ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในไลน์ เพื่อติดต่อ-สอบถาม
dot
dot
ไม้อัด/MDF/Particle Board
dot
bulletเช็คราคาไม้อัด
bulletเลือกซื้อไม้อัดเกรดไหนดี?
bulletไม้อัด/MDF/Particle Board
dot
ไม้แปรรูป Timber
dot
bulletไม้แปรรูปที่เรามีจำหน่าย
bulletTimberX CCA Treated Wood
bulletRubberwood AB
bulletRubberwood C
bulletไม้แปรรูปอื่นๆ Other Species
dot
พาเลท IPPC
dot
bulletพาเลท ชนิด Four Way
bulletพาเลท ชนิด two way
dot
พาเลทStandard Pallet
dot
bulletพาเลท IPPC Pallet
bulletเกี่ยวกับ EURO Pallet
bulletพาเลทสำหรับCONTAINER
dot
นานาสาระArticle
dot
bulletการเลือกใช้ไม้ชนิดต่างๆให้เหมาะกับประโยชน์การงาน
bulletลิงค์เกี่ยวกับไม้ Hot Links
bulletผลิตภัณฑ์กลุ่มวัสดุแผ่น
bulletการตกแต่งผนังโดยไม้อัดสัก Italy
bulletSoftwood & Hardwood
bulletตารางแสดงค่ากลสมบัติของไม้ชนิดต่างๆ
bulletตารางการหดตัวของไม้ชนิดต่างๆ Wood Shrinkage Table
bulletPlain Sawn or Quarter Sawn ?
bulletการติดตั้งพื้นไม้ Decking
bulletข้อกำหนดไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็ง
bulletวิธีการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้
bulletผลิตภัณฑ์ไม้กับความชื้น
bulletวิธีการเลือกซื้อพื้นไม้
bulletทางเลือกในการซื้อพื้นไม้
bulletการป้องกันและรักษาเนื้อไม้
bulletความรู้เกี่ยวกับไม้สัก
bulletFSC และการรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification)
bulletWood to the rescue
bulletAbout Rubberwood
bulletRubberwood 1,2
bulletRubberwood 3
bulletRubberwood 4 - Utilization
bulletRubberwood 5, 6
bulletข้อมูลเศรษฐกิจไม้ยางพารา
bulletอุตสาหกรรมไม้ยางพารา
bulletไม้ยางพาราในประเทศไทย
bulletคุณรู้จัก IPPC หรือยัง?
bulletกฎใหม่ลังไม้ไปนอก
bulletIPPC- ISPM 15 by country April 2006
bulletผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ไม้ ISPM15
bulletประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
bulletThailand’s forests and the forestry sector
bulletสถิติการป่าไม้ของประเทศไทย 2545-2549
bulletอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา
bulletการใช้ประโยชน์จากไม้ยางพาราในปัจจุบัน
bulletมารู้จักศัพท์ทางด้านการบรรจุภัณฑ์ดีกว่า
bulletHeat treated หรือ Methyl Bromideเลือกแบบไหนดี?
bulletการใช้ไม้เพื่อการหีบห่อ
bulletลังไม้และกล่องไม้
bulletEPAL Pallet System
bulletPallets in a container, on a truck or wagon
bulletLike Box




อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา

อัตราการแปรรูปไม้ (Lumber recovery)

อัตราการแปรรูปไม้ หมายถึง สัดส่วนของปริมาตร ไม้แผ่นที่ได้จากแปรรูปต่อปริมาตร ของไม้ท่อนที่เข้าแปรรูป คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือ เขียนเป็นสูตรได้ ดังนี้คือ

อัตราการแปรรูปไม้ = ปริมาตรไม้แปรรูป X 100 % ปริมาตรไม้ท่อนที่เลื่อย

โรงงานแปรรูปไม้โดยทั่วไป นิยมซื้อไม้ท่อนหน้าโรงงาน เป็นหน่วยน้ำหนักกิโลกรัมหรือเป็นตัน (1,000 กก.) บางแห่งไม่มีเครื่องชั่งรับซื้อ เป็นหน่วยปริมาตร โดยใช้การกองไม้ท่อนให้ได้ความกว้าง 1 เมตร สูง 1 เมตร ยาว 1 เมตร มักเรียกเป็นหลา (1 ลูกบาศก์เมตร) โดยคิดเทียบน้ำหนักไม้ท่อน 1 ตันมีปริมาตร 1.30 ลบ.ม.

การอาบน้ำยาไม้และอบไม้

การสำรวจ โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา ทางภาคตะวันออก จำนวน 4 โรง และทางภาคใต้จำนวน 9 โรง พบว่า โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา มีเครื่องอัดน้ำยาไม้ และเตาอบไม้ ทั้งสิ้น 11 โรง มีเพียง 2 โรงเท่านั้นที่แปรรูปไม้เพียงอย่างเดียว ดังนี้
1. การอาบน้ำยาไม้ การตัดฟันหมายทอนไม้ แล้วบรรทุกสู่ โรงงานแปรรูป กระทำ ในเวลาอันสั้นไม่เกิน 3 วัน ทั้งภาคใต ้และภาคตะวันออกไม่มีการใช้
สารเคมีป้องกันเชื้อรา และแมลงเจาะกินไม้ แต่อย่างใด เมื่อไม้ท่อนเข้าสู่ โรงงานแปรรูป ไม้ถูกนำเข้าแปรรูปทันที เพื่อป้องกันการทำลาย ของเชื้อรา และแมลงหลังจากแปรรูป แล้วทำ การอัดน้ำยา จำพวกบอเรต หรือโบรอน โดยการอัด เข้า เนื้อไม้ แบบเต็มเซลล์ ก่อนอบไม้ ไม้ยางพารา เป็นไม้ที่มีความทนทาน ตาม ถังอัดน้ำยาไม้ ธรรมชาติต่ำเกิดเชื้อรา และ การทำลายของแมลง
ได้ง่าย พบว่าการอาบน้ำยาง แบบใช้แรงอัด ขนาดความจุของถังอัด ตั้งแต่ 3.5 - 8.0 ม.3 ตัวยาที่ใช้ในการอัด คือ Timbor ราคากิโลกรัมละ 50-60 บาท Boric + Borax ราคากิโลกรัมละ 32-40 บาท และ Cellbor ราคากิโลกรัมละ 36-42 บาท ใช้เวลาในการอัดต่อครั้งประมาณ 1 1/2 - 2 ชม. โดยใช้ความดัน 150 - 200 ปอนด์/นิ้ว 2





2. เตาอบไม้
ไม้ยางพารา จะอบหลังจาก ไม้ผ่าน การอัดน้ำยาไม้แล้ว ลักษณะเตาอบไม้ เป็นการอบไม้ แบบใช้ไอน้ำ ทั้งสิ้น บางโรง มีเครื่องควบคุม จะไม่มี ตารางอบไม้ แต่อบไม้โดยอาศัยความชำนาญ หรือจากประสบการณ์ อบไม้ให้มีความชื้น 8-12 % เวลาในการอบ แต่ละเตาประมาณ 7-15 วัน เตาอบไม้ด้วยไอน้ำ ขึ้นอยู่กับขนาดเตา ความหนา และความชื้นของไม้ ก่อนเข้าอบ การตรวจสอบความชื้น ของไม้ ใช้เครื่องวัดความชื้น (มาตรวัดหาค่าความชื้น) จำนวนเตาอบไม้ของแต่ละโรง มีตั้งแต่ 5-50 เตา ความจุ 13.0 - 45.0 ม.3 / เตา โดยเฉลี่ยเตาอบไม้แต่ละโรงมีประมาณ 8-10 เตา มีความจุระหว่าง 20.0 - 30.0 ม.3 / เตา

การตรวจสอบคุณภาพไม้ยางพารา

ไม้ยางพาราแปรรูปที่ผ่านกรรมวิธีรักษาเนื้อไม้ เมื่อนำไม้มาไสหน้าเรียบร้อยแล้ว ก่อนนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพไม้ เพื่อตรวจสอบว่า น้ำยาเคมีที่อัดซึมเข้าไปในเนื้อไม้ มากน้อยเพียงใด จำเป็นต้องตรวจสอบ ไม้ทุกเตาอบ โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างด้วย การเลือกหยิบมาตรวจ 2-3 ชิ้น (ในแต่ละมุมของเตาอบ) เพื่อตรวจดูว่าน้ำยาเคมี ที่อัดเข้าไปในเนื้อไม้ยางพารา ที่อบแห้งแล้ว น้ำยาซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อไม้มาก หรือน้อย เพียงพอที่จะป้องกันเชื้อรา และแมลงทำลายเนื้อไม้ได้ดี พอตามความต้องการ หรือไม่ มีวิธีผสมสารเคมีที่ใช้ตรวจสอบ คือ

สารเคมีที่ใช้กันเป็นส่วนมากมี ดังนี้
ผงโครมอาซุรอล เอส (Chrome Azurol S Powder) 0.5 กรัม
แอนไฮดรัส โซเดียม อาซีเตท (Anhydrous Sodium Acetate) 0.5 กรัม
น้ำกลั่นบริสุทธิ์ (Distilled Water) 100 มิลลิเมตร

นำสารเคมีทั้ง 3 ผสมในขวดที่มีฝาปิดมิดชืด เมื่อต้องการใช้น้ำยาเคมีที่ ผสมใช้พู่กันจุ่มน้ำยา ดังกล่าวทาที่หัวไม้ หรือไสไม้ก่อน แล้วทาที่บริเวณใด ของไม้ก็ได้ (เหตุที่ให้ทาหัวไม้ เพราะเมื่อตัดหัวไม้ทิ้ง ไม้ท่อนนั้นยังนำมาทำประโยชน์ อย่างอื่นได้) เมื่อทาน้ำยา ทดสอบบริเวณ ที่ต้องการ ปล่อยไม้ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที สังเกตไม้ที่ทาน้ำยาทดสอบ จะเห็นบริเวณที่ทาน้ำยา ทดสอบค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีม่วงยิ่งเป็นสีม่วงเข้มมาก เท่าใด หมายถึง น้ำยาเคมีที่เราอัดเข้าไปในเนื้อไม้ เพื่อป้องกันเชื้อรา และแมลงที่จะทำลายเนื้อไม้ ในช่วงกรรมวิธีรักษาเนื้อไม้นั้น ได้ซึมเข้าไปในเนื้อไม้ มากเท่านั้น
ข้อควรระวัง น้ำยาที่ใช้ในการทดสอบ ไม้ยางพารา ควรผสมใช้ วันต่อวัน หรือ ผสมใช้เป็นครั้งคราว ให้ผลใน การทดสอบดีกว่า

การทดสอบความชื้นของไม้

การทดสอบความชื้นของไม้ จำเป็นมาก เพราะไม้ยางพาราเป็นไม้ ที่สามารถดูดซึมความชื้นในอากาศ ได้ดี ต้อง ดูแลไม้ยางพาราที่อบแห้งแล้ว เป็นอย่างดี โดยวางไว้ในที่ที่ฝนสาดไม่ถึง ไม้ยางพารา ที่นำออกจากเตาอบ ทุกโรงงาน ถือปฏิบัติเช่นเดียวกัน คือ ความชื้นอยู่ที่ 8-10 % เมื่อไม้ออกจากเตาอบมาอยู่ใน ระดับอากาศท้องถิ่น การดูดซึมความชื้น จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ในไม้ตามภาวะของอากาศ ภาคตะวันออก อากาศมีความชื้นเฉลี่ย 11-14 % ในฤดูฝนอาจถึง 15 %
เครื่องมือ ที่ใช้วัดความชื้นในไม้ เท่าที่ศึกษาพบว่า ทางภาคตะวันออก ใช้เครื่องมือ 3 ชนิด คือ
เครื่องวัดความชื้นชนิดที่ใช้ตะปูตัวเดียว วิธีการวัด ตอกตะปู 1 ตัว ลงไปใน เนื้อไม้ ความชื้นที่มีอยู่ในไม้ จะผ่านตะปูเข้าไปที่มาตรวัดความชื้น เข็มจะเคลื่อน ไปตามตัวเลขบอกระดับความชื้นในไม้
เครื่องวัดความชื้นชนิดที่ใช้ตะปู 2 ตัว วิธีการวัด ตอกตะปู 2 ตัว ลงไปในเนื้อไม้ ความชื้นในไม้จะผ่านตะปูทั้ง 2 ตัว เข้าไปในเครื่องวัด เพื่อบอกตัวเลขระดับความชื้น เช่นเดียวกับ เครื่องวัดแบบตะปูตัวเดียว
เครื่องวัดความชื้นแบบดิจิตอล วิธีการวัด วัดได้เฉพาะไม้ที่ไสเรียบแล้ว ใช้เครื่องทาบลง ไปบนผิวหน้าไม้ ที่จะวัด กดให้แนบสนิทกับไม้ ตัวเลขบนเครื่องวัดจะขึ้น - ลง อยู่ประมาณ 1 นาที จึงหยุดนิ่งแสดงถึงระดับความชื้นในไม้

ผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา

การจำแนกผลิตภัณฑ์ การนำไม้ยางพารามาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านปริมาณ และ ความหลากหลาย ของผลิตภัณฑ์ ซึ่ง ตลาดต่างประเทศให้การยอมรับ เช่น

1. เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา
2. ผลิตภัณฑ์ไม้
  2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้
  2.2 กรอบรูปไม้
  2.3 รูปแกะสลัก และเครื่องประดับทำด้วยไม้
  2.4 วัสดุก่อสร้างทำด้วยไม้
      ไม้ปาร์เกต์ ไม้พื้น (Flooring)
        ไม้เสา เช่น ไม้นั่งร้าน และไม้ค้ำยันสำหรับการก่อสร้าง
3. ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น
  3.1 ไม้แปรรูปเป็นแผ่นหนาเกิน 6 มม.
  3.2 แผ่นไม้วีเนียร์
  3.3 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่นอื่นๆ
4. ของเล่นไม้ประเภทประเทืองปัญญา (Education Toys)
5. เชื้อเพลิง ได้แก่ ฟืนและถ่าน
6. เยื่อกระดาษ (ซึ่งปัจจุบันได้ทดลองผลิตแต่ไม่มากนัก เนื่องจากปัญหาด้านการผลิต
เนื่องจากไม้ยางพารายังมีน้ำยาง ทำให้กระดาษเกิดจุดด่างๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา

อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ไม้ของไทย เป็นเฟอร์นิเจอร์ ที่ผลิต จากไม้ยางพารา (Solid Wood) ร้อยละ 60 ผลิตจากไม้เนื้อแข็ง ร้อยละ 10 และ ที่เหลืออีกร้อยละ 30 เป็น การผลิตจากไม้แผ่นเรียบ เช่น ปาร์ติเกิลบอร์ด และไม้อัด ซึ่งส่วนใหญ่ มาจากไม้ยางพาราร้อยละ 90 เป็นต้น
ซึ่งมีโรงงาน ที่เกี่ยวข้องกับไม้ยางพารา ที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ทั่วประเทศสูงถึง จำนวน 814 โรง แต่ถ้าแยกเป็นโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา มีจำนวน 433 โรง (16 มค.45) ซึ่งโรงงาน ดังกล่าวอยู่ใน ภาคตะวันออก ภาคใต้ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ไม้ยางพารา ทำให้มีการจ้างแรงงาน มากกว่า 20,000 คน

ภาวะการส่งออกอุตสาหกรรมที่ใช้ไม้เป็นวัตถุดิบภาพรวมการส่งออก

ไม้เป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญของไทย ที่สร้างรายได้ให้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกยาง และ ก่อให้เกิดอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ อีกมาก โดยอุตสาหกรรมป่าไม้ สามารถเชื่อมโยง (Linkage Effect) ทั้ง Backward และ Forward Linkage เช่น อุตสาหกรรมกระดาษ และเยื่อกระดาษ ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ ที่สามารถผลิตส่งออก และ สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศได้ หรือ อุตสาหกรรมไม้แปรรูป ก่อให้เกิด อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์รวมถึงผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมไม้ ที่ใช้ในครัวเรือน เป็นสินค้า ที่ส่งออก เป็นที่รู้จักของ ผู้ซื้อในต่างประเทศ

ตลาดการส่งออก

การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ยาง จะเห็นได้ว่ามีการขยายตัวมาก ในปี 2543 โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 21,682.1 ล้านบาท ในปี 2542 เป็น 27,833.2 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.37 ซึ่งในปี 2544 (มค. - กย.) สามารถส่งออกมีมูลค่า ถึง 20,240 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีภาวะการส่งออก ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจาก ปี 2543 ดัง ตารางที่ 4

ตารางที่ 4 ภาวะการส่งออกอุตสาหกรรมที่ใช้ไม้เป็นวัตถุดิบ

ลำดับ
สินค้า
2541
2542
2543
2544 (มค.-กย.)
1. เฟอร์นิเจอร์ไม้
17,766.1
21,682.1
27,833.2
20,240.0
2. ผลิตภัณฑ์ไม้
11,976.4
12,301.6
14,130.5
11,047.8
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้
3,731.8
3,574.3
3,574.3
3,426.7
2.2 กรอบไม้
207.2
208.0
223.6
153.7
2.3 รูปแกะสลัก และเครื่องประดับทำด้วยไม้
136.0
141.3
169.0
205.0
2.4 อุปกรณ์ก่อสร้างทำด้วยไม้
468.9
691.4
4 851.6
635.7
3. ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น
4,513.3
6,880.6
9,294.4
7,525.4
3.1 ไม้แปรรูปเป็นแผ่นหนาเกิน 6 มม.
472.4
1,418.8
2,211.5
1,638.7
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์
471.5
374.1
336.1
289.2
3.3 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่นอื่นๆ
1,908.3
3,163.8
4,397.5
3,499.7
รวม
41,651.9
50,435.7
63,934.2
48,661.9
4. กระดาษเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์
16,346.0
15,691.4
17,603.7
14,523.6
รวม
57,997.9
66,397.1
81,537.9
63,135.5

ตลาดที่สำคัญใน การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ซึ่งมีมูลค่าในปี 2544 (มค.-กย.) ถึง 8,56.1 ล้านบาท 6,672.1 ล้านบาท และ 907.5 ล้านบาท ตามลำดับ



นานาสาระ

การเลือกใช้ไม้ชนิดต่างๆให้เหมาะกับประโยชน์การงาน article
ผลิตภัณฑ์กลุ่มวัสดุแผ่น
การตกแต่งผนังโดยไม้อัดสัก Italy article
ผลิตภัณฑ์ไม้กับความชื้น
การป้องกันและรักษาเนื้อไม้ article
วิธีการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้
ข้อกำหนดไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็ง
ทางเลือกในการซื้อพื้นไม้ article
ความรู้เกี่ยวกับไม้สัก
FSC และการรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification)
ตารางแสดงค่ากลสมบัติของไม้ชนิดต่างๆ
ตารางการหดตัวของไม้ชนิดต่างๆ Wood Shrinkage Table
Softwood & Hardwood
Plain Sawn or Quarter Sawn ?
การติดตั้งพื้นไม้ Decking
ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
Thailand’s forests and the forestry sector
ข้อมูลเศรษฐกิจไม้ยางพารา article
สถิติการป่าไม้ของประเทศไทย 2545 ->2549 article
อุตสาหกรรมไม้ยางพารา article
ไม้ยางพาราในประเทศไทย article
การใช้ประโยชน์จากไม้ยางพาราในปัจจุบัน
Rubberwood 1,2 - Introduction & Resourse Proporties article
Rubberwood 3- Resources Availability article
Rubberwood 4 - Utilization article
Rubberwood 5, 6- Availability and Conclusion article
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับEURO PALLET
ส่งออกสินค้าไปยุโรป อ่านที่นี่
มารู้จักศัพท์ทางด้านการบรรจุภัณฑ์ดีกว่า article
คุณรู้จัก IPPC แล้วหรือยังว่าคืออะไร article
กฎใหม่ลังไม้ไปนอก article
IPPC- ISPM 15 Implementation Dates by country April 2006 article
Heat treated หรือ Methyl Bromideเลือกแบบไหนดี?
รายชื่อผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ISPM15 article
การใช้ไม้เพื่อการหีบห่อ
ลังไม้และกล่องไม้
EPAL Pallet System
Pallets in a container, on a truck or wagon article
พาเลทหมุนเวียน ลดต้นทุนโลจิสติกส์ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Loading