ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในไลน์ เพื่อติดต่อ-สอบถาม
dot
dot
ไม้อัด/MDF/Particle Board
dot
bulletเช็คราคาไม้อัด
bulletเลือกซื้อไม้อัดเกรดไหนดี?
bulletไม้อัด/MDF/Particle Board
dot
ไม้แปรรูป Timber
dot
bulletไม้แปรรูปที่เรามีจำหน่าย
bulletTimberX CCA Treated Wood
bulletRubberwood AB
bulletRubberwood C
bulletไม้แปรรูปอื่นๆ Other Species
dot
พาเลท IPPC
dot
bulletพาเลท ชนิด Four Way
bulletพาเลท ชนิด two way
dot
พาเลทStandard Pallet
dot
bulletพาเลท IPPC Pallet
bulletเกี่ยวกับ EURO Pallet
bulletพาเลทสำหรับCONTAINER
dot
นานาสาระArticle
dot
bulletการเลือกใช้ไม้ชนิดต่างๆให้เหมาะกับประโยชน์การงาน
bulletลิงค์เกี่ยวกับไม้ Hot Links
bulletผลิตภัณฑ์กลุ่มวัสดุแผ่น
bulletการตกแต่งผนังโดยไม้อัดสัก Italy
bulletSoftwood & Hardwood
bulletตารางแสดงค่ากลสมบัติของไม้ชนิดต่างๆ
bulletตารางการหดตัวของไม้ชนิดต่างๆ Wood Shrinkage Table
bulletPlain Sawn or Quarter Sawn ?
bulletการติดตั้งพื้นไม้ Decking
bulletข้อกำหนดไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็ง
bulletวิธีการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้
bulletผลิตภัณฑ์ไม้กับความชื้น
bulletวิธีการเลือกซื้อพื้นไม้
bulletทางเลือกในการซื้อพื้นไม้
bulletการป้องกันและรักษาเนื้อไม้
bulletความรู้เกี่ยวกับไม้สัก
bulletFSC และการรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification)
bulletWood to the rescue
bulletAbout Rubberwood
bulletRubberwood 1,2
bulletRubberwood 3
bulletRubberwood 4 - Utilization
bulletRubberwood 5, 6
bulletข้อมูลเศรษฐกิจไม้ยางพารา
bulletอุตสาหกรรมไม้ยางพารา
bulletไม้ยางพาราในประเทศไทย
bulletคุณรู้จัก IPPC หรือยัง?
bulletกฎใหม่ลังไม้ไปนอก
bulletIPPC- ISPM 15 by country April 2006
bulletผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ไม้ ISPM15
bulletประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
bulletThailand’s forests and the forestry sector
bulletสถิติการป่าไม้ของประเทศไทย 2545-2549
bulletอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา
bulletการใช้ประโยชน์จากไม้ยางพาราในปัจจุบัน
bulletมารู้จักศัพท์ทางด้านการบรรจุภัณฑ์ดีกว่า
bulletHeat treated หรือ Methyl Bromideเลือกแบบไหนดี?
bulletการใช้ไม้เพื่อการหีบห่อ
bulletลังไม้และกล่องไม้
bulletEPAL Pallet System
bulletPallets in a container, on a truck or wagon
bulletLike Box




ความรู้เกี่ยวกับไม้สัก

ไม้สัก

          

ถิ่นกำเนิดของไม้สัก

            ไม้สัก มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Teak และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tectona grandis อยู่ในวงค์ Verbenaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก
           
ไม้สัก เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และบางส่วนของภาคกลางและตะวันตก คือ ในท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ สำพูน เชียงราย สำปาง แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และพิจิตรและมีบ้างเล็กน้อยในจังหวัด นครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี
           
ไม้สัก ชอบขึ้นตามพื้นที่ที่เป็นภูเขา แต่ในพื้นที่ราบที่น้ำไม่ขังไม้สักก็ขึ้นได้ดีเช่นเดียวกัน ในพื้นที่ที่เป็นดินปนทรายแต่น้ำไม่ขัง ไม้สักมักขึ้นเป็นหมู่ไม้สักล้วน ๆ และมีไม้ขนาดใหญ่ ไม้สักชอบพื้นที่ที่มีชั้นดินลึก การระบายน้ำดี ไม่ชอบดินแข็งและน้ำท่วมขัง
           
ไม้สัก ขึ้นได้ดีในดินที่เกิดจากหินหลายชนิด แต่ความเจริญงอกงามของไม้สักขึ้นอยู่กับความลึก การระบายน้ำ ความชื้น และความอุดมสมบูรณ์ ของดินนั้น ๆ โดยเฉพาะในดินที่เกิดจากหินปูนซึ่งแตกแยกผุผังจนกลายเป็นดินร่วนที่ลึก ไม้สักชอบมากและเจริญเติบโตดีมาก ไม้สักชอบดินที่มีความเป็นกลางและด่างเล็กน้อย ค่า pH ระหว่าง 6.5-7.5 ปริมาณน้ำฝน ระหว่าง 1,200-2,000 มม. ต่อปี ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 700 เมตร และมีฤดูแล้งแยกจากฤดูฝนชัดเจนจะทำให้ไม้สักมีลวดลายสวยงาม


ท่านทราบหรือไม่
พระที่นั่งวิมานเมฆเป็นสิ่งปลูกสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ลักษณะบางประการ

            ไม้สัก เป็นต้นไม้ผลัดใบ ขนาดใหญ่มีลำต้นเปลา มักมีพูพอน ตอนโคนต้นเรือนยอดกลม สูงเกินกว่า 20 เมตร
           
เปลือก หนา 0.30-1.70 ซม.
สีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา แตกเป็นร่องตื้น ๆ ไปตามทางยาวและหลุดออกเป็นแผ่นบาง ๆ เล็ก ๆ
           
ใบ ใหญ่ ความกว้าง 25-30 ซม. ความยาว 30-40 ซม. รูปใบรีมน หรือรูปไข่กลับ แตกจากกิ่งเป็นคู่ ๆ ท้องใบสากหลังใบสีเขียว แกมเทา เป็นขน
           
ดอก เล็กสีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่ ๆ ตามปลายกิ่งเริ่มออกดอกเดือน มิถุนายน เป็นต้น
           
ผล ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลหนึ่ง ๆ มีเมล็ดใน 1-4 เมล็ด เปลือกแข็งมีขนสั้น ๆ นุ่ม ๆสีน้ำตาล หุ้มอยู่ ผลแก่ในราวเดือน พฤศจิกายน-มกราคม
           
ลักษณะเนื้อไม้ สีเหลืองทอง ถึงสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาลแก่แทรก เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง เลื่อยใสกบ ตบแต่งง่าย

คุณสมบัติบางประการ

            ไม้สัก ปลวกและมอดไม่ทำอันตราย เพราะในเนื้อไม้สักมีสารเคมีพิเศษอยู่ชนิดหนึ่ง ชื่อ O-cresyl methyl ether สารเคมีชนิดนี้ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมป่าไม้ มีคุณสมบัติ เมื่อทาหรืออาบไม้แล้วไม้จะมีความคงทนต่อ ปลวก แมลง เห็ดราได้อย่างดียิ่ง นอกจากนี้ในไม้สักทอง ยังพบว่ามีทองคำปนอยู่ 0.5 ppm. (ไม้สักทอง 26 ต้น มีทองคำหนัก 1 บาท)
            ไม้สัก เป็นไม้เนื้อแข็งตามมาตรฐานของกรมป่าไม้ จากการทดลองตามหลักวิชาการไม้สักมีความแข็งแรงสูงกว่า 1,000 กก./ตร.ซม.
และมีความทนทานตามธรรมชาติ จากการทดลองนำส่วนที่เป็นแก่นของไม้สักไปทดลองปักดิน ปรากฏว่า มีความทนทานตามธรรมชาติเกินกว่า 10 ปี (ระหว่าง 11-18 ปี)

การคัดเลือกแม่ไม้สักทอง

            การคัดเลือกแม่ไม้ (Plus tree) เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการปรับปรุงพันธุ์ไม้สักทอง ผลจากการคัดเลือกแม่ไม้ จะทำให้ได้สายพันธุ์ของไม้ ที่มีคุณลักษณะดี สำหรับนำไปใช้ในการขยายพันธุ์ ทั้งจากการเพาะด้วยเมล็ดโดยการสร้างสวนเมล็ดพันธุ์ หรือการผลิตกล้าไม้คุณภาพดีแบบ ไม่อาศัยเพศ เช่น การตัดกิ่งปักชำ และ การะเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การมีแม่ไม้ทีดีนั้นอาจเป็นหลักประกันได้ว่า จะให้เมล็ดหรือกล้าไม้ที่ดีสำหรับการ ปลูกสร้างสวนป่าเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มผลผลิตเนื้อไม้ต่อหน่วยเนื้อที่ได้
           
การคัดเลือกแม่ไม้สักทองมีหลักในการพิจารณาอยู่หลายประการ ทั้งการพิจารณาจากลักษณะภายนอก (Phenotypes) และลักษณะภายใน (Genotypes) ลักษณะภายนอกสามารถพิจารณาได้ทันที ตามหลักวิชาการใช้วิธีประเมินค่าลักษณะต่าง ๆ ของต้นไม้ โดยการให้คะแนน ส่วนลักษณะภายในพิจารณาได้ยากเพราะจะต้องมีการโค่นต้นไม้หรือเลื่อยแปรรูปเสียก่อนจึงจะพิจารณาได้ ซึ่งหมายความว่าจะต้องเสียแม่ไม้ที่ให้เมล็ด ไป แต่ถ้าเป็นการตัดกิ่งปักชำ หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เมื่อโค่นแม่ไม้แล้วสามารถใช้หน่อจากต้นตอได้
           
การคัดเลือกแม่ไม้สักทองในประเทศไทย มีลักษณะในการพิจารณากว้าง ๆ ดังนี้
            1.
อายุของต้นไม้
           
ไม้สักทองที่สามารถนำมาทำเป็นแม่ไม้ได้นั้น ควรมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ทั้งนี้ เพราะไม้สักทองที่ปลูก จะนำไปใช้ประโยชน์เมื่อมีอายุ ประมาณ 15 ปี ไม่ควรเลือกไม้สักทองที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี เป็นแม่ไม้ ถึงแม้ว่าจะมีขนาดโตตามที่กำหนดไว้ก็ตาม เพราะกล้าไม้ที่ได้จากแม่ไม้ที่มีอายุ น้อยจะไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
            2.
ลักษณะของลำต้น
           
ลักษณะภายนอกที่สำคัญประการแรก ในการคัดเลือกไม้สักทอง เพื่อใช้ทำแม่ไม้ ควรคัดเลือกลักษณะของลำต้น ต้องเปลาตรง ไม่บิด คดงอ และกิ่งก้านไม่มาก กล่าวคือ มี clear bole ยาวกว่าต้นอื่น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการปลูกไม้สักทอง เพื่อใช้ประโยชน์จากลำต้น ไม้สักทองที่มีลำต้นเปลาตรง จะขายได้ราคาแพงกว่าไม้สักทองที่ลำต้นคดงอ
            3.
ขนาดของลำต้น
           
ลักษณะภายนอกที่ควรพิจารณาอันดับต่อไป ก็คือ ขนาดของลำต้น ควรคัดเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่กว่าต้นอื่น ๆ ในชั้นอายุเดียวกันซึ่ง ควรมีความโตทางเส้นรอบวงเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 7.0 ซ.ม. การคัดเลือกแม่ไม้สักทองโดยพิจารณาความโตเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจาก ต้นไม้ขนาดใหญ่ ย่อมให้ปริมาตรเนื้อไม้ต่อเนื้อที่สูงกว่า และไม้สักทองที่มีความเจริญเติบโตดี จะสามารถถ่ายทอดลักษณะความเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรงไปยังรุ่น ต่อ ๆ ไปด้วย
            4.
เรือนยอด
           
รูปทรงเรือนยอดต้องเป็นพุ่ม ได้สัดส่วนกับความสูง รัศมีความกว้างของทรงพุ่มรอบเรือนยอดเท่ากัน น้ำหนักเรือนยอดไม่ถ่วงไป ด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ต้นไม้โค่นล้มได้ง่ายเมื่อเกิดลมพัดแรง
            5.
ลักษณะและคุณภาพของเนื้อไม้
           
วัตถุประสงค์ในการปลูกไม้สักทองนั้น นอกจากต้องการต้นไม้ที่รูปทรงดีและโตเร็วแล้ว ยังมีความต้องการเนื้อไม้สักทองที่มีลวดลาย สวยงามด้วย ดังนั้น ต้นสักที่มีลวดลายสวยงามจึงเป็นที่ต้องการและควรคัดเลือกไว้เป็นแม่ไม้
            6.
ความต้านทานโรคและแมลง
           
ปัจจุบัน ปรากฏว่า สวนสักทองของทางราชการและเอกชนที่ปลูกไว้แล้วมีโรคและแมลงรบกวนเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความเสียหาย ที่บริเวณ ลำต้น ใบ กิ่งก้าน เปลือกหรือส่วนอื่น ๆ ดังนั้น การคัดเลือกแม่ไม้ไว้ทำพันธุ์ ต้องไม่ปรากฏว่ามีร่องรอยของโรคและแมลงรบกวนตามส่วน ต่าง ๆ ของลำต้นดังกล่าวแล้ว
            7.
ความสามารถในการแตกหน่อ
           
ความสามารถในการแตกหน่อของไม้สักทอง จะทราบได้ก็ต่อเมื่อมีการโค่นต้นไม้เสียก่อน แต่ก็เป็นผลดีในการปรับปรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์โดยวิธีแตกหน่อในรุ่นต่อไป และการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แม่ไม้สักทองควรจะต้องมีการแตกหน่อที่ดีและให้หน่อที่ สมบูรณ์ด้วย
            8.
ความสามารถในการแตกรากของกิ่งปักชำ
           
ลักษณะในข้อนี้ มีความจำเป็นสำหรับการเตรียมกล้าไม้สักทองแบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการใหม่ที่กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อการ ปลูกสร้างสวนสักทอง ที่มีประสิทธิภาพในอนาคต การทดสอบความสามารถของแม่ไม้ในข้อนี้ จำเป็นต้องมีการทดลองเก็บข้อมูลไว้สำหรับการ ปรับปรุงพันธุ์
            9.
ความสามารถในการถ่ายทอดและดำรงพันธุ์
           
แม่พันธุ์ที่ดีต้องให้ลูกไม้ที่มีลักษณะเด่นเหมือนแม่พันธุ์นั้นกล้าไม้รุ่นต่อ ๆ ไปต้องไม่กลายพันธุ์ง่าย สามารถถ่ายทอดลักษณะที่ดี ได้ตลอดไป ลักษณะเช่นนี้จะทราบได้ต้องใช้เวลาในการศึกษาทดลองไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะตัดสินใจได้

           สะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลก   สะพานอูเบ็ง เป็นสะพานที่ยาวถึง 2 กิโลเมตร ทอดข้ามทะเลสาบตองตะมาน ทางตอนใต้ของเมืองอมรปุระ มุ่งตรงไปสู่เจดีย์เจ๊าต่อจี อยู่อีกฟากหนึ่งของทะเลสาบ พระเจ้าปุดงโปรดฯให้ขุนนางนามว่าอูเบ็งเป็นแม่กองงานสร้างสะพานแห่งนี้ โดยใช้ไม้สักที่รื้อจากพระราชวังเก่าแห่งกรุงอังวะจำนวน 1,208 ต้น 

 

 

 

 

 

 

 

 




หลักเกณฑ์การจำแนกไม้โตเร็ว

            Meijer (After Soerianegara) ได้แบ่งชั้นอัตราความเจริญเติบโตของต้นไม้ไว้เป็น 5 ประเภท คือ
            1.
ไม้โตเร็วมาก (Very fast growing) ได้แก่ ต้นไม้ที่มีอัตราความเจริญเติบโตทางเส้นรอบวงเกินปีละ 5 ซ.ม.
            2.
ไม้โตเร็ว (Fast growing) ได้แก่ ต้นไม้ที่มีอัตราความเจริญเติบโตทางเส้นรอบวง ปีละ 4-5 ซ.ม.
            3.
ไม้โตปกติ (Normal growing) ได้แก่ ต้นไม้ที่มีอัตราความเจริญเติบโตทางเส้นรอบวง ปีละ 2.5-4.0 ซ.ม.
            4.
ไม้โตค่อนข้างช้า (Rather slow) ได้แก่ ต้นไม้ที่มีอัตราความเจริญเติบโตทางเส้นรอบวง ปีละ 1.0-2.5ซ.ม.
            5.
ไม้โตช้า (Slow) ได้แก่ ต้นไม้ที่มีอัตราความเจริญเติบโตทางเส้นรอบวง น้อยกว่าปีละ 1.0 ซ.ม.
           
ดังนั้น การที่จะวินิจฉัยว่าไม้สักเป็นไม้โตช้าหรือไม้โตเร็ว จึงต้องพิจารณาดูว่าไม้สักมีอัตราความเจริญเติบโตตามหลักเกณฑ์ของ Meijer หรือไม่ และจัดอยู่ในประเภทใด

อัตราการเจริญเติบโตไม้สักทอง ของสวนป่าแม่เมาะ จ.ลำปาง (อ.อ.ป.)

ท่อนที่

อายุ (ปี)

ความโตของเส้นรอบวง (ซ.ม.)

ความโตเฉลี่ย/ปี (ซ.ม.)

1

5

39

7.80

2

10

63

6.30

3

15

74

4.93

4

20

86

4.30

5

25

92

3.68

6

63(ไม้สักป่าธรรมชาติ)

90

1.43

ที่มา : วัดจากตัวอย่างไม้สักทองของสวนป่าแม่เมาะ จ.ลำปาง ( อ.อ.ป.)

ไม้สักทอง

ผู้เขียน ขอนำบทความเกี่ยวกับไม้สักทอง ที่ ศ.ดร.สอาด บุญเกิด เขียนลงใน วารสารสักทอง ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ฉบับที่ 13 ปีที่ 17 (กรกฎาคม-กันยายน 2535) มาให้ผู้ที่มีความสนใจทราบดังต่อไปนี้
ลักษณะของไม้สัก (TEAK) นั้น ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไม้สักได้รับความรู้ถ่ายทอดมาจากพวกช่างเลื่อยไม้ ช่างทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ว่าลักษณะของไม้สัก (TEAK) นั้นมักจะนำเอาลักษณะของสีผิว การตกแต่ง ความแข็ง ความเหนียว เข้ามาประกอบ และพวกตัดโค่นไม้โยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญในการลักลอบตัดไม้ จะทราบหมดถึงลักษณะของต้นเรือนยอด สุขภาพของต้น การแตกของเปลือก เป็นเครื่องชี้บอกลักษณะของไม้สัก ที่จะกล่าวถึงต่อไป ซึ่งมีอยู่ 5 ชนิด คือ
            1.
สักทอง อยู่ในป่าโปร่งชื้นไกลห้วย หรือแล้งแต่ใกล้ห้วย ดินค่อนข้างสมบูรณ์ การแตกของเปลือกเช่นเดียวกับสักหยวก แต่อยู่ในที่ที่แห้งชื้นไปบ้างเท่านั้น เรือนยอดสมบูรณ์ ใบมีขนาดปานกลาง เนื้อไม้จะเป็นเส้นตรง ผ่าง่าย มีความแข็งแรงกว่าสักหยวก สีเข้ม เป็นสีน้ำตาลเหลือง หรือที่เรียกกันว่าสีทอง ไม้สักหยวก และไม้สักทองจะอยู่ในทำเลที่คล้ายกัน และลักษณะภายนอกคล้ายกันอาจจะสังเกตได้อีกเล็กน้อยก็คือ ร่องของเปลือกไม้สักหยวกจะกว้างกว่าไม้สักทอง แต่แตกเป็นร่องตรงเหมือนๆ กัน
            2.
สักหยวก อยู่ในป่าโปร่งชื้น ริมห้วย ต้นตรง เปลือกแตกเป็นร่องตื้นแต่ยาวตรง เรือนยอดสมบูรณ์ ใบขนาดกลาง เนื้อไม้หรือแก่นจะมีสีน้ำตาลอ่อน หรือ สีจาง ถากหรือฟันง่าย
            3.
สักไข ไม้สักพวกนี้อยู่ในป่าโปร่งแล้งเป็นส่วนมาก ความเจริญเติบโตดูจะช้า ร่องของเปลือกลึกและตัวเปลือกเป็นสันกว้าง ระหว่างร่อง ลำต้นตรงเปลา แต่มีลักษณะแกร็นๆ พุ่มของเรือนยอดบอบบาง แต่ก็มีใบเต็ม จะทราบได้ว่าเป็นสักไข ก็ต่อเมื่อถึงมือช่างไม้ เพราะเนื้อไม้จะมีไขปน ยากแก่การขัด และการทาแชลแลค หรือแลคเกอร์ สีของไม้สักไขจะเป็นสีน้ำตาลเข้มปนเหลือง
            4.
สักหิน ไม้สักพวกนี้จะอยู่ในป่าโปร่งแล้งในระดับสูง การแตกของเปลือกเป็นร่องลึกและเรือนยอดดูไม่ค่อยแข็งแรง ใบเล็กกว่าปกติจะทราบได้แน่นอนเมื่อมีการโค่นล้ม หรือตบแต่งโดยพวกโค่นล้มเลื่อยและช่างไม้ เพราะเนื้อไม้จะแข็งกว่าไม้สักทั่วไปและเปราะ สีของเนื้อไม้มักจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม
            5.
สักขี้ควาย ไม้สักพวกนี้จะเกิดอยู่ในที่ค่อนข้างแล้งในป่าผสมผลัดใบต่างๆและมักจะพบอยู่ในบริเวณรอยต่อ (Transition zone) ของป่าโปร่งผลัดใบต่างๆ และป่าแพะ ลักษณะของเรือนยอดมักจะไม่สมบูรณ์ ลำต้นจะตายบ้าง กิ่งหรือเรือนยอดแห้งตายไปบ้างกิ่งสองกิ่ง ลักษณะของเปลือกแตกเป็นร่องไม่สม่ำเสมอ ขาดเป็นตอนๆ และร่องลึก ลักษณะของเปลือกแตกเป็นร่องไม่สม่ำเสมอ ขาดเป็นตอนๆ และร่องลึก ลักษณะไม่สมบูรณ์ เนื้อไม้จากไม้พวกนี้หรือทราบแน่ว่าเป็นสักขี้ควาย ก็ต่อเมื่อโค่นลงมาเลื่อยดู ก็จะเห็นได้ชัดว่า เนื้อไม้จะมีสีเขียวปนน้ำตาล น้ำตาลแก่ น้ำตาลอ่อน ปนกันดูเป็นสีเลอะๆ

           
อย่างไรก็ตาม ลักษณะของไม้สักทอง (TEAK) ที่เล่ามานี้ เป็นเพียงประสบการณ์ยังจะเอาเป็นทฤษฎีไม่ได้ ดูไปแล้ว พันธุ์ สถานที่ และ ดินฟ้า อากาศ มีความสำคัญที่ท่านจะได้ "สักทอง" (TEAK) จริงหรือไม่

การเตรียมกล้าไม้สัก

แหล่งเมล็ดพันธุ์ไม้สัก

           
วัตถุประสงค์ในการจัดทำแหล่งเมล็ดพันธุ์ไม้สัก เพื่อต้องการผลิตเมล็ดไม้สักที่มีคุณภาพดีสำหรับนำไปใช้ในการปลูกสร้างสวนป่าอย่างเพียงพอกับความต้องการ ในการจัดทำแหล่งเมล็ดพันธุ์ไม้สักนั้น มีความแตกต่างกันบ้างทางวิชาการ ถ้าเป็นการทำแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สักจากป่าธรรมชาติก็ทำโดยอาศัยหลักเกณฑ์การคัดเลือกแม่ไม้ (plus tree) ตามหลักวิชาการ โดยการสำรวจคัดเลือกหาแหล่งไม้สักในป่าธรรมชาติ ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่มีลักษณะรูปทรงดี ลำต้นสูง เปลาตรง กิ่งก้านน้อย ไม่มีตำหนิ และโรค แมลง รบกวน เมื่อคัดเลือกหาแหล่งเมล็ดพันธ์ไม้สักได้แล้ว จะต้องทำแนวขอบเขตแปลงและติดป้ายแสดงไว้ชัดเจน ทำการตัดสางไม้สักที่มีขนาดเล็ก แคระแกร็น คดงอ และมีลักษณะทรามออก คงเหลือไว้เฉพาะไม้สักที่มีลักษณะรูปทรงดี ตามต้องการเท่านั้น และมีการดูแลรักษาแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ให้สะอาดอยู่เสมอ โดยการสางวัชพืชและตัดไม้พื้นล่างออก โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งต้องทำความสะอาดพื้นล่างให้เตียนเพื่อป้องกันไฟไหม้ และเพื่อความสะดวกในการเก็บเมล็ดพันธุ์ไม้สัก นอกจากนี้ ควรจะมีการเฝ้ารักษาเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้สักในสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ด้วย
           
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกรมป่าไม้และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้เคยจัดทำแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สักดังกล่าวนี้ไว้หลายแห่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายการผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สักที่ทำไว้ในป่าธรรมชาติ ถูกลักลอบตัดไม้ทำลายป่าจนไม่มีแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์เหลือไว้เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ไม้สักในปัจจุบัน คงมีเหลืออยู่เฉพาะแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สักที่คัดเลือกจากสวนป่าที่ปลูกขึ้นเท่านั้น การทำแหล่งเมล็ดพันธุ์ไม้สัก นอกจากแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์จากป่าธรรมชาติแล้ว ยังมีแหล่งเมล็ดพันธุ์ไม้สัก ที่เรียกว่า สวนผลิตเมล็ดพันธุ์ ( Seed Orchard) จัดทำโดยนำเอาตาของไม้สักจากไม้พันธุ์ดี (plus tree) ที่คัดเลือกไว้มาทำการติดตากับต้นตอ (Stock) ที่เตรียมไว้ในเรือนเพาะชำ เมื่อติดตาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องรดน้ำดูแลรักษาจนตาที่นำมาติดแตกใบจนเจริญเติบโตจนได้ขนาดที่เหมาะสม จึงนำไปปลูกในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ เป็นสวนผลิตเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะ ถ้าหากมีการบำรุงรักษาอย่างดีและสม่ำเสมอจะสามารถเก็บเมล็ดไม้สักพันธุ์ดีได้ เมื่อไม้สักมีอายุตั้งแต่ 15 ปีเป็นต้นไป
           
กรมป่าไม้ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นหน่วยงานที่จัดทำสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สัก มาเป็นเวลานาน ปัจจุบัน สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไม้สักจากสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ ดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ได้แล้ว


                                แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สัก ของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
           

ปีที่ปลูก

อายุ (ปี)

แม่กา จ.พะเยา

ลานสาง จ.ตาก

เขาสอยดาว จ.จันทบุรี

ดงลาน จ.ขอนแก่น

แม่ทะ จ.ลำปาง

แม่สรวย จ.เชียงราย

รวม (ไร่)

2508

27

14

13

 

 

 

 

27

2509

26

 

25

 

 

 

 

25

2510

25

 

8

 

 

 

 

8

2511

24

20

 

 

 

 

 

20

2512

23

61

 

36

 

 

 

97

2513

22

52

12

 

 

 

 

64

2514

21

62

22

225

 

 

 

309

2515

20

150

66

125

50

 

 

391

2516

19

65

100

128

100

 

 

393

2517

18

150

100

200

100

200

 

750

2518

17

 

 

270

 

600

 

870

2519

16

200

150

300

100

400

 

1,150

2520

15

500

 

100

1,000

800

 

2,400

2521

14

100

200

 

1,000

400

 

1,700

2522

13

240

 

 

500

 

 

740

2523

12

200

100

200

 

400

 

900

2524

11

100

 

 

 

100

 

200

2525

10

 

 

50

 

 

 

50

2526

9

 

 

40

 

 

 

40

2527

8

50

 

 

 

 

 

50

2528

7

50

 

60

 

 

 

110

2529

6

 

 

50

 

 

 

50

2530

5

50

50

50

50

50

 

250

2531

4

150

50

150

150

50

150

700

รวมพื้นที่

 

2,214

896

1,984

3,050

3,000

150

11,294

แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สัก ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ชื่อสวนป่า

ปีที่ปลูก

อายุ (ปี )

เนื้อที่ปลูก (ไร่ )

จำนวนต้น

ระยะปลูก (เมตร)

ทุ่งเกวียน จ.ลำปาง

2510

25

60.50

582.00

16x16

แม่มาย จ.ลำปาง

2510

25

44.50

575.00

16x16

แม่เมาะ จ.ลำปาง

2511

24

41.50

464.00

16x16

แม่จาง จ.ลำปาง

2510

25

45.00

746.00

16x16

ขุนแม่คำมี จ.แพร่

2511

24

50.00

611.00

16x16

เขากระยาง จ.พิษณุโลก

2510

25

60.00

1,056.00

8x8

แม่ทรายคำ จ.ลำปาง

2514

21

105.00

1,173.00

12x12

แม่หอพระ จ.เชียงใหม่

2515

20

110.00

1,057.00

12x12

แม่ลี้ จ.ลำพูน

2514

21

90.00

1,232.00

12x12

บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย

2514

21

100.00

762.00

12x12

แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

2518

17

30.00

228.00

12x12

แม่ละเมา จ.ตาก

2521

14

100.00

536.00

12x12

แม่สรอย จ.แพร่

2521

14

60.00

939.00

12x12

ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

2521

14

80.00

672.00

12x12

วังชิ้น จ.แพร่

2520

15

60.00

584.00

12x12

 

2530

5

40.00

884.00

8x8

 

2531

4

40.00

386.00

12x12

รวม

 

 

1,116.50

12,487.00

 

การเก็บเมล็ดไม้สัก


ผลของต้นสัก

เมล็ดไม้สัก ที่จะนำมาเพาะเตรียมกล้าเพื่อทำการปลูกสร้างสวนป่า ควรคัดเลือกเก็บจากแหล่งไม้สักที่มีลักษณะดี ในป่าธรรมชาติ (Seed Source Area) หรือจากสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สัก (Seed Orchard) ที่จัดทำขึ้นเท่านั้น ไม้สักที่ควรเก็บเมล็ดมาใช้เพาะเพื่อเตรียมกล้าไม้ควรมีอายุตั้งแต่ 15 ปี และมีความโตทางเส้นรอบวงตั้งแต่ 100 ซม. ขึ้นไป การเก็บเมล็ดไม้สักจากต้นสักในป่าทางธรรมชาติทั่วๆไป โดยไม่มีการคัดเลือกอาจจะทำให้ได้พันธุ์ไม่ดีมาปลูก ทำให้การปลูกสร้างสวนป่าไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร คือ ต้นไม้โตช้า รูปทรงไม่ดี แตกกิ่งก้านมาก เป็นต้น โดยทั่วไป ผลไม้สัก จะแก่ราวเดือน พฤศจิกายน-มกราคม และร่วงหล่นไปตลอดฤดูแล้ง ดังนั้น การเก็บเมล็ดสัก จึงสามารถดำเนินการได้ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเก็บตามโคนต้น หรือปีนขึ้นไปเก็บผลที่แก่แล้วบนต้น

การเพาะกล้าไม้สัก

การเพาะกล้าไม้สัก จำนวนมากๆ ต้องทำแปลงเพาะขนาดมาตรฐาน ควรมีความกว้าง 1.10 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ แต่ถ้าเป็นการเพาะกล้าไม้จำนวนน้อย จะเพาะในกระบะก่อน แล้วจึงย้ายลงในแปลงเพาะในภายหลังก็ได้ ดินในแปลงเพาะควรเป็นดินร่วนปนทราย ก่อนหว่านเมล็ดลงในแปลงเพาะ เนื่องจากเมล็ดไม้สักอยู่ในผลที่มีเปลือกหนาและแข็งมาก ทำให้ใช้เวลาในการงอกช้ามาก การนำเมล็ดสักแช่น้ำ นาน 72 ชั่วโมงก่อนนำไปเพาะ จะช่วยให้งอกเร็วขึ้น ควรทำแนวลึกลงบนแปลงเพาะตามความยาวแปลงเพาะ แต่ละแนวห่างกันประมาณ 10 ซม. แล้วโรยเมล็ดสักลงตามแนว กลบเมล็ดด้วยดินร่วน ทรายหยาบ หรือทรายผสมขี้เลื่อย หนาไม่เกิน 2.0 ซม. รดน้ำทุกวัน ในช่วงที่ฝนไม่ตก หลังจากนำเมล็ดสักลงเพาะในแปลงเพาะประมาณ 10-15 วัน กล้าไม้ก็จะงอกงาม

การกำจัดวัชพืช

เพื่อป้องกันไม้ให้วัชพืชขึ้นคลุม หรือแก่งแย่งอาหารในดินจากกล้าไม้สัก ที่กำลังงอก จะต้องทำการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่ในแปลงเพาะออกอยู่เสมอเมื่อตรวจพบ โดยปกติจะทำหลังจากการระน้ำกล้าไม้เสร็จใหม่ ๆ เพราะดินในแปลงเพาะยังอ่อนอยู่ จะทำให้การถอนวัชพืชง่ายขึ้น การกำจัดวัชพืชจะต้องทำตลอดฤดูการเจริญเติบโต

การป้องกันโรคและแมลง

การเพาะกล้าไม้สัก มักพบว่ามีโรคและแมลงรบกวน โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อกัดกินใบสัก และหนอนผีเสื้อกินผิวใบสัก ดังนั้น ต้องคอยเอาใจใส่หมั่นตรวจดูแลอยู่เสมอ ถ้าพบว่ามีแมลงรบกวน ต้องรีบป้องกันและกำจัด โดยใช้ยาฆ่าแมลงพ่นทำลายเสีย

การลิดใบและถอนสางต้นกล้าสัก

การเพาะกล้าสักในแปลงเพาะจำนวนมาก ๆ มักปรากฏว่ากล้าสักจะเบียดกันมากเกินไป ทำให้ความโตของกล้า ไม่สม่ำเสมอต้นใหญ่บังต้นเล็ก จะต้องทำการลิดใบต้นใหญ่ออก เพื่อเปิดแสงให้ต้นเล็กได้รับแสงมากขึ้น และบริเวณที่มีกล้าสักขึ้นหนาแน่น ก็ทำการถอนสางออก เพื่อช่วยเร่งให้กล้าสักโตขึ้นและมีขนาดใกล้เคียงกัน

การใส่ปุ๋ยกล้าสัก

ในระหว่างการเจริญเติบโต ถ้าสังเกตเห็นว่ากล้าสักโตไม่ได้ขนาดปลูก ก็ใช้ปุ๋ยช่วยเร่งทางใบและทางราก

การเตรียมเหง้าสัก (Stump)

จะทำการขุดถอนกล้าสักจากแปลงเพาะ ในช่วงเวลาที่กล้าสักมีความงัน (Dormancy) หรือพักตัว สังเกตได้จากกล้าสักจะทิ้งใบจนหมดลักษณะดินแปลงเพาะจะแห้งนำมาทำการแต่งเหง้าโดยใช้มีดคม ตัดส่วนของลำต้นให้เหลือตาเหนือคอรากไว้ 1-2 คู่ ส่วนรากแก้ว ตัดให้เหลือยาวประมาณ 15-20 ซม. ตัดรากฝอยออกให้หมด ขนาดของเหง้าสักที่ได้มาตรฐานที่จะนำไปปลูก คือ เส้นผ่าศูนย์กลางที่คอราก ระหว่าง 1.2-2.0 ซม. ความยาวประมาณ 15-20 ซม. นำไปเก็บในไว้ในหลุมทรายโดยควบคุมอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส การปลูกด้วยเหง้าสักที่เก็บไว้ในหลุมทรายช่วงที่เหง้าสักกำลังงัน จะมีความเจริญเติบโตดีกว่าเหง้าสักที่ไม่ได้เก็บ ทั้งนี้เนื่องจาก อาหารที่ถูกเก็บสะสมไว้ในเหง้าสักยังไม่ได้ถูกใช้ไปในการเจริญเติบโตของกล้าสักในแปลงเพาะ ตอนต้นฤดูฝนปีต่อมา

การเตรียมกล้าสักจากเมล็ด (Seeding)

การปลูกสร้างสวนป่าตามหลักวิชาการป่าไม้นั้น ปลูกโดยใช้เหง้าสักที่ ได้จากการเพาะเมล็ด แต่ปัจจุบันหน่วยงานอื่นรวมทั้งเอกชนทั่วไปที่มีความสนใจ นิยมปลูกไม้สักโดยใช้กล้าไม้สักที่เตรียมจากเมล็ดเป็นส่วนใหญ่ การเตรียมกล้าสักจากเมล็ดนั้น ก็เป็นขั้นตอนต่อจากการเตรียมเหง้าสักที่ได้กล่าวถึงไว้แล้ว ทำได้โดยการถอนกล้าสักจากแปลงเพาะ นำมาแต่งเหง้าสัก โดยใช้มีดตัดส่วนของลำต้นให้เหลือตาเหนือคอราก ไว้ 1-2 คู่ ส่วนรากแก้ว ตัดให้เหลือยาวประมาณ 15-20 ซม. ตัดรากฝอยออกให้หมด แล้วนำเหง้าสักที่เตรียมเสร็จแล้ว ย้ายชำลงถุงพลาสติกที่บรรจุดินผสมไว้แล้ว โดยปักชำเหง้าสักในถุง ในระดับคอรากอัดดินที่โคนรากและคอรากให้แน่น วางเรียงไว้ในเรือนเพาะชำรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง กำจัดวัชพืช ดูแลรักษา จนกล้าไม้เจริญเติบโตได้ขนาดสูงประมาณ 30 ซม. ก็นำไปปลูกในสวนป่าได้

การเตรียมกล้าสักแบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture)

ปัจจุบันได้มีการนำวิธีการสมัยใหม่ มาใช้ในการขยายพันธุ์ไม้สักโดยการผลิตกล้าไม้สักแบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าในเชิงธุรกิจ โดยหวังว่า ผลที่ได้จากการปลูกสร้างสวนป่าโดยวิธีนี้ จะได้ผลดีกว่าการปลูกโดยใช้กล้าสักจากเมล็ดคือ ต้นสักจะมีลักษณะดีเหมือนต้นแม่ทุกประการ เช่น เปลาตรง โตเร็ว ความเจริญเติบโตสม่ำเสมอ และให้ผลผลิตของเนื้อไม้มากกว่า เป็นต้น
           
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้สัก ก็เหมือนกับไม้ชนิดอื่นๆ โดยเริ่มจากการนำเนื้อเยื่อจากตายอดมาเพาะเลี้ยงในอาหารสูตรการขยายปริมาณเนื้อเยื่อให้ได้ปริมาณมาก เลี้ยงเนื้อเยื่อให้เจริญจนมีใบ 2-3 คู่ ก็พร้อมที่จะนำออกมาเลี้ยงในเรือนเพาะชำหรืออาจจะนำไปเลี้ยงในสูตรอาหารเร่งรากก่อนนำออกปลูกก็ได้ หลังจากนั้นก็ย้ายกล้าไม้ที่ได้จากการเพาระเลี้ยงเนื้อเยื่อลงถุงพลาสติกบรรจุดินผสมที่เตรียมไว้ในเรือนเพาะชำ รดน้ำดูแลรักษาเช่นเดียวกับการเตรียมกล้าไม้ทั่วไป เมื่อกล้าไม้สักโตได้ขนาดที่เหมาะสม ก็นำไปลูกในพื้นที่สวนป่าต่อไป 

การคัดเลือกพื้นที่

ก่อนเริ่มทำการเพาะปลูกไม้สักทอง จะต้องพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้สักทองเสียก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งได้กล่าวถึงไว้บ้างแล้วในตอนต้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าไม้สักทองในธรรมชาติจะขึ้นอยู่เฉพาะทางภาคเหนือ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม้สักจะขึ้นทางภาคอื่นไม่ได้ ปัจจุบันการปลูกป่าสวนเชิงธุรกิจ ทำการเพาะปลูกและดูแลสวนป่าอย่างปราณีต และนำวิชาการป่าไม้มาประยุกต์ใช้ ควบคู่กับวิชาการเกษตรสมัยใหม่ เช่นการเตรียมพื้นที่อย่างดี การปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ให้เหมาะสมกับพันธุ์ไม้แต่ละชนิด การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อการปรับปรุงดิน และช่วยเร่งความเจริญเติบโตของต้นไม้ ทำให้การปลูกสวนป่าเชิงธุรกิจประสบผลสำเร็จอย่างงดงามิ อย่างไรก็ตาม การปลูกไม้สักทองเพื่อหวังผลตอบแทนในเชิงธุรกิจนั้น ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นดินลูกรัง และบริเวณที่มีหินดานอยู่ใต้ผิวดิน รวมทั้งพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ๆ

การเตรียมพื้นที่

ควรใช้เครื่องจักรกลโดยใช้รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบหรือล้อยางติดใบมีดหน้า เกรดปรับพื้นที่ล้มไม้ยืนต้นและกำจัดเศษไม้ปลายไม้ที่กีดขวางในบริเวณออกให้หมด แล้วใช้รถแทรกเตอร์ล้อยางเข้าไถบุกเบิก 1 ครั้งและพรวนสลับอีก 1 ครั้ง สวนสักขนาดใหญ่ ควรใช้รถแทรกเตอร์เกรดทำทางตรวจการการกว้าง 6 เมตร แบ่งเป็นแปลงย่อย ขนาด 10-50 ไร่ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน และควรจัดเตรียมแหล่งน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นสักในหน้าแล้ง และช่วยในการดับไฟด้วย

การปักหลักหมายปลูก

การปักหลักหมายปลูกดำเนินการหลังจากได้เตรียมพื้นที่เสร็จแล้ว ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกไม้สักทอง ควรปลูกระยะ 3X3 เมตร ( 178 ต้น/ไร่ ) หรือ 2X4 เมตร ( 200ต้น/ไร่) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ปลูก การปลูกระยะ 2x4 เมตร ควรพิจารณาปลูกเมื่อแน่ใจว่า มีตลาดรับซื้อไม้สักทองขนาดเล็กที่ตัดสางออกเมื่อต้นสักอายุ 5 ปี ถ้าไม่แน่ใจว่ามีตลาดรับซื้อ ควรปลูกระยะ 3x3 เมตร

การปลูก

ควรปลูกไม้สักทอง ในช่วงต้นฤดูฝนจะให้ผลดีที่สุด ทั้งนี้เพราะต้นไม้จะมีโอกาสตั้งตัวเร็ว และมีช่วงเวลาที่จะรับน้ำฝนและเจริญเติบโตมากกว่าต้นไม้ที่ปลูกในตอนปลายฤดูฝน ควรรดน้ำช่วยเหลือในช่วงแรกที่ปลูกและมีฝนทิ้งช่วง เพื่อช่วยให้ต้นไม้มีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง ในปีแรกควรรดน้ำช่วยในช่วงหน้าแล้งเดือนละ 1 ครั้ง จะทำให้ต้นสักทองเจริญเติบโตเร็วมาก ไม่ควรรดน้ำต้นสักทองเกิน 2 ปี เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงเกินไป เมื่อต้นสักทองตั้งตัวได้แล้ว ควรหยุดการรดน้ำช่วย เพียงแต่ดูแลรักษาตามปกติ เช่น การถางวัชพืช การใส่ปุ๋ย จะทำให้ต้นสักทองที่ปลูกมีลวดลายสวยงาม สิ่งที่ผู้ปลูกไม้สักทอง ควรคำนึงประการหนึ่ง ก็คือ การเร่งไม้สักทองให้โตเร็วมากเกินไป อาจจะทำให้ไม้สักทองมีลวดลายไม่สวยงามเหมือนไม้สักทองที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติ

วิธีการปลูกไม้สักทอง

ปลูกได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1 ปลูกด้วยเหง้า วิธีนี้ ควรใช้สำหรับการปลูกไม้สักที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ จะช่วยให้การปฏิบัติงานรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย เหง้าสัก ขนาดที่เหมาะสมควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่คอราก (collar) ตั้งแต่ 1.2-2.0 ซม.
ก่อนที่จะปลูกนำเหง้าสักที่จะใช้ปลูกแช่น้ำยาเร่งรากเบอร์ 3 ประมาณ 10 นาที ใช้ชะแลงปักดินห่างจากโคนหลักหมายปลูก ประมาณ 15 ซม. ในแนวตรง แล้วดึงด้ามชะแลงเข้าหาตัวเอียงประมาณ 15 องศา ให้มีความลึกพอดีกับขนาดความยาวของรากเหง้าสัก (ประมาณ 15-20 ซม.) ดึงชะแลงออก แล้วใส่เหง้าสักลงไปในหลุมตรง ๆ ให้ปลายเหง้าสักเสมอกับระดับผิวดินหรือต่ำกว่าผิวดินเล็กน้อย ปักชะแลงลงในดินมาทางตัวผู้ปลูก เพื่ออัดดินชั้นบนให้กระชับส่วนของคอราก (collar) ใช้ส้นเท้ากดดินรอบ ๆ โคนรากเหง้าสักให้แน่น การปลูกสักด้วยเหง้า ควรคัดเลือกเหง้าสักที่มีขนาดเท่ากัน ปลูกในบริเวณเดียวกัน โดยปลูกเหง้าสักที่มีขนาดใหญ่ อยู่ตอนในของพื้นที่ และปลูกเหง้าสักที่มีขนาดเล็กบริเวณรอบนอกของพื้นที่ จะช่วยทำให้ต้นสักทองมีความเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันทั้งแปลง
วิธีที่ 2 ปลูกด้วยการชำถุง ใช้สำหรับการปลูกสัก พื้นที่ไม่มากนัก ถ้าเตรียมกล้าอย่างดีจะทำให้ต้นสักเจริญเติบโตรวดเร็วและสม่ำเสมอ กล้าสักชำถุง ควรมีความสูงไม่ต่ำกว่า 30 ซม. ก่อนปลูกทำให้แกร่ง (hardening) ไม่น้อยกว่า 15 วัน เวลาปลูกใช้จอบขุดหลุมปลูกขนาด 20x20x20 ซม. ห่างจากโคนหลักหมายปลูกประมาณ 15 ซม. ค่อย ๆ เอาถุงออกจากกล้าสักก่อนนำลงปลูก พยายามอย่าให้กล้าไม้กระทบกระเทือนมากเกินไป หรือให้ดินรอบโคนกล้าไม้แตกหลุดร่วงนำกล้าไม้ลงวางในหลุมปลูกในแนวตรง กลบดินรอบ ๆ โคนกล้าไม้ให้แน่น การปลูกไม้สักทองด้วยกล้าชำถุง ควรปลูกในช่วงเวลาที่มีฝนตกชุกหรือรดน้ำหลังปลูก จึงจะได้ผลดีและมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง

การปลูกซ่อม

หลังจากการทำการปลูกเสร็จแล้ว ประมาณ 1 เดือน หากตรวจพบว่าต้นสักตาย ให้รีบทำการปลูกซ่อมโดยเร็ว และควรทำการปลูกซ่อมด้วยกล้าชำถุงที่สมบูรณ์แข็งแรงและมีความสูงไม่ต่ำกว่า 30 ซม. ทั้งนี้เพื่อให้ต้นสักที่ปลูกในครั้งแรกและที่ปลูกซ่อมภายหลังมีความเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน

การใส่ปุ๋ย

การปลูกไม้สักทองเชิงธุรกิจ การใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตให้ต้นไม้ในระยะแรก นับว่ามีความจำเป็นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มีสภาพดินเลว ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15, 22-11-11 หรือ 18-12-6 ให้แก่ต้นไม้ปีละ 2 ครั้ง ปีแรกใส่ครั้งละ 25 กรัม/ต้น ปีที่ 2 ใส่ครั้งละ 50 กรัม/ต้น ปีที่ 3 ใส่ครั้งละ 75 กรัม/ต้น ปีที่ 4-5 ใส่ครั้งละ 100 กรัม/ต้น สำหรับปีต่อๆ ไป ควรใส่ปุ๋ยให้เฉพาะต้นสักที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยเร่งให้มีความเจริญเติบโตทันเท่าต้นอื่นเท่านั้น ในบางสภาวะ ถ้าสามารถใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมก่อนปลูก หลุมละ 1 กก. จะช่วยให้ต้นสักทองเจริญเติบโตได้ดีขึ้นมาก อัตราการใส่ปุ๋ยดังกล่าว ใช้สำหรับพื้นที่ซึ่งมีความสมบูรณ์ปานกลาง แต่ถ้าพื้นที่มีสภาพดินไม่ดี ต้องใส่ปุ๋ยมากกว่านี้ โดยเฉพาะพื้นที่แห้งแล้งดินทราย จะต้องใส่ปุ๋ยมากกว่าอัตราที่กำหนดไว้อย่างน้อย 2 เท่า คำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติสำหรับการใส่ปุ๋ยก็คือ ควรทำการวิเคราะห์ดินก่อนเพื่อการใส่ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิผล ก่อนการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง จะต้องถางวัชพืชรอบโคนต้นสักให้เตียนก่อน แล้วจึงจะใส่ปุ๋ย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้วัชพืชที่ขึ้นอยู่รอบ ๆ โคนต้นสักแย่งปุ๋ยไปจากต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ได้รับปุ๋ยไม่เต็มที่ ควรพิจารณา ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยพืชสด ร่วมกับปุ๋ยเคมีด้วยเพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินมากขึ้น การใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียงเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ดินแน่น ต้นไม้จะไม่สามารถนำปุ๋ยเคมีที่ใส่ ไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่

การลิดกิ่ง (Pruning)

ตามปกติ การปลูกต้นไม้ในเชิงธุรกิจ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ

  • ประการแรก ปลูกเพื่อต้องการปริมาณ (Quanlity)
  • ประการที่ 2 ปลูกเพื่อต้องการคุณภาพ (Quality)

การปลูกไม้สักทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการไม้ที่มีคุณภาพดี เปลาตรง และปราศจากตำหนิ จากปุ่ม ตา เมื่อเวลาตัดไม้ขายได้ราคาแพง จึงจำเป็นต้องทำการลิดกิ่ง ควรเริ่มลิดกิ่งต้นสักในปีที่ 2 สำหรับปีแรก ควรทำเฉพาะตัดตันสักที่ขึ้นแซมออก โดยคัดเลือกให้เหลือ ต้นที่แข็งแรงและลักษณะดี ไว้เพียง 1 ต้น เท่านั้น
           
วิธีการลิดกิ่งที่ถูกต้อง จะต้องใช้กรรไกรหรือเลื่อย ตัดกิ่งให้เรียบชิดขนานกับลำต้น ไม่ให้เหลือส่วนของโคนกิ่งไว้บนลำต้นและการตัดจะต้องไม่ทำให้เปลือกฉีกขาดและลำต้นได้รับอันตราย การลิดกิ่งแต่ละครั้ง ควรเหลือเรือนยอดที่เป็นกิ่งสดไว้พอเพียงกับความเจริญเติบโตของต้นไม้นั้น โดยปกติจะลิดกิ่งออกแต่ละครั้งเพียง 1/3 เท่านั้น การลิดกิ่งทำปีละครั้ง ในหน้าแล้งซึ่งเป็นระยะที่ต้นไม้หยุดการเจริญเติบโต สำหรับความสูงที่ต้องลิดกิ่ง ขึ้นอยู่กับลักษณะรูปทรงของต้นไม้ ความต้องการและวัตถุประสงค์ของผู้ปลูกว่า ต้องการไม้ซุงที่มีลักษณะดี ยาวเท่าไร อย่างไรก็ตาม ควรทำการลิดกิ่งสูงจากพื้นดินอย่างน้อย 6 เมตร และใช้ปูนขาวผสมน้ำทาตรงบริเวณรอยที่ตัดแต่งกิ่งออก เพื่อป้องกันเชื้อราเข้าทำอันตรายต้นสักในภายหลัง ]

การตัดสางขยายระยะ

            คือ การตัดต้นไม้ที่ขึ้นอยู่หนาแน่นออกเพื่อช่วยให้ต้นไม้ที่เหลือมีโอกาสเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ วิธีการตัดสางขยายระยะ มีหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ถ้าต้องการตัดสางขยายระยะ มีหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ถ้าต้องการตัดสาง เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นไม้ที่เหลือเพียงอย่างเดียว ก็พิจารณาตัดต้นไม้ขนาดเล็ก แคระแกร็น คดงอ และเป็นโรคออก แต่ถ้าต้องการใช้ประโยชน์หรือนำไม้ที่ตัดออกมาจำหน่ายด้วยก็ควรใช้ วิธีตัดต้นเว้นต้น กำหนดระยะเวลาในการตัดสางขยายระยะ ขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ระยะปลูก และอัตราความเจริญเติบโตของต้นไม้ ถ้าปลูกระยะถี่และต้นไม้โตเร็ว การตัดสางขยายระยะก็จะต้องทำเร็วกว่าปลูกระยะห่าง อย่างไรก็ตาม มีหลักในการสังเกตอย่างง่าย ๆ ในการตัดสางขยายระยะต้นไม้ ก็คือ "ให้เริ่มทำการตัดสางขยายระยะต้นไม้ เมื่อเรือนยอดของต้นไม้เริ่มเบียดชิดกัน

การปลูกสวนสักระบบวนเกษตร

            คือ การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการนำพืชเกษตรมาปลูกควบคู่กับการปลูกไม้สักซึ่งเป็นการเสริมรายได้ให้แก่ผู้ลงทุนในระยะแรกที่ยังไม่สามารถนำไม้สักที่ปลูกมาใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดศัตรูพืชในสวนสักอีกด้วย ต้นสักที่ปลูกในระบบวนเกษตรนี้จะมีความเจริญเติบโตดีกว่าการปลูกสักเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะต้นสักจะได้รับการบำรุงรักษาอย่างดีเช่นเดียวกับพืชเกษตรที่ปลูกควบคู่กันด้วย การปลูกสวนผัก สามารถปลูกพืชเกษตรควบคู่ในระหว่างแถวต้นสักได้อย่างน้อย 2 ปี

เทคนิคการล้มและตัดทอนไม้สัก

            ไม้สักทอง เป็นไม้ดีมีคุณภาพ และราคาแพง (Quality tree) วัตถุประสงค์ของผู้ปลูกต้องการต้นไม้ที่มีลำต้นโต เปลาตรง และเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม จึงพยายามหาวีธีการปลูกและบำรุงรักษาอย่างประณีต เพื่อให้ไม้สักทองโตเร็ว รูปทรงของลำต้นเปลาตรง สวยงามตามความต้องการ วิธีการล้มและตัดทอนไม้สักทองเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากสำหรับการจัดสวนไม้สักทอง ผู้ปลูกไม้สักทองควรทราบเพื่อนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง เมื่อถึงเวลาตัดไม้สักทองในสวนป่าที่ปลูกไว้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ให้ได้ไม้สักทองที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูงต่อไป

การวางแผนการปฏิบัติงาน

            การตัดไม้หรือการล้มไม้สัก ในสวนป่าที่ปลูกไว้ ( Man-made forests) เพื่อนำไม้สักที่โตได้ขนาดหรือมีอายุครบรอบตัดฟันออกมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ แต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็นการตัดโดยวิธีเลือกตัด (Selection cutting) ตัดโดยวิธีตัดหมด (Clear cutting) หรือเลือกตัดเฉพาะต้นขนาดเล็กออกก็ตาม การตัดไม้ออกแต่ละครั้ง ย่อมเป็นบริเวณกว้าง และมีต้นไม้ที่ถูกตัดออกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในกรณีเช่นนี้ การวางแผนล่วงหน้าเป็นพิเศษจะช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น ทำให้การทำงานง่ายขึ้น ปลอดภัยกว่า และมีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ่งสำคัญประการแรกที่ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นจะต้องมีก็คือ " แผนที่"

การเตรียมการล้มไม้

            ฤดูล้มไม้ที่เหมาะสมคือฤดูฝน เพราะเป็นฤดูที่มีดินอ่อน ไม้ไม่แตกง่าย ต้นไม้หรือพืชอื่น ที่เสียหายเพราะการล้มไม้ฟื้นตัวได้ง่าย ดังนั้นฤดูล้มไม้ในประเทศไทยจึงมักจะเริ่มต้นกันในเดือน มิถุนายน ซึ่งเป็นต้นฤดูฝน ไม่ควรล้มไม้ในเวลาที่มีอากาศร้อนและดินแห้งแข็ง ในเวลาที่มีอากาศร้อนนั่น เนื้อไม้จะเปราะมากกว่าปกติ ถ้าล้มไปกระทบดินแข็งด้วยแล้วจะทำให้ไม้แตกเสียหายได้ง่ายขึ้น การล้มไม้ เป็นงานที่มีอันตรายมากที่สุด ในการปฏิบัติงานซึ่งต้องการคนงานที่มีความชำนาญและต้องการวางแผนการทำงานอย่างรอบคอบ การล้มไม้เป็นหมู่ควรจะต้องกำหนดระยะห่างของคนงานที่เข้าล้มไม้ไว้ให้มากพอสมควรเพื่อไม่ให้ต้นไม้ล้มลงมาทับพนักงานล้มไม้คนอื่นๆ โดยคำนวณระยะทางล้มของต้นไม้จากความยาวของต้นไม้ 2 ต้น สำหรับในป่าที่ไม่สามารถเห็นต้นไม้ได้ชัดเจนควรกำหนดระยะทางเผื่อไว้เท่ากับความยาวของต้นไม้ 4 ต้น
           
การกำหนดทิศทางของต้นไม้ที่จะล้ม ควรตัดสินใจอย่างรอบคอบ ซึ่งขึ้นอยู่กับทิศทางที่จะบังคับให้ต้นไม้ล้มหรือการใช้ลิ่ม การเอนของต้นไม้ ลม สิ่งกีดขวางทางล้มของต้นไม้และสิ่งกีดขวางบนพื้นดิน นอกจากนั้นควรมองหาทางหลบภัยในขณะที่ไม้ล้มไว้ด้วย เมื่อได้กำหนดทิศทางล้มของต้นไม้ไว้แล้ว เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ควรวางไว้ในด้านตรงข้ามกับทิศทางที่ต้นไม้ล้มข้างหลังต้นไม้ ทำการแผ้วถางพื้นที่รอบๆต้นไม้ ที่จะทำการโค่นให้เตียน ถางทางหลบภัย ขณะที่ต้นไม้ล้มลงให้เตียนไว้ 2 ทาง และไกลพอที่คิดว่าปลอดภัย และทางวิ่งหลบภัยทั้งสองด้านนี้ ควรทำมุมทางด้านข้างกับแนวด้านหลังของต้นไม้ 45 องศา รอบๆ โคนต้นไม้ที่ทำการโค่นล้ม ควรใช้มีดหรือขวานถากเปลือกตามแนวรอบๆ บริเวณที่จะตัดให้เรียบก่อนเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โซ่เลื่อยทื่อเร็วเกินไป

การล้มไม้ขนาดเล็ก

            ไม้ขนาดเล็ก เช่น ไม้ตัดสางขยายระยะ (Thinning) โดยปกติจะใช้พนักงานเลื่อยยนต์เข้าดำเนินการเพียงคนเดียว ส่วนการลิดกิ่งหรือตัดทอนกิ่งไม้นั้น จะใช้ขวานโดยใช้คนงานเป็นหมู่ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การตัดทอนกิ่งไม้นี้ ถ้าคนงานรู้จักวิธีใช้เลื่อยยนต์แล้ว จะได้เปรียบกว่าการใช้ขวานมาก ต้นไม้ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่โคนต้น ประมาณ 60 ซ.ม. และมีรูปทรงปกติ จะสามารถบังคับให้ต้นไม้ล้มไปในทิศทางที่ต้องการได้ง่าย หลังจากที่พนักงานล้มไม้ได้กำหนดทิศทางการล้มไม้ของต้นไม้แล้ว และถางวัชพืชบริเวณโคนต้น และทำทางหลบภัยในขณะไม้ล้มไว้แล้ว ก็ใช้เลื่อยยนต์ทำบากหน้าก่อน การบากหน้าควรบากให้ลึกเข้าไปในเนื้อไม้ ประมาณ 1/5-1/4 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นไม้ และพยายามบากหน้าให้ชิดดิน เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ให้มากที่สุด นอกจากนั้น การตัดไม้ที่เหลือตอไว้สูง อาจจะทำให้ไม่สะดวกในการปฏิบัติงานในภายหลังได้เหมือนกัน การบากหน้า ควรบากทำมุมประมาณ 45 องศา
           
การทำบากหน้า ควรใช้เลื่อยยนต์ ตัดเป็นแนวเฉียง 45 องศาก่อน แล้วจึงตัดตามแนวนอน โดยพยายามให้แนวนอนพบกับแนวเฉียงเป็นเส้นตรง การทำบากหน้า ควรให้หันหน้าไปตามทิศทางการล้มของต้นไม้ เป็นมุม 90 องศา การบากหน้ามีความสำคัญสำหรับการล้มไม้มาก ถ้าเราทำบากหน้าไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ก็อาจจะทำให้ทิศทางการล้มของต้นไม้ ไม่เป็นไปตามทิศทางที่ต้องการ การทำลัดหลังจะต้องพยายามให้อยู่ในแนวนอน และแนวอยู่สูงกว่าแนวของบากหน้า ประมาณ 2.5-5 ซ.ม. ถ้าต้นไม้ที่ทำการล้มมีขนาดเล็กกว่าใบเลื่อย การลัดหลังสามารถทำได้ง่าย โดยการใช้เลื่อยยนต์ลัดหลังเพียงครั้งเดียวและด้านเดียว แต่ถ้าต้นไม้มีขนาดใหญ่กว่า การลัดหลังจะต้องใช้เลื่อยยนต์ตัดหลายครั้งและหลายด้าน

การล้มไม้ขนาดใหญ่

            ต้นไม้ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวมากกว่า 2 เท่าของความยาวของใบเลื่อยการบากหน้าจะต้องทำจาก 2 ด้าน และเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้หนีบใบเลื่อยจะต้องบากหน้าตามแนวนอนก่อน แล้วจึงบากหน้าตามแนวเฉียงลงมาตัดกับแนวนอนภายหลัง ต่อไปใช้ปลายใบเลื่อยตัดเนื้อไม้เข้าไปให้ถึงศูนย์กลางของลำต้น โดยตัดเข้าไปทางด้านของบากหน้า ระดับเดียวกับแนวนอนของบากหน้าโดยให้มีแกนกลาง เหลืออยู่ทั้ง 2 ด้านของต้นไม้หนาอย่างน้อย 5 ซ.ม. แล้วจึงทำการลัดหลัง การลัดหลังจะต้องอยู่ในระดับความสูงกว่าแนวนอนของบากหน้า ไม่น้อยกว่า 10-20 ซ.ม. สำหรับต้นไม้ที่มีพูพอนขนาดเล็ก ไม่ควรตัดพูพอนออกก่อน เพราะจะมีความปลอดภัยมากกว่า ถ้าเราปล่อยพูพอนไว้เช่นนั้น ถ้ามีความต้องการที่จะต้องตัดพูพอนออก เพื่อความสะดวกในการขนย้าย ก็สามารถทำได้สะดวกกว่า เมื่อได้โค่นไม้ล้มลงแล้ว แต่ถ้าใบเลื่อยสั้นเกินไปที่จะทำการโค่นล้มไม้เหมือนกัน ซึ่งการตัดพูพอนออกก่อนในกรณีนี้จะช่วยทำให้การล้มไม้ง่ายขึ้น

การล้มไม้เอน

ถ้าต้นไม้ที่จะทำการล้ม เอนทิ้งน้ำหนักของลำต้นไปทางเดียวกันกับที่จะทำการล้ม เทคนิคดังต่อไปนี้ จะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการแตกร้าวของเนื้อไม้ และเลื่อยยนต์ถูกไม้หนีบ             สำหรับไม้ขนาดเล็ก หลังจากทำการบากหน้าแล้ว การลัดหลัง จะต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยทำลัดหลังทางด้านข้างทั้ง 2 ด้านเลียก่อน แล้วจึงทำการลัดหลังส่วนที่เหลือภายหลัง
           
สำหรับไม้ขนาดใหญ่ การทำบากหน้าต้องไม่ลึกมากกว่า 1/4 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นไม้ มิฉะนั้น ใบเลื่อยจะถูกไม้หนีบได้ แล้วการทำการลัดหลังจะต้องใช้ปลายใบเลื่อยตัดเจาะเข้าไปทางด้านข้างของลำต้นด้านหนึ่งก่อน ถ้าเป็นไม้ขนาดใหญ่ จะต้องใช้ปลายใบเลื่อยตัดเจาะเข้าไปทางด้านข้างอีกด้านหนึ่งด้วย เนื้อไม้ส่วนที่เหลือ ให้ใช้เลื่อยยนต์ตัดเป็นมุมทะแยงลงมายังแนวที่ทำลัดหลังไว้ก่อนแล้ว
           
การล้มไม้ที่เอนประมาณ 30 องศา สามารถทำได้โดยทำบากหน้า ให้หันไปตามทิศทางที่จะให้ไม้ล้ม มุมของบากหน้าทางด้านที่ไม้เอนจะต้องเล็กกว่ามุมของบากหน้าทางด้านของทิศทางที่ไม้ล้ม และใช้ลิ่มใส่ทางด้านที่ไม้เอน เพื่อตอกช่วยบังคับทิศทางการล้มของไม้ด้วย

การทอนไม้

            การล้มไม้ การลิดกิ่ง และการทอนไม้ ควรทำโดยพนักงานชุดเดียวกัน โดยทำงานต่อเนื่องกันไป ให้เสร็จเรียบร้อยเป็นต้นๆ ไป ในระหว่างทำการทอนไม้ หรือลิดกิ่งไม้ ที่มีขนาดใหญ่ พนักงานเลื่อยยนต์ควรจะต้องระมัดระวังและสังเกตดูว่า ใบเลื่อยจะถูกไม้หนีบหรือไม่ หรือไม้ซุงที่กำลังตัดทอนอยู่นั้น เมื่อตัดขาดแล้ว จะกลิ้งมาทับพนักงานได้หรือไม่ ขณะปฏิบัติงาน พนังงานเลื่อยยนต์ ควรจะเลือกยืนทางด้านที่ปลอดภัยเสมอ โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งเป็นภูเขา
           
สำหรับไม้ขนาดเล็ก พนักงานเลื่อยยนต์ไม่จำเป็นต้องมีผู้ช่วยการทอนไม้ขนาดเล็กบางทีเราสามารถใช้เลื่อยยนต์ทอนไม้ขาดได้ทีเดียว โดยไม่ต้องยกเลื่อยยนต์หลายครั้งและใช้ลิ่มเพียงอันเดียวก็เป็นการเพียงพอ สำหรับป้องกันไม่ให้ใบเลื่อยถูกไม้หนีบ สำหรับไม้ขนาดใหญ่ มีความจำเป็นต้องมีผู้ช่วยคอยให้ความช่วยเหลือ ในการหมายไม้ที่จะตัดทอนร่วมกับพนักงานเลื่อนยนต์ และลูกมือจะต้องทำการแผ้วถางบริเวณที่จะปฏิบัติงานให้เตียน เพื่อความสะดวกในการทำงานด้วย ขณะปฏิบัติงาน ผู้ช่วยต้องคอยดูโดยใกล้ชิดและใช้ลิ่มช่วย หรือใช้เลื่อยยนต์แทน เมื่อพนักงานเลื่อยยนต์เหนื่อย
           
กรณีที่ไม้มีขนาดใหญ่เกินกว่าใบเลื่อย การทอนไม้จำเป็นต้องทำหลายๆ ด้าน ซึ่งต้องมีการเคลื่อนย้ายเลื่อยยนต์หลายครั้ง โดยวิธีการตัดทอนดังกล่าวนี้สามารถตัดทอนไม้ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางโตกว่า 2 เท่าของความยาวใบเลื่อย การใช้ลิ่มมีความจำเป็นมาก เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้หนีบใบเลื่อย สำหรับไม้ที่มีขนาดใหญ่มาก อาจจะต้องใช้ลิ่ม 2 อัน เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้บิดจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ไม้หนีบใบเลื่อย ก่อนที่การทอนไม้จะเสร็จสิ้นลง เมื่อพิจารณาเห็นว่า ไม้เริ่มจะหนีบใบเลื่อย ให้รีบใส่ลิ่มเสียก่อน เมื่อตัดไม้เข้าไปลึกพอควร

การหมายไม้

            การหมายไม้หมายถึงการกำหนดความยาวของต้นไม้ที่ล้มเพื่อตัดทำเป็นซุงให้ได้คุณภาพดีที่สุด ไม้ต้นหนึ่งอาจหมายตัดทอนเป็นซุงได้หลายท่อน การหมายไม้ซุงที่ทำออกจากสวนสักนั้นต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ ต้องรอบรู้ถึงความต้องการของตลาด รวมทั้งจะต้องรู้ถึงสภาพของทางที่จะขนส่งไม้และยานพาหนะที่จะใช้ขนส่งไม้นั้น เพื่อจะได้หมายไม้เป็นท่อนซุงได้ถูกต้องตามประสงค์             อย่างไรก็ดีการหมายไม้ที่ถูกต้องควรยึดหลักในการหมายไม้แต่ละท่อนว่า ให้ได้เนื้อไม้มากที่สุด ให้ได้ซุงที่มีคุณภาพดีที่สุด และไม่ทิ้งส่วนของเนื้อไม้ที่ดีพอใช้ประโยชน์ได้ไว้ในป่า เนื่องจากไม้สักเป็นไม้ที่มีค่าและมีราคาแพง ฉะนั้นการหมายไม้สักจึงต้องทำกันอย่างละเอียดพิถีพิถัน ไม้ซุงสักที่มีคุณภาพดีมีความยาวมากจะทำให้ได้ราคาดีไปด้วย ในตลาดไม้แปรรูปเมืองไทย ไม้ยาวมีราคาสูงกว่าไม้สั้น ฉะนั้นการพยายามให้ไม้ซุงที่หมาย มีความยาวมากขึ้นเท่าใดย่อมทำให้ได้ราคาขายดีขึ้นเท่านั้น

ตำหนิของไม้สัก

            คุณภาพของไม้สักเกี่ยวข้องกับตำหนิต่างๆ อยู่มาก ตำหนิเหล่านี้ทำให้ราคาไม้สักต่ำลง ฉะนั้นจึงควรได้ทราบตำหนิต่างๆ ของไม้สักซึ่งเป็นที่รังเกียจของผู้ซื้อ เพื่อให้เป็นแนวทางในการหมายไม้ออกมาเป็นไม้ซุงที่คุณภาพดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตำหนิต่างๆ ของไม้สักโดนทั่วๆ ไป มีดังนี้
1.
โพรง ไม้สักแตกต่างกว่าไม้กระยาเลยตรงที่ว่า โพรงของไม้สักส่วนใหญ่มักเกิดที่โคนและปลายต้น ตอนกลางต้นมักจะตัน ไม้สักต้นที่มีอายุมากมักจะเป็นโพรง ดังนั้นการกำหนดขนาดจำกัดของไม้สักไว้โตๆ จึงมักจะเป็นโพรงและได้ไม้คุณภาพทรามออกมาเป็นสินค้า ไม้ที่โพรงใหญ่ก็จะเหลือเนื้อไม้ที่ใช้การได้น้อย ทั้งจะต้องเสียค่าภาคหลวง เสียค่าชักลาก ค่าขนส่ง ส่วนที่เป็นโพรงนั้นด้วย ดังนั้นจึงควรใช้ไม้แหย่เพื่อวัดความลึกของโพรงและตัดทอนส่วนที่เป็นโพรงทิ้ง ส่วนไม้กระยาเลยนั้น เมื่อโคนเป็นโพรงแล้วมักจะโพรงตลอดต้นและเป็นไส้ฟัก คือ เนื้อไม้ผุยุ่ย
2.
โพรงหมีกัด เกิดจากไม้นั้นเป็นโพรงเล็กอยู่ก่อน ผึ้งเข้าไปทำรังเมื่อหมีต้องการกินน้ำผึ้งจะขยายโพรงนั้นให้กว้างออกเป็นรูใหญ่ ทำให้เกิดตำหนิเสียเนื้อไม้มาก
3.
คด ต้นไม้ซึ่งเกิดจากแม่ไม้คุณภาพไม่ดี หรือถูกบีบคั้นโดยธรรมชาติมาตั้งแต่ยังเป็นต้นเล็กๆ เช่น ถูกไม้อื่นเบียดบัง ทำให้ต้นไม้นั้นต้องเอนตัวเพื่อหาแสงสว่าง เป็นต้น
4.
พู พอน คือเนื้อไม้ซึ่งออกมาจากด้านข้างของลำต้นตอนโคนเพื่อยึดลำต้นให้ยืดตรงอยู่ได้ ไม้บางชนิดมีพูพอนเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ไม้ตะแบก ไม้ตะบูน พูพอนของไม้ส่วนใหญ่มักจะลีบเล็กเป็นแผ่นบางใช้การไม่ได้ ฉะนั้นก่อนที่จะโค่นล้มจึงตวรจะตัดพูพอนส่วนที่เป็นครีบออกเสียก่อน
5.
ตา เป็นส่วนของกิ่งไม้หรือส่วนที่กลายเป็นกิ่งไม้แล้วแต่ยังฝังอยู่ในเนื้อไม้ ตาแบ่งออกได้เป็น ตาตัน ได้แก่ตาที่มีเนื้อแน่นและไม่หลุดออก ตาเช่นนี้อาจจะนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้ ถ้าการใช้ไม้นั้นไม่เกี่ยวกับการรับน้ำหนัก เพราะตาเช่นนี้จะทำให้เนื้อไม้สนและอาจแตกร้าวได้ง่าย ตาเสียหรือตาผุ เกิดจากเนื้อไม้ของกิ่งที่เกิดใหม่มีความแข็งอ่อนไม่เท่ากับความแข็งอ่อนของลำต้น หรือเกิดจากน้ำฝนไหลเข้าไปในตาแล้วเกิดเชื้อเห็ดราทำให้ตาผุ
6.
รูมอดป่า เกิดจากตัวมอดป่าหรือแมลงชนิดอื่นเจาะไชเนื้อไม้โดยฌฉพาะไม้สักมีแมลงประเภทผีเสื้อกลางคืน (moth) ที่เรียกกันว่า Bee hole borer (Xyleutes ceramicus) ตัวหนอนของผีเสื้อกลางคืนชนิดนี้จะกัดเจาะเนื้อไม้ให้เป็นรูไปทั่วทั้งต้น ทำให้คุณภาพไม้ต่ำลง
7.
เดาะ เกิดจากการล้มไม้ไม่ถูกวิธีทำให้เนื้อไม้เดาะเสียหาย เช่น ล้มไม้ข้ามห้วย ล้มไม้ทับก้อนหิน ฯลฯ ไม้เดาะนี้บางทีอาจจะเดาะเพียงด้านเดียว หรือเดาะแต่ผิว ส่วนด้านอื่นยังใช้การได้ควรสังเกตให้ดี
8.
ฉีก เกิดจากการล้มไม้ไม่ดี ไม่ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ เช่นบากหน้าน้อยเกินไป หรือบากหน้ามากเกินไปจนลัดหลังไม่ทันทำให้เนื้อไม้ฉีก หรืออาจเกิดจากการทอนไม้ซึ่งมักจะเกิดขี้นเมื่อท่อนไม้ที่จะทอนไม่นอนแนบสนิทกับพื้นดิน และไม่ได้ป้องกันให้ถูกวิธี
9.
รอยแตกร้าวที่หน้าตัด เกิดจากการล้มไม้สดแล้วทิ้งให้ตากแดดตากฝน การยืดหดของไม้ตามผิวและจากส่วนในของท่อนไม้ไม่เท่ากัน หรือความชื้นในท่อนไม้ลดลงเร็วเกินไป
10.
รอยร้าวที่หน้าตัด เกิดขึ้นจากการหดตัวของเนื้อไม้ไม่เท่ากัน เช่นไม้สดนำมาตากแดด ส่วนของเนื้อไม้มีความแข็งอ่อนไม่เท่ากันจึงเกิดการแตกตามวงรอบปีหรือแตกตามส่วนโค้งของหน้าตัดโดยแตกเป็นวงเรียกว่า ร้าวรูปถ้วย (Cup shake) หรือแตกจากใจกลางเป็นรูปดาวเรียกว่า ไส้ร้าว (Star shake) เป็นต้น
11.
ร่องน้ำลึก เกิดจากไม้ซุงถูกตัดทิ้งไว้ในป่าเป็นเวลานานๆ น้ำฝนจะซึมเข้าไปในกระพี้ที่แตกร้าวทำให้กระพี้ซึ่งเป็นส่วนอ่อนที่สุดของไม้เกิดผุเป็นรอยลึก ยิ่งนานไปน้ำฝนก็มีโอกาสขังอยู่ในร่องนานเข้าทำให้ร่องน้ำตามผิวของท่อนไม้นัน้ยิ่งลึกมาขึ้น
12.
บิด เกิดจากลำต้นไม้บิด สาเหตของการบิดอาจเกิดจากสภาพแวดล้อม เช่นถูกต้นไม้อื่นเบียดบังหรือถูกเถาวัลย์พันตั้งแต่ต้นยังเล็กเนื้อไม้ก็บิดตามไปด้วย เมื่อเรานำไม้ชนิดนี้ไปแปรรูปด้วยเครื่องจักรซึ่งต้องเลื่อยเป็นเส้นตรง รอยเลื่อยจะตัดขวางเสี้ยนเนื้อไม้เป็นบางส่วนทำให้ไม้แปรรูปนั้นเกิดจุดอ่อน มีความแข็งแรงต่ำ ไม่เหมาะที่จะใช้รับน้ำหนัก เช่น รอด หรือคานได้
13.
ง่าม คือ ตรงจุดที่กิ่งใหญ่หรือลำต้นแยกออกจากกัน ถือเป็นตำหนิอย่างหนึ่งทำให้การหมายไม้ถูกจำกัดความยาวลง เพราะตรงง่ามเสี้ยนของเนื้อไม้จะเป็นเสี้ยนสนแยกเป็น 2 ทาง เกิดความอ่อนแอขึ้น
14.
หลืบ คือร่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากผิวของต้นไม้
15.
รูนกเจาะ เกิดจากแมลงไชต้นไม้ขึ้นก่อนแล้วนกซึ่งมีปากแข็ง เช่น นกหัวขวาน นกโพระดก พยายามเปิดเนื้อไม้รอบๆ รูหนอนเจาะให้ใหญ่ขึ้นเพื่อกินหนอนหรือดักแด้ของแมลง
16.
เปลือกหลบใน เป้นต้นไม้ที่มีเปลือกหลบเข้าอยู่ในลำต้น ถ้าเป็นไม้สักไม้ลักษณะนี้จะกานไม่ตายเพราะไม่สามารถตัดทางนำน้ำเลี้ยงอาหารซึ่งอยู่ระหว่างเปลือกกับกระพี้ให้หมดได้ เนื่องจากเปลือกหลบเข้าไปอยู่ในลำต้นเสีย จำเป็นต้องโค่นดิบ หรือโค่นโดยไม่ต้องกาน
17.
ตุ่ม เกิดจากตาซึ่งจะงอกเป็นกิ่ง แต่กิ่งงันเสียก่อนทำให้เกิดเป็นปุ่มปม ผิวซุงไม่งาม เนื้อไม้เสี้ยนสนเป็นวงทำให้สูญเสียความแข็งแรงไป


การจัดการสวนป่าและประโยชน์ของไม้สักทอง

            การจัดการสวนป่าเชิงธุรกิจ
การประกอบธุรกิจใดๆ ก็ตาม ย่อมจะต้องมีการวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ที่แน่นอน ก่อนที่จะดำเนินธุรกิจนั้น ธุรกิจใดที่ไม่มีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายรองรับเปรียบเสมือนกับนักเดินเรือที่ปราศจากหางเสือ ย่อมจะต้องพบกับมสรุม คลื่นลมปัญหาและอุปสรรคนานัปการ จนไม่สามารถนำนาวาฝ่าอุปสรรคนั้นไปจนถึงจุดหมายปลายทางได้ ในทำนองเดียวกัน การปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชน เพื่อหวังผลในทางเศรษฐกิจก็เหมือนกับหารทำธุรกิจอย่างหนึ่ง ก่อนที่จะดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายจึงต้องมีการวางแผนกำหนดเป้าหมาย และการจัดการที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง
           
หลักการจัดการสวนป่าเชิงธุรกิจ
สวนป่าเชิงธุรกิจ หมายถึง สวนป่าที่ดำเนินการอย่างประณีต เพื่อให้ต้นไม้โตเร็ว ได้ผลตอบแทนตามวัตถุประสงค์ ภายในเวลาที่กำหนดไว้ การจัดการสวนป่าเชิงธุรกิจที่ดี จะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญ ประการ คือ วัตถุประสงค์ ที่ดิน ชนิดไม้ วิธีการ และตลาด
           
วัตถุประสงค์ ก่อนที่จะทำการปลูกสร้างสวนป่า ผู้ดำเนินการจะต้องกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ก่อนเป็นอันดับแรกว่า จะปลูกเพื่ออะไร ทั้งนี้ การกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ให้แน่นอนนั้นจะมีผลต่อการพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้สัมพันธ์กันอย่างถูกต้องและเหมาะสมด้วย การปลูกสร้างสวนป่าที่ไม่ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ตั้งแต่แรก ย่อมทำให้ผู้ดำเนินการปฏิบัติงานด้วยความลำบาก เกิดความสับสน และจะไม่สามารถดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จได้
           
พื้นที่ ปัจจัยที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับต่อไป คือ พื้นที่หรือที่ดินที่จะใช้ทำการปลูกสร้างสวนป่า ซึ่งมีหลักในการพิจารณาที่สำคัญ 3 ประการ คือ กรรมสิทธิ์ ปริมาณ และคุณภาพ ผู้ดำเนินการ จะต้องมีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์เป็นของตัวเอง หรือเช่าที่ดินของรัฐ เพื่อให้มีสิทธิ์ และเกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานและการจัดการสวนป่าในโอกาสต่อไป ที่ดินจะต้องมีพื้นที่มากพอ ที่จะสามารถจัดการสวนป่าให้มีผลิตผลเพียงพอกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่องและครบวงจร รวมทั้งต้องคำนึงถึงคุณภาพของดินว่ามีความเหมาะสมกับชนิดไม้ที่จะปลูกหรือไม่
           
ชนิดไม้ ในการปลูกสร้างสวนป่าเชิงธุรกิจ มีหลักในการพิจารณาสำหรับชนิดไม้อยู่ 2 ประการ คือ (1) จำนวนชนิดไม้ ควรปลูกเพียงชนิดเดียว สำหรับการปลูกสร้างสวนป่า เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์แต่ละอย่าง และ (2) ปริมาณ หมายถึงเนื้อที่ที่ปลูกไม้แต่ละชนิด ต้องมีปริมาณมากพอตามหลักการที่ว่า "ปริมาณสำคัญกว่าคุณภาพ" การปลูกต้นไม้เพียงชนิดเดียว แต่ให้มีจำนวนมากเพียงพอกับความต้องการ จะสามารถตั้งโรงงานรองรับให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของชนิดไม้ได้ แต่ในทางตรงข้าม ถ้าหากปลูกต้นไม้หลายชนิดรวมกัน และมีจำนวนแต่ละชนิดน้อย ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการใช้ประโยชน์ไม้ ก็ไม่อาจจะตั้งโรงงานอุตสาหกรรมรองรับได้
           
วิธีการ คำว่าวิธีการในเรื่องของการปลูกสร้างสวนป่าเชิงธุรกิจนั้นคือ (1) การปลูกและการบำรุง ซึ่งหมายถึง การปลูกสร้างสวนป่าทั้งระบบทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การเตรียมพื้นที่ ปลูก ปลูกซ่อมและการบำรุงรักษา ได้แก่ การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การป้องกันไฟป่า และอื่นๆ (2) การจัดการ เป็นวิธีดำเนินการที่จะช่วยให้ต้นไม้ที่ปลูกมีความเจริญเติบโต สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามที่กำหนด เช่น การลิดกิ่ง (pruning) การตัดสางขยายระยะ (thinning) การกำหนดระยะปลูกให้เหมาะสมกับชนิดไม้ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อหน่วยสูงสุด การกำหนดเวลาและวิธีการตัดไม้ออกมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งการจัดการหน่อที่แตกใหม่เพื่อให้ผลผลิตในรอบต่อไปด้วย
           
ตลาด การปลูกสร้างสวนป่าเชิงธุรกิจ มีความจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างประณีต เพื่อให้ได้ต้นไม้โตเร็ว ขายได้ ภายในเวลาที่กำหนดไว้ ตลาดเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว การกำหนดวัตถุประสงค์ในการปลูกสร้างสวนป่าเพื่ออุตสาหกรรมประเภทใดนั้น ต้องพิจารณาให้แน่นอนก่อนตั้งแต่เริ่มดำเนินการว่ามีตลาดรองรับหรือไม่ อยู่ใกล้หรือไกลเกินไปหรือไม่ สะดวกในการขนส่งไม้จากสวนป่าไปจำหน่ายได้โดยง่ายหรือไม่ อย่างไร

การจัดการสวนไม้สักทอง

            ไม้สักทองสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ตามอายุและขนาดของไม้ที่ตัดออกมาจำหน่าย ตั้งแต่ไม้ซุงเพื่อแปรรูปใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ ปาร์เก้ แกะสลัก ฯลฯ แต่การนำไปใช้ประโยชน์จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการสวนป่าอย่างถูกต้องและเหมาะสม ขอแนะนำวิธีการจัดการสวนไม้สักทอง เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ดังนี้
1.
ไม้ซุงเพื่อใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน การปลูกสร้างสวนไม้สักทอง ที่มีวัตถุประสงค์จะนำไม้มาใช้ในลักษณะของไม้ซุง หรือ แปรรูป เพื่อใช้ในการก่อสร้างควรกำหนดระยะเวลาที่จะนำมาใช้ประโยชน์ 20-30 ปี ใช้ระยะปลูกไม่น้อยกว่า 4x4 เมตร เพื่อที่จะไม่ต้องตัดสางขยายระยะต้นไม้ออกในระยะแรก ซึ่งจะเป็นการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูงขึ้น โดยไม่คุ้มค่ากับการลงทุน การปลูกสร้างสวนสักทองโดยวัตถุประสงค์นี้ หวังผลตอบแทนในระยะยาว ผู้ลงทุนจึงควรวางแผนอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะดำเนินการ เช่น ต้องมีเงินลงทุนเพียงพอตลอดโครงการ การปลูกสร้างสวนสักทอง เพื่อผลิตไม้ซุง จะไม่มีปัญหาเรื่องตลาดประการใด ทั้งนี้เพราะในปัจจุบันและอนาคต รัฐบาลไม่อนุญาตให้นำไม้สักจากป่าธรรมชาติออกมาใช้ประโยชน์อีกต่อไป ความต้องการใช้ไม้สักทองจึงมีมาก และราคานับวันจะสูงมากขึ้นเรื่อยๆ
2.
ไม้บาง (VENEER) การปลูกสร้างสวนสักทอง เพื่อใช้ประโยชน์ไม้ในลักษณะของไม้บาง ควรกำหนดรอบตัดฟันประมาณ 15-20 ปี ระยะปลูก 3x3 เมตร หรือ 4x4 เมตร ไม้สักทองที่นำไปใช้ประโยชน์ จะต้องมีลักษณะเปลาตรงไม่มีตำหนิ จากปุ่ม ตา กิ่ง ดังนั้นจำเป็นต้องจัดการสวนสักทองอย่างประณีต เช่น ควรทำการลิดกิ่ง (pruning) และตัดสางขยายระยะ (thinning) ในเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากการปลูกสร้างสวนสักทอง มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไม้ส่งขายให่แก่โรงงานทำไม้บาง ดังนั้น การเลือกพื้นที่ปลูกไม่ควรอยู่ไกลจากโรงงานมากนัก เพราะจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง ระยะทางจากสวนป่าถึงโรงงาน ควรอยู่ระหว่าง 100-250 กม.
3.
บ้านไม้ซุง (LOG HOME) เฟอร์นิเจอร์ และปาร์เก้ การใช้ประโยชน์ไม้สักทอง เพื่อใช้ทำบ้านไม้ซุง เฟอร์นิเจอร์ และปาร์เก้นี้ มุ่งที่จะสนับสนุนให้นำไม้สักทองจากการตัดสางขยายระยะในสวนป่า มาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และทำให้สามารถจำหน่ายไม้สักทองตัดสางขยายระยะจากสวนป่าได้ราคาสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะไม้สักทองที่ตัดสางขยายระยะจากสวนป่า อายุเกิน 10 ปี มีลักษณะกลมเปลาตรงและมีขนาดเหมาะสมที่จะนำมาใช้ทำ เฟอร์นิเจอร์ บ้านไม้ซุง หรือปาร์เก้ได้อย่างสวยงาม แต่ในปัจจุบัน การใช้ประโยชน์ไม้สักทองตัดสางขยายระยะในสวนป่า ของกรมป่าไม้ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ยังจำหน่ายได้ราคาถูกมาก และยังไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์ให้กว้างขวางและไม่มีตลาดรองรับที่แน่นอน จึงเป็นการใช้ประโยชน์ไม้จากการตัดสางขยายระยะที่ไม่คุ้มค่าและเป็นการสูญเปล่าที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง
4.
ไม้ขนาดเล็ก การจัดการสวนสักทอง เพื่อนำไม้มาใช้ประโยชน์หลายอย่างในพื้นที่เดียวกันเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในระยะเวลาสั้น เพียง 5 ปี ก็นำไม้มาใช้ประโยชน์ทำไม้เสาขนาดเล็กได้แล้ว โดยกำหนดระยะปลูกให้ถี่ขึ้น เช่น 2x2 เมตร และตัดสางต้นเว้นต้น ออกมาใข้ประโยชน์ครั้งแรก ในปีที่ 5 ไม้ที่เหลือ จะมีระยะห่าง 4x4 เมตร ก็สามารถจัดการเพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ต่อไป การจัดการสวนสักทองเพื่อใช้ไม้ขนาดเล็กนี้ ถ้าในตลาดท้องถิ่นไม่มีความต้องการ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องปลูกถี่ เพราะจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงขึ้นโดยได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่า

สรุปแนวทางในการจัดการสวนสักทองตามวัตถุประสงค์
1.
ปลูกระยะ 2x2 เมตร (ไร่ละ 400 ต้น) ปีที่ 6 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำไม้เสาขนาดเล็ก ปีที่ 11 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ ทำเฟอร์นิเจอร์ ปาร์เก้ บ้านไม้ซุง (LOG HOME) ปีที่ 16 เลือกตัดไม้ออกตามจำนวนที่เหมาะสม เพื่อทำไม้บาง ปีที่ 20 ตัดออกทั้งหมด เพื่อจำหน่ายเป็นไม้ซุงแปรรูป ก่อสร้างบ้านเรือน
2.
ปลูกระยะ 3x3 เมตร (ไร่ละ 178 ต้น) ปีที่ 6 ตัดสางออก 25 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำไม้เสาขนาดเล็ก ปีที่ 11 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ ทำเฟอร์นิเจอร์ ปาร์เก้ และบ้านไม้ซุง ปีที่ 15 ตัดไม้ออกทั้งหมด เพื่อจำหน่ายเป็นไม้บาง ไม้ซุงแปรรูป ก่อสร้างบ้านเรือน
3.
ปลูกระยะ 4x4 เมตร (ไร่ละ 100 ต้น) ปีที่ 11 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจำหน่ายเป็นไม้ซุงขนาดเล็ก ทำเฟอร์นิเจอร์ ปาร์เก้ และบ้านไม้ซุง ฯลฯ ปีที่ 20 ตัดออกทั้งหมด เพื่อจำหน่ายเป็นไม้ซุงแปรรูป ก่อสร้างบ้านเรือน

ประโยชน์ของไม้สักทอง
ไม้สักทองเป็นไม้โตเร็วปานกลางและเป็นไม้เนื้อแข็ง ที่มีลักษณะพิเศษกว่าไม้ชนิดอื่น โดยเฉพาะเนื้อไม้ มอด ปลวก และแมลง ไม่ทำอันตราย เนื้อไม้มีสีเหลืองทอง ลวดลายสวยงาม เลื่อยไสกบตบแต่งง่าย จึงนิยมใช้ทำบ้านเรือนที่ต้องการความสวยงาม ในสมัยโบราณไม้สักทองหาง่าย ราคาไม่แพง การสร้างบ้านเรือน ใช้ไม้สักทองทำเสาเรือนด้วย เพราะมีความทนทาน สามารถอยู่ในดินได้เป็นเวลานานๆ ปัจจุบันไม้สักทองหายากและมีราคาแพง จึงต้องใช้ไม้สักทองอย่างประหยัด และคุ้มค่า โดยนำไม้สักทองมาเข้าเครื่องฝานเป็นแผ่นบางๆ เพื่อทำเป็นไม้อัดแทนการใช้ไม้สักทั้งแผ่น นอกจากนี้ ยังนำไม้ขนาดเล็ก เศษไม้ ปลายไม้ มาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ แกะสลัก ปาร์เก้ โมเสค วงกบ กรอบและบานประตูหน้าต่าง อย่างไรก็ตามในขณะที่ไม้สักทองในป่าธรรมชาติ กำลังจะหมดไป รัฐบาลก็มีนโยบาย ส่งเสริมให้เอกชนปลูกไม้สักทองจากสวนป่าที่ปลูกขึ้นมาใช้แทนกันได้ แม้ว่า ไม้สักที่ปลูกจะมีลวดลายไม่สวยงามเหมือนไม้สักทองในป่าธรรมชาติ แต่ก็มีความแข็งแรงทนทานเหมือนกัน

 

 




นานาสาระ

การเลือกใช้ไม้ชนิดต่างๆให้เหมาะกับประโยชน์การงาน article
ผลิตภัณฑ์กลุ่มวัสดุแผ่น
การตกแต่งผนังโดยไม้อัดสัก Italy article
ผลิตภัณฑ์ไม้กับความชื้น
การป้องกันและรักษาเนื้อไม้ article
วิธีการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้
ข้อกำหนดไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็ง
ทางเลือกในการซื้อพื้นไม้ article
FSC และการรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification)
ตารางแสดงค่ากลสมบัติของไม้ชนิดต่างๆ
ตารางการหดตัวของไม้ชนิดต่างๆ Wood Shrinkage Table
Softwood & Hardwood
Plain Sawn or Quarter Sawn ?
การติดตั้งพื้นไม้ Decking
ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
Thailand’s forests and the forestry sector
ข้อมูลเศรษฐกิจไม้ยางพารา article
สถิติการป่าไม้ของประเทศไทย 2545 ->2549 article
อุตสาหกรรมไม้ยางพารา article
ไม้ยางพาราในประเทศไทย article
อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา
การใช้ประโยชน์จากไม้ยางพาราในปัจจุบัน
Rubberwood 1,2 - Introduction & Resourse Proporties article
Rubberwood 3- Resources Availability article
Rubberwood 4 - Utilization article
Rubberwood 5, 6- Availability and Conclusion article
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับEURO PALLET
ส่งออกสินค้าไปยุโรป อ่านที่นี่
มารู้จักศัพท์ทางด้านการบรรจุภัณฑ์ดีกว่า article
คุณรู้จัก IPPC แล้วหรือยังว่าคืออะไร article
กฎใหม่ลังไม้ไปนอก article
IPPC- ISPM 15 Implementation Dates by country April 2006 article
Heat treated หรือ Methyl Bromideเลือกแบบไหนดี?
รายชื่อผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ISPM15 article
การใช้ไม้เพื่อการหีบห่อ
ลังไม้และกล่องไม้
EPAL Pallet System
Pallets in a container, on a truck or wagon article
พาเลทหมุนเวียน ลดต้นทุนโลจิสติกส์ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Loading