของตนเอง ทำให้ไม้แปรรูป ที่ได้ด้อยคุณภาพ ส่วน โรงงานแปรรูป ไม้ขนาดใหญ่ มีอุปกรณ์ต่างๆ ค่อนข้างทันสมัยกิจกรรม ของ โรงงานแปรรูป ไม้ใช้แรงงาน ค่อนข้างมาก ข้อดีในส่วนของ โรงงานแปรรูปไม้ คือ ปริมาณวัตถุดิบไม้ท่อนที่มีอยู่ค่อนข้างมาก ทำให้การแปรรูปเกิด ความชำนาญ และ เข้าใจถึงความ ต้องการในการแปรรูปให้ได้ ไม้แปรรูปมากๆ ทั้งยัง โรงเลื่อยไม้ ยางพารา ขนาดเล็ก มีตลาดไม้ยางพารา แปรรูปค่อนข้าง แน่นอนขายไม้ ให้กับ อุตสาหกรรม จุดด้อยของ โรงงานแปรรูปไม้ ยางพารา คือ โรงงานขนาดเล็ก และขนาดกลางมักขาดแคลนไม้ท่อน ในช่วงฤดูฝน เนื่องจาก สวนยางที่ตัดส่งขาย อยู่ห่างไกล เกินไป

 

การกองไม้และคัดขนาดไม้ท่อน

ไม้ยางพาราม่อนความยาว 1.00 - 1.30 เมตร บรรทุกโดย
รถยนต์บรรทุกนำส่งถึงหน้า โรงงาน เมื่อผ่าน การชั่งน้ำหนัก หรือ วัดปริมาตร เสร็จเรียบร้อยแล้ว นำมาเทกองรวมกัน สำหรับเลื่อยเปิดปีก พื้นที่กองไม้ท่อน มีทั้งพื้นคอนกรีต และ พื้นดินลูกรัง การกองไม้ ส่วนมาก ไม่เป็นระเบียบ ทับซ้อนกัน มีเพียงบาง โรงงานเท่านั้น ที่จัดเรียงไม้ท่อน ก่อนเข้าเลื่อยอย่างเป็น ระเบียบ การเรียงไม้ช่วย ทำให้การ เลื่อยไม้ รวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบ กับ วิธีการแรก การสำรวจไม่พบการคัด ขนาดของ ไม้ท่อน ก่อนเข้าเลื่อย แต่อย่างใด มีเพียงบาง โรงงานที่คัดแยก ตามขนาด ความโตก่อนส่ง เข้าเลื่อย ไม้ท่อนควรคัดขนาด และ ขนาดโตเกินกว่า 30 ซม. ส่งเข้าปอกเป็นไม้บาง กองให้เป็นระเบียบ

โรงงานแปรรูปไม้ ทางภาคตะวันออก ใช้การเลื่อยแบบที่ 1 โดย เลื่อยผ่าไม้ท่อน ออกเป็น 2 ครึ่งก่อน แล้วซอยไม้ เป็นไม้แปรรูป ตามขั้นตอน 1 - 2 และ 1 - 3 ส่วนโรงงานแปรรูป ไม้ยางพารา ทางภาคใต้ ใช้รูปแบบการเลื่อยไม้ แบบที่ 2

 




นานาสาระ

การเลือกใช้ไม้ชนิดต่างๆให้เหมาะกับประโยชน์การงาน article
ผลิตภัณฑ์กลุ่มวัสดุแผ่น
การตกแต่งผนังโดยไม้อัดสัก Italy article
ผลิตภัณฑ์ไม้กับความชื้น
การป้องกันและรักษาเนื้อไม้ article
วิธีการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้
ข้อกำหนดไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็ง
ทางเลือกในการซื้อพื้นไม้ article
ความรู้เกี่ยวกับไม้สัก
FSC และการรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification)
ตารางแสดงค่ากลสมบัติของไม้ชนิดต่างๆ
ตารางการหดตัวของไม้ชนิดต่างๆ Wood Shrinkage Table
Softwood & Hardwood
Plain Sawn or Quarter Sawn ?
การติดตั้งพื้นไม้ Decking
ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
Thailand’s forests and the forestry sector
ข้อมูลเศรษฐกิจไม้ยางพารา article
สถิติการป่าไม้ของประเทศไทย 2545 ->2549 article
อุตสาหกรรมไม้ยางพารา article
ไม้ยางพาราในประเทศไทย article
อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา
Rubberwood 1,2 - Introduction & Resourse Proporties article
Rubberwood 3- Resources Availability article
Rubberwood 4 - Utilization article
Rubberwood 5, 6- Availability and Conclusion article
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับEURO PALLET
ส่งออกสินค้าไปยุโรป อ่านที่นี่
มารู้จักศัพท์ทางด้านการบรรจุภัณฑ์ดีกว่า article
คุณรู้จัก IPPC แล้วหรือยังว่าคืออะไร article
กฎใหม่ลังไม้ไปนอก article
IPPC- ISPM 15 Implementation Dates by country April 2006 article
Heat treated หรือ Methyl Bromideเลือกแบบไหนดี?
รายชื่อผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ISPM15 article
การใช้ไม้เพื่อการหีบห่อ
ลังไม้และกล่องไม้
EPAL Pallet System
Pallets in a container, on a truck or wagon article
พาเลทหมุนเวียน ลดต้นทุนโลจิสติกส์ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Loading