ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในไลน์ เพื่อติดต่อ-สอบถาม
dot
dot
ไม้อัด/MDF/Particle Board
dot
bulletเช็คราคาไม้อัด
bulletเลือกซื้อไม้อัดเกรดไหนดี?
bulletไม้อัด/MDF/Particle Board
dot
ไม้แปรรูป Timber
dot
bulletไม้แปรรูปที่เรามีจำหน่าย
bulletTimberX CCA Treated Wood
bulletRubberwood AB
bulletRubberwood C
bulletไม้แปรรูปอื่นๆ Other Species
dot
พาเลท IPPC
dot
bulletพาเลท ชนิด Four Way
bulletพาเลท ชนิด two way
dot
พาเลทStandard Pallet
dot
bulletพาเลท IPPC Pallet
bulletเกี่ยวกับ EURO Pallet
bulletพาเลทสำหรับCONTAINER
dot
นานาสาระArticle
dot
bulletการเลือกใช้ไม้ชนิดต่างๆให้เหมาะกับประโยชน์การงาน
bulletลิงค์เกี่ยวกับไม้ Hot Links
bulletผลิตภัณฑ์กลุ่มวัสดุแผ่น
bulletการตกแต่งผนังโดยไม้อัดสัก Italy
bulletSoftwood & Hardwood
bulletตารางแสดงค่ากลสมบัติของไม้ชนิดต่างๆ
bulletตารางการหดตัวของไม้ชนิดต่างๆ Wood Shrinkage Table
bulletPlain Sawn or Quarter Sawn ?
bulletการติดตั้งพื้นไม้ Decking
bulletข้อกำหนดไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็ง
bulletวิธีการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้
bulletผลิตภัณฑ์ไม้กับความชื้น
bulletวิธีการเลือกซื้อพื้นไม้
bulletทางเลือกในการซื้อพื้นไม้
bulletการป้องกันและรักษาเนื้อไม้
bulletความรู้เกี่ยวกับไม้สัก
bulletFSC และการรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification)
bulletWood to the rescue
bulletAbout Rubberwood
bulletRubberwood 1,2
bulletRubberwood 3
bulletRubberwood 4 - Utilization
bulletRubberwood 5, 6
bulletข้อมูลเศรษฐกิจไม้ยางพารา
bulletอุตสาหกรรมไม้ยางพารา
bulletไม้ยางพาราในประเทศไทย
bulletคุณรู้จัก IPPC หรือยัง?
bulletกฎใหม่ลังไม้ไปนอก
bulletIPPC- ISPM 15 by country April 2006
bulletผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ไม้ ISPM15
bulletประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
bulletThailand’s forests and the forestry sector
bulletสถิติการป่าไม้ของประเทศไทย 2545-2549
bulletอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา
bulletการใช้ประโยชน์จากไม้ยางพาราในปัจจุบัน
bulletมารู้จักศัพท์ทางด้านการบรรจุภัณฑ์ดีกว่า
bulletHeat treated หรือ Methyl Bromideเลือกแบบไหนดี?
bulletการใช้ไม้เพื่อการหีบห่อ
bulletลังไม้และกล่องไม้
bulletEPAL Pallet System
bulletPallets in a container, on a truck or wagon
bulletLike Box




FSC และการรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification)


FSC (Forest Stewardship Council)

เป็นองค์กรเอกชนภายใต้ความร่วม-มือของกลุ่มต่างๆจากทั่วโลก อาทิ กลุ่มอนุรักษ์ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม ผู้ค้าไม้ ผู้ผลิตสินค้าจากไม้ และองค์กรผู้ให้การรับรองไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ เพื่อจัดทำระบบการให้การ
รับรองไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซึ่งเป็นการรับประกันว่า ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ได้รับการประทับเครื่องหมาย FSC เป็นไม้และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไม้จากป่าธรรมชาติหรือป่าปลูกที่มีการจัดการป่าอย่างถูกต้องตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ คือมีการปลูกไม้แบบยั่งยืน


            
ตัวอย่างใบรับรองFSC                                    

 การรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification)

     

          การรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification) เป็นเครื่องมือหรือวิธีการใหม่ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อวงการป่าไม้ทั่วโลก โดยการใช้การตลาดเป็นข้อกำหนดในการจูงใจให้ปรับปรุงวิธีการจัดการป่าไม้ โดยวิธีการที่ได้รับการยอมรับแพร่หลายและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการชักจูงให้กระทำตามโดยมิใช่บังคับโดยกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆอย่างที่เคยปฏิบัติมาในอดีต และประการสำคัญวิธีการนี้สามารถช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ (Stake – holders) หันหน้าเข้าหากันเพื่อที่จะเดินไปตามหลักการของการพัฒนาแบบยั่งยืน
          การรับรองป่าไม้ (F.C) ได้มีการพัฒนาต่อจากการประชุม UNCED (United Nation Conference on Environment and Development) ที่เมือง Rio de Janeiro, ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 3 – 14 มิถุนายน ปี 1992 ซึ่งมีข้อสรุปร่วมกันที่จะให้ความสนใจ 3 ประการหลัก คือ
          1. ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biological Diversity)
          2. การเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ (Climate Change)
          3. Combat Desertification
และได้มีการกำหนดหลักการป่าไม้ขึ้นมา (Forest Principles) สำหรับเป็นหลักในการนำไปปฏิบัติทั่วโลก และจากการประชุมการป่าไม้ของทวีปยุโรปที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ในปี 1993 ได้มีการกำหนดเรื่องหลักเกณฑ์การจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนขึ้นมา โดยจะต้องมีการดำเนินการอย่างมีมาตรฐาน และในการนำสินค้าออกจากป่าก็ควรจะต้องดำเนินการในลักษณะการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน รวมทั้งมีแนวความคิด เรื่องการติดฉลากรับรองสินค้าจากไม้ (Labelling) และในปี 2000 ประเทศสมาชิกของ ITTO (International Tropical Timber Organization) ได้มีการตกลงกันว่าให้ประเทศสมาชิกเสนอแนวทางในการดำเนินการกำหนดหลักการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน เพื่อจะได้ใช้ในการปฏิบัติการต่อไป
          จากมุมมองความต้องการที่จะจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (Sustainable Forest Management) ได้แพร่หลายไปทั่วโลก ทำให้องค์กรเอกชนต่างๆ ที่ไม่สามารถไปบอกกล่าวให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ดำเนินการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน ได้รวมตัวกันชักชวนให้ผู้บริโภค เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไม้และกระดาษที่มาจากป่าไม้ที่มีการจัดการแบบยั่งยืน ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ผู้ผลิตเริ่มหันมาสนใจต่อทรัพยากรมากขึ้น จึงได้เกิดมิติใหม่ในวงการป่าไม้ของโลก คือ การรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification) เพื่อป้องกันรักษาทรัพยากรป่าไม้ทั่วโลก
          เพื่อขจัดความสับสนในหมู่ผู้บริโภคและผู้ผลิต และหาข้อยุติเรื่อง F.C. จึงได้เกิดมีการรวมตัวกันระหว่างตัวแทนองค์กร สิ่งแวดล้อม นักวิชาการป่าไม้ ผู้ค้าไม้ องค์กรชุมชนท้องถิ่น สมาคมป่าชุมชน และสถาบันรับประกันผลผลิตป่าไม้ ร่วมกันจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า Forest Stewardship Council หรือ FSC ขึ้นมา เพื่อสนับสนุนการจัดการป่าไม้ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม รวมทั้งผลตอบแทนที่ดีต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม (Environment, Economic and Social) โดยเน้นถึงการจัดการป่าไม้ที่ดีและมีเป้าหมายที่จะประเมินและมีการแต่งตั้งผู้นำการรับรอง (Certifier) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามาตรฐานระดับชาติ (National Standard) สำหรับการจัดการป่าไม้ โดยการจัดการให้การศึกษาและฝึกอบรม FSC ได้ประชุมกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและผู้จัดการป่าไม้ที่ เมืองวอชิงตันดีซี ในเดือนมีนาคม ปี 1992 ซึ่งทำให้เกิดการแต่งตั้งคณะกรรมการชั่วคราว (Interim Board) ขึ้นมาเพื่อดำเนินการปรึกษาหารือและพัฒนาหลักการและมาตรฐาน (Principles and Crierias) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการรับรอง (Certification)
          ต่อมาได้มีการประชุมเพื่อร่วมก่อตั้งองค์กรขึ้นที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา เมื่อเดือนตุลาคม ปี 1993 ประกอบด้วยผู้เข้าร่วมประชุม 130 คน จาก 25 ประเทศ และได้มีการลงมติให้ FSC เป็นองค์กรที่มีสมาชิกและเลือกคณะกรรมการบริหารขึ้นมา โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Oaxaca ประเทศเม็กซิโก

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งองค์กร
          เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีระบบการจัดการป่าไม้ เพื่อการค้าทั่วโลกให้เหมาะสมมีแนวทางครอบคลุม 3 ประการหลัก คือ การจัดการป่าไม้ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม มีการใช้ทรัพยากรป่าไม้ที่คงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของป่า และมีความสมดุลทางระบบนิเวศน์ การจัดการป่าไม้เพื่อสังคม เป็นการช่วเหลือชุมชนในท้องถิ่นให้ได้รับผลประโยชน์จากป่าไม้ในระยะยาว และการจัดการป่าไม้ที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คุ้มค่า
ภารกิจขององค์กร
          1. เป็นผู้กำหนดหลักการและมาตราฐานในการจัดการป่าไม้เพื่อการค้า สำหรับใช้กับป่าไม้ทั่วโลกที่มีการจัดการป่าไม้เพื่อการค้า โดยผ่านผู้ให้การรับประกัน ซึ่งมาตราฐานเหล่านี้จะสอดคล้องกับสถานการณ์ท้องถิ่น
          2. แต่งตั้งผู้ให้การประกันออกไปทำหน้าที่ตรวจสอบและออกใบรับประกันให้กับผู้ประกอบการ ว่ามีคุณสมบัติตามหลักการและมาตราฐานตามที่ FSC กำหนด และสามารถให้ตราสัญลักษณ์ของ FSC กับผลิตภัณฑ์ได้
          3. เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการป่าไม้ โดยการให้การศึกษาและฝึกอบรม สนับสนุนและให้การช่วยเหลือองค์กรอื่นๆ และผู้สนใจ ในการจัดการป่าไม้ที่ดี ทั้งหน่วยงานเอกชนและของรัฐ เช่น ช่วยเหลือในการวางแผน และกำหนดมาตราฐานการจัดการป่าไม้
          4. ช่วยเหลือและสนับสนุนนโยบายทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
          5. จัดตั้งหน่วยงานเพื่อการค้นคว้า ศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการจัดการป่าไม้ที่ดี
          6. จัดการหาเงินทุนที่จะต้องใช้ในองค์กรเพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ทั้งที่ได้รับบริจาคจากบุคคลภายนอก หรือในรูปของสิทธิพิเศษต่างๆ ในการกระทำการใดๆ โดยไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับ
          FSC มีวิธีปฏิบัติสำหรับผลิตภัณฑ์และการจัดการป่าไม้ในลักษระของความสมัครใจ นอกจากนี้ FSC ยังดำเนินรอยตามหลักการที่เหมาะสมบางอย่างของระบบ ISO
 



ISO คืออะไร


          ISO ย่อมาจาก INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION หรือองค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ เป็นองค์กรอิสระซึ่งจัดตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2490 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเป็นไปโดยสะดวก และช่วยพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ
          มาตรฐานที่กำหนดขึ้นเรียกว่า มาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard) เป็นมาตราการหนึ่งทางการค้าที่สำคัญ ที่องค์การการค้าโลกได้กำหนดเพื่อให้มีความเสมอภาคในทางปฏิบัติ ทั้งกับอุตสาหกรรมในประเทศ และสินค้าที่นำเข้า ซึ่งทุกประเทศจะต้องนำไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและยุติธรรมทางการค้า
สมาชิกของ ISO
          แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
          1. Member body เป็นตัวแทนทางด้านการมาตรฐานของประเทศ แต่ละประเทศจะมีหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่สมาชิก ISO เพียงหน่วยงานเดียว
          2. Correspondent member เป็นหน่วยงานของประเทศซึ่งยังไม่มีการจัดตั้งสถาบันมาตรฐานเป็นการเฉพาะ
          3. Subscriber member เป็นหน่วยงานในประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจต่ำสมาชิกประเภทนี้จะจ่ายค่าบำรุงสมาชิกในอัตราที่ได้รับการลดหย่อน
องค์ประกอบของ ISO ได้แก่
1. สมัชชาทั่วไป (General Assembly)
2. คณะมนตรี (Council)
3. คณะกรรมการบริหารด้านวิชาการ (Technical Management Board)
4. คณะกรรมการวิชาการ (Technical committee)
5. สำนักเลขานุการ (Central Secretariat)
          ปัจจุบันมาตรฐานสากลที่สำคัญต่อการค้าเป็นมาตรฐานสากลด้านระบบบริหาร ได้แก่ ระบบคุณภาพ และการจัดการสิ่งแวดล้อมหรือที่รู้จักกัน มีดังนี้
          1. ISO 9000 คือ มาตรฐานระบบคุณภาพที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกใช้เพื่อรับรองระบบการบริหารการดำเนินงาน เป็นมาตรฐานที่เป็นหลักประกันของสินค้าและบริการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่องค์กรว่าสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ซึ่งเป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการมีคุณภาพสม่ำเสมอและมีความปลอดภัย รวมทั้งมีระบบการจัดการคุณภาพได้ตามมาตรฐานสากล
          แนวความคิดสำคัญของ ISO 9000 คือ การจัดวางระบบบริหารเพื่อการประกันคุณภาพที่สามารถตรวจสอบได้โดยผ่านระบบเอกสาร
          องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้กำหนดมาตรฐาน ISO 9000 series : Quality System ขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกนำไปใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้นำมาใช้ในประเทศไทยในชื่อ “อนุกรมมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ มอก. – ISO 9000” ซึ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 ฉบับหลัก ได้แก่
                    1. ISO 9000 เป็นแนวทางในการเลือกและการใช้มาตรฐานชุดนี้ให้เหมาะสมโดยมีการแยกย่อยเป็น
                        ISO 9000 – 1 เป็นข้อแนะนำการเลือกใช้
                        ISO 9000 – 2 เป็นแนวทางทั่วไปในการเลือกและการประยุกต์ใช้มาตรฐานชุดนี้ให้เหมาะสม
                        ISO 9000 – 3 เป็นแนวทางในการนำ ISO 9001 ไปพัฒนาประยุกต์ใช้
                        ISO 9000 – 4 เป็นข้อแนะนำในเรื่องการจัดการที่น่าเชื่อถือ
                    2. ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบและพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
                    3. ISO 9002 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้งและการบริหาร
                    4. ISO 9003 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจและการทดสอบขั้นสุดท้าย
                    5. ISO 9004 เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นข้อแนะนำในการจัดการในระบบคุณภาพซึ่งจะมีการกำหนดย่อยในแต่ละประเภทธุรกิจ
          2. ISO 14000 เป็นมาตรฐานเพื่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้องค์กรจัดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยครอบคลุมถึงการจัดระบบโครงสร้างขององค์กร การกำหนดความรับผิดชอบการปฏิบัติงาน ระเบียบปฏิบัติ กระบวนการดูแลทรัพยากร เพื่อให้มีการจัดการและรักษาไว้
                    ISO 14000 สามารถพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งด้านมลภาวะและการใช้พลังงานไปสู่ระบบที่ยั่งยืนใน 3 แนวทาง คือ
                    1. ระบบ ISO 14000 จะทำให้มีการจัดการด้านวัตถุดิบ และการใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนสาธารณูปโภคอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย ลดปริมาณของเสียและมีการใช้พลังงานสาธารณูปโภคต่างๆ ลดน้อยลง
                    2. ระบบ ISO 14000 จะผลักดันให้มีการปรับปรุงการจัดการของหน่วยงาน/องค์กรอย่างต่อเนื่อง และมีการวิวัฒนาการที่ดีขึ้นทุกปี ทั้งในแง่ของการป้องกันมลพิษและการลดการใช้พลังงาน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ
                    3. ระบบ ISO 14000 จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้มีการปฏิบัติตามกฎหมายด้านการอนุรักษ์พลังงาน
                    อนุกรมมาตรฐาน 14000 ประกอบด้วยเนื้อหาหลัก
                    1. มาตรฐาน ISO 14001 ENVIRONMENTAL MANAGEMENT SYSTEM (EMS) เน้นเรื่องมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการหรือองค์กรที่จะต้องกำหนดเรื่องสิ่งแวดล้อมในระดับนโยบาย และแผนงานของบริษัท เพื่อสำหรับปฏิบัติและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามนโยบายและแผนที่กำหนดไว้
                    2. มาตรฐาน ISO 14061 SUSTAINABLE FOREST MANAGEMENT SYSTEM : SPECIFICATION DOCUMENT (SFM) เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน : ข้อกำหนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดคุณลักษณะสำหรับระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนที่หน่วยจดทะเบียนหรือหน่วยรับรอง ต้องใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณารับรองระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนของผู้ยื่นคำขอ ซึ่งมีบางประเทศได้นำแนวทางไปประกาศกำหนดเป็นมาตรฐานแห่งชาติแล้ว สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการเตรียมความพร้อมที่จะมีการนำระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนมาใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้าในอนาคต โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มีการปรับปรุงร่างมาตรฐาน และเมื่อได้มีการประกาศใช้มาตรฐานดังกล่าว สมอ.ก็จะจัดทำโครงการนำร่องให้คำปรึกษาและแนะนำการจัดทำและพัฒนาระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนในปีงบประมาณ 2544
          3. ISO 18000 คือ มาตรฐานอุตสาหกรรมระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational health and safety management system standards) เป็นมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งกำหนดขึ้นโดยใช้ BS 8800 : 1996 Guide to occupational health and safety (OH&S) management systems เป็นแนวทาง โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อมุ่งเน้นให้องค์กร หน่วยงานต่างๆ ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดการระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่มีกฎหมายคุ้มครอง ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงต่ออันตรายและอุบัติเหตุต่างๆ ของพนักงานและผู้เกี่ยวข้อง โดยปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กรให้ปลอดภัย และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ความรับผิดชอบขององค์กรต่อพนักงานและต่อสังคม ตลอดจนทำให้มีการพัฒนาปรับปรุงระบบให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
                    โดยอนุกรมมาตรฐาน มอก. 18000 ประกอบด้วยเนื้อหา 2 เล่ม คือ
                    1.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย : ข้อกำหนดตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 18001
                    2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย : ข้อแนะนำด้านเทคนิคและวิธีการนำไปปฏิบัติตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 18004
          4. ISO/IEC Guide 25 คือ มาตรฐานด้านการรับรองห้องปฏิบัติการ เป็นมาตรฐานที่ช่วยเสริมความเชื่อมั่นในความสามารถในการสอบเทียบหรือทดสอบของห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะทำให้เป็นที่ยอมรับซึ่งกันและกันในผลการสอบเทียบระหว่างประเทศ อันจะช่วยขจัดปัญหาทางวิชาการในการกีดกันทางการค้าอีกทางหนึ่ง
NATIONAL STANDARD (NS) = มาตรฐานนระดับชาติ
แนวทางการจัดการป่าไม้เพื่อให้ได้มาของ National Standard
o จะต้องสอดคล้องกับนโยบายป่าไม้ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวกับป่าไม้ของไทย
o จะต้องเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์หรือที่ขอใช้ประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
o มีการดำเนินการโดยคนไทยไม่มีปัญหาการกีดกันแรงงานไทยประชาชนมีความพึงพอใจ ในกิจการไม่ก่อให้เกิดมลภาวะหรือความเดือดร้อนต่อประชาชนในท้องถิ่น
o การดำเนินงานก่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น ไม่ก่อให้เกิดผลเสียทางสิ่งแวดล้อม (เปรียบเทียบกับก่อนที่จะดำเนินการ) มีการจัดการแบบหลักวิชาการที่เอื้ออำนวยให้มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
o มีการวางแผนและการจัดการอย่างดีเป็นระบบและมีลายลักษณ์อักษร มีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
o ไม่ละเลยซึ่งการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ตลอดทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ
 

 

 

 




นานาสาระ

การเลือกใช้ไม้ชนิดต่างๆให้เหมาะกับประโยชน์การงาน article
ผลิตภัณฑ์กลุ่มวัสดุแผ่น
การตกแต่งผนังโดยไม้อัดสัก Italy article
ผลิตภัณฑ์ไม้กับความชื้น
การป้องกันและรักษาเนื้อไม้ article
วิธีการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้
ข้อกำหนดไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็ง
ทางเลือกในการซื้อพื้นไม้ article
ความรู้เกี่ยวกับไม้สัก
ตารางแสดงค่ากลสมบัติของไม้ชนิดต่างๆ
ตารางการหดตัวของไม้ชนิดต่างๆ Wood Shrinkage Table
Softwood & Hardwood
Plain Sawn or Quarter Sawn ?
การติดตั้งพื้นไม้ Decking
ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
Thailand’s forests and the forestry sector
ข้อมูลเศรษฐกิจไม้ยางพารา article
สถิติการป่าไม้ของประเทศไทย 2545 ->2549 article
อุตสาหกรรมไม้ยางพารา article
ไม้ยางพาราในประเทศไทย article
อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา
การใช้ประโยชน์จากไม้ยางพาราในปัจจุบัน
Rubberwood 1,2 - Introduction & Resourse Proporties article
Rubberwood 3- Resources Availability article
Rubberwood 4 - Utilization article
Rubberwood 5, 6- Availability and Conclusion article
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับEURO PALLET
ส่งออกสินค้าไปยุโรป อ่านที่นี่
มารู้จักศัพท์ทางด้านการบรรจุภัณฑ์ดีกว่า article
คุณรู้จัก IPPC แล้วหรือยังว่าคืออะไร article
กฎใหม่ลังไม้ไปนอก article
IPPC- ISPM 15 Implementation Dates by country April 2006 article
Heat treated หรือ Methyl Bromideเลือกแบบไหนดี?
รายชื่อผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ISPM15 article
การใช้ไม้เพื่อการหีบห่อ
ลังไม้และกล่องไม้
EPAL Pallet System
Pallets in a container, on a truck or wagon article
พาเลทหมุนเวียน ลดต้นทุนโลจิสติกส์ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Loading