ดร. อมรรัตน์ สวัสดิทัต
ลังไม้
ลังไม้แตกต่างกับกล่องไม้อย่างเห็นได้ชัด คือ ลังไม้มีไม้เสริมใต้ลังและบนฝาลัง การเสริมไม้ใต้ลังนั้นเพื่อประโยชน์ในการสอดแขนของรถยก หรือใช้เชือกช่วยในการขนย้าย ส่วนการเสริมไม้บนลังเพื่อช่วยในการเปิดลังได้เป็นแผ่นเดียวกัน ลังไม้มีทั้งประเภท ลังไม้ทึบและลังไม้โปร่ง ดังแสดงไว้ในรูป ลังไม้สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 800 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่ากล่องไม้ถึง 2 เท่า
ตารางแสดงคุณสมบัติของลังไม้
แบบที่ |
น้ำหนักสินค้า(กิโลกรัม) |
ยาว x กว้าง x สูง(มิลลิเมตร) |
ความหนาแผ่นไม้(มิลลิเมตร) |
1 |
50350 |
1500 x 1000 x 750 |
1823 |
2 |
100400 |
2000 x 1000 x 1000 |
1823 |
3 |
สูงสุด500 |
2000 x 1000 x 1000 |
1828 |
4 |
700 |
2500 x 1200 x 1200 |
2132 |
5 |
800 |
2500 x 1200 x 1200 |
2132 |
6 |
450 |
2000 x 1000 x 1000 |
18-23 |
ส่วนลังไม้โปร่งนั้น เป็นลังไม้ที่ทำเป็นกรอบโดยไม่ประสงค์ที่จะปิดให้มิด เพื่อประหยัดวัสดุและแรงงาน ง่ายในการตรวจสอบ สามารถมองเห็นได้หากเกิดความเสียหายแก่สินค้าและจะได้เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น
กล่องไม้
กล่องไม้ (box) ในที่นี้หมายถึง กล่องที่ทำจากแผ่นไม้ประกอบด้วย วิธีตอกตะปูใช้กับสินค้าที่มีน้ำหนักไม่มากนัก และไม่มีไม้เคร่าเสริมที่ก้นกล่อง ส่วนลัง (case) ใช้กับสินค้าที่มีน้ำหนักปานกลางเสริมไม้เคร่าก้นลัง ถ้าเป็นลังโปร่ง (crate) ใช้กับสินค้าได้ทุกชนิดและมักจะตีไม้ห่างๆ ให้สามารถตรวจสอบ สินค้าภายในได้
กล่องไม้เป็นบรรจุภัณฑ์เก่าแก่ที่สุดที่ทำจากไม้ และไม่มีการพัฒนาไปมากนัก ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมี 5 แบบ (ดังรูป) ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ ลักษณะ การเข้าไม้ การเสริมความแข็งแรงภายในและภายนอก กล่าวคือ
ตารางแสดงคุณสมบัติของกล่องไม้
แบบที่ |
น้ำหนักสินค้า(กิโลกรัม) |
ยาว x กว้าง x สูง(มิลลิเมตร) |
ความหนาแผ่นไม้(มิลลิเมตร) |
1 |
2050 |
500 x 300 x 2 |
6810 (ด้านข้าง),15 (ด้านปลาย) |
2 |
40 |
600 x 400 x 300 |
1520 |
3 |
300 |
600 x 400 x 300 |
1015(ไม้เสริม 35 x 35) |
4 |
400 |
1000 x 750 x 750 |
1523 (ไม้เสริม 20 x 60) |
5 |
600 |
1000 x 750 x 750 |
1828 (ไม้เสริม 20 x 60) |
แบบที่ 1 นั้นไม้ด้านข้างจะตอกติดกับไม้ด้านปลาย ดังนั้นไม้ด้านปลายควรจะมีความหนามากกว่าไม้ด้านข้าง เพราะจะต้องเป็นส่วนรับตะปูและ รอยต่อของไม้ทั้ง 2 ด้าน ไม่ควรอยู่ในแนวเดียวกัน ส่วนแบบที่ 2 เป็นการเข้าไม้โดยใช้กาว แบบที่ 3, 4 และ 5 มีไม้เสริมความแข็งแรงเพื่อให้รับน้ำหนัก ได้มากขึ้น
กล่องไม้เย็บด้วยลวดหรือมีขอบโลหะ
กล่องไม้ประเภทนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำการลดรูปและประกอบได้ใหม่อย่างรวดเร็ว จึงขนส่งไปยังผู้ใช้ได้สะดวก และสามารถใช้หมุนเวียนได้ อย่างไรก็ตามการทำกล่องไม้ชนิดนี้ต้องใช้ความชำนาญ
กล่องเย็บด้วยลวด คือ บรรจุภัณฑ์ทำด้วยไม้เย็บด้วยลวดหลายเส้นไปตามแนวยาว และยึดติดกับขอบไม้ ด้าน ปลายลังทั้ง 2 ข้างทำแยกกัน แล้วยึดติดกับขอบไม้ให้เป็นรูปกล่องที่สมบูรณ์ การเย็บด้วยลวดมี 2 ประเภทคือ ประเภทที่เป็นห่วงปิด โดยสอดห่วงที่ติดกับตัวลังเข้ากับห่วงที่ติดกับฝาแล้วพับลง และประเภทที่ปล่อยปลายลวด เหลือไว้ไม่ต่ำกว่า 50 มิลลิเมตร เมื่อปิดฝากล่องให้บิดปลายลวดไขว้กันโดยตัดให้ลวดที่บิดเหลือเพียง 15 มิลลิเมตร แล้วตอกลงเพื่อขจัดส่วนแหลมคม (รูปที่ 1) กล่องเย็บด้วยลวดนี้สามารถลดรูปได้ (รูปที่ 2) ความแข็งแรงของกล่อง ขึ้นอยู่กับไม้เคร่าที่ใช้ทำขอบ ความหนาของไม้เคร่า จำนวนและขอบของลวด และวิธีการที่ใช้ในการปิดลัง
ส่วนกล่องมีขอบโลหะนั้น คือ การใช้หมุดย้ำขอบโลหะแทนไม้เคร่า มีทั้งชนิดลดรูปและชนิดคงรูป (รูปที่ 3) โดยใช้หมุนเวียนหรือครั้งเดียว
ไม้ที่ใช้หากเป็นไม้อัดทำจากไม้เนื้อแข็ง ควรหนา 36 มิลลิเมตร ถ้าทำจากไม้เนื้ออ่อนควรหนาไม่น้อยกว่า 8 มิลลิเมตร ขอบโลหะทำด้วยแผ่น เหล็กอาบดีบุก ให้มีรอบงอได้กว้าง 3 มิลลิเมตร และบางเพียงพอที่จะพับแบนได้ง่าย หมุดย้ำมีขนาด 4 มิลลิเมตร และควรปลอดสนิมไม้ที่ใช้หากเป็นไม้อัดทำจากไม้เนื้อแข็ง ควรหนา 36 มิลลิเมตร ถ้าทำจากไม้เนื้ออ่อนควรหนาไม่น้อยกว่า 8 มิลลิเมตร ขอบโลหะทำด้วยแผ่น เหล็กอาบดีบุก ให้มีรอบงอได้กว้าง 3 มิลลิเมตร และบางเพียงพอที่จะพับแบนได้ง่าย หมุดย้ำมีขนาด 4 มิลลิเมตร และควรปลอดสนิม
เนื่องจากผักและผลไม้สดมีน้ำหนักเบา จึงได้มีการใช้ถาดและกล่องไม้เพื่อการหีบห่อและขนส่ง ซึ่งประสบ ผลสำเร็จอย่างสูง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ขนาดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เพื่อบรรจุผลิตผลสดมีมากกว่า 700 รูปแบบ
ในปี พ.ศ. 2518 ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปได้ให้คำแนะนำที่ใช้ขนส่งระหว่างประเทศ ควรเป็นหน่วยย่อยของ แท่งรองรับสินค้า (ยาว x กว้าง) 1200 x 1000 มิลลิเมตร ขนาดของบรรจุภัณฑ์จึงควรเป็น 400 x 300, 500 x 300, 500 x 400 หรือ 600 x 400 มิลลิเมตร ซึ่งจะวางเรียงบนแท่นรองรับสินค้าดังกล่าวได้พอดี
การออกแบบและโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ควรเอื้ออำนวยต่อคุณสมบัติของผลิตผล การขนถ่ายและการขนส่ง โดยมีคุณสมบัติดังนี้
* มีช่องระบายอากาศเพื่อช่วยให้ผลิตผลสดอยู่เสมอ
* รวมหน่วยภาชนะบรรจุขนาดเดียวกันในรูปแบบที่เป็นสากล
* ป้องกันความเสียหายในการเก็บ การขนส่งและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
* ถาดควรมีการต้านแรงกดสูงในการวางซ้อนในคลังสินค้า
* ใช้กับเครื่องจักรสำหรับการขนส่งได้ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว เนื่องจากผลิต ผลเน่าเสียง่าย
* ช่วยในการขาย สามารถแสดงตัวสินค้าได้ดีและดึงดูดผู้ซื้อ
* หากต้องการขนถ่ายผลิตผลสดเป็นจำนวนมาก อาจบรรจุได้ถึง 1,500 กิโลกรัม และวางซ้อนกันได้สูงถึง 67 ชั้น ฐานบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ควรมี ลักษณะ เป็นแท่นรองรับสินค้าเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายด้วยรถยก
ไม้ที่นำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับพืชผลสดนั้น ควรมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 20 และปราศจากเชื้อรา หากใช้การอบน้ำยาต้องสะอาดและไม่มีสารเคมี ตกค้าง หากอยู่ในสภาพไม่ดีไม่ควรนำมาใช้หมุนเวียน