ไม้อัดไม้ประกอบถือได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์ไม้ได้อย่างคุ้มค่าและชาญฉลาด โดยการใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีของไม้ (Wood Technology ) มาประยุกต์ใช้จากการแปรรูปไม้หรือเศษเหลือจากอุตสาหกรรมโรงเลื่อย อุตสาหกรรมเครื่องเรือนหรืออื่น ๆ นำกลับมาประกอบเป็นไม้ใหม่(Wood Reconstituted Board ) อีกทั้งเอื้ออำนวยคุณลักษณ์หลายๆ ด้าน เช่นความกว้างใหญ่ของแผ่นไม้ และความรู้ เทคโนโลยีไม้นี้ยังก้าวหน้าไม่หยุดยั้ง ขึ้นตลอดเวลาเพื่อเพิ่มคุณสมบัติของแผ่นไม้อัดไม้ประกอบให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น
ไม้อัดและไม้บาง (Plywood & Veneer )
ไม้อัดและไม้บางนั้นผลิตควบคู่กันเพื่อใช้งานทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออกทั้งไม้อัดและไม้บาง ซึ่งในตลาดโลกมีภาวะ การแข่งขันสูงเนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ต่างก็มาตรฐานการส่งเสริมเพื่อการส่งเสริมเพื่อการส่งออกและทุ่งปริมาณเข้าสู้ตลาดโลกอย่างมากมาย แผ่นไม้อัดนั้นเป็นที่นิยมเพราะมีคุณสมบัติที่ดีในการก่อสร้างที่เห็นได้ชัดคือแผ่นกว้างใหญ่ น้ำหนักเบาเมื่อเปรียบเทียบกับไม้จริง แต่แนวโน้มโรงงานไม้อัดไม้บางคงจะมีน้อยลงเนื่องจากไม้หายากขึ้น และภาวะ การแข่งขันในตลาดโลกสูง โรงงานที่มีอยู่จะต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีให้สามารถปอก ( Peeling ) หรือฝาน (Slicing ) ไม้ท่อนเล็ก ๆ ได้ อีก วัตถุดิบไม้ที่ใช้ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ ไม้ตองจิง ไม้จำปา ไม้สยา ไม้กะบาก ฯลฯ
แผ่นไม้ประกอบ ( Composite Board )
แผ่นไม้ประกอบการใช้เศษไม้ปลายไม้ที่เหลือจากโรงเลื่อย ซึ่งสามารถผลิตได้ โดยใช้เทคโนโลยีง่าย ๆ คือ
1.แผ่นไม้ปาร์เก้ ( Parquet & Mosaic Parquet )
แต่เดิมนิยมผลิตจากไม้สัก ต่อมาผลิตจากไม้ยางพาราและมีการใช้ไม้โตเร็วแล้วคือ ไม้ยูคาลิปตัส การผลิตไม้ปาร์เกนี้จะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น มีการก่อสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัยมากขึ้น ถึงแม้จะต้องแข็งขันกับวัตดุปูพื้นอื่น ๆ เช่น กระเบื้อง ยาง หินอ่อน หินขัด ฯลฯแต่ด้วยคุณลักษณะของไม้นั้นเป็นที่นิยมมากกว่า
2.แผ่นไม้ประสาน ( Block Board )
แผ่นไม้ประสานสามารถผลิตได้ในโรงเลื่อยหรือโรงงานผลิตเครื่องเรือน โดย การนำเศษไม้เปลือยไม้จากโรงงาน มาตัดซอยให้ได้ขนาดอาจใช้การต่อปลายแบบนิ้วประสาน แล้วทากาวด้านข้างเรียงต่อกันเป็นแผ่นกว้างใหญ่ขึ้น ด้วยกรรมวิธีการผลิตง่าย ๆ และใชเศษไม้ปลายไม้ได้ประกอบกับความต้องการแผ่นไม่ประสานในตลาดทั้งภายในและนอกประเทศมีสูงขึ้นทุกๆ ปี
วัตถุดิบไม้ที่ใช้ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ยางพารา ไม้ยางนา เป็นต้นฯลฯ
แผ่นชิ้นไม้อัด ( Particleboard )
แผ่นชิ้นไม้อัดใช้เศษไม้ปลายไม่ได้เช่นกัน มีลักษณะแผ่นชิ้นไม้อัดขนาดลดหลั่ง ( Graduated ) ชนิดแผ่นชิ้นไม้อัด 3 ชั้น (3 Layer ) และ1ชั้น (Single – layer ) ซึ่งยังไม่มีการผลิตในประเทศ แผ่นชิ้นไม้อัดเริ่มมีบทบาทเด่นชัดขึ้นเพราะสามารถใช้ทดแทนไม่อัดได้และราคาถูกกว่าอีกด้วย แผ่นชิ้นไม้อัดมักจะนำนำมาปิดทับด้วยแผ่นพลาสติกฟอร์ไม้ก้า กระดาษตกแต่ง หรือนำมาใช้เป็นแกนกลาง ของไม้อัดเพื่อเพิ่มความหนาของไม้อัด ช่วยลดต้นทุนการผลิตไม้อัดแผ่นชิ้นไม้อัดบางชนิดมีรูตรงกลาง เพื่อลดปริมาณและน้ำหนัก อีกทั้งใช้เป็นสองทางสอดท่อน้ำ สายไฟ และฉนวนกันความร้อนได้ด้วย การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดนี้จะขยายตัวมากขึ้นตามความต้องการในการก่อสร้างการผลิตเครื่องเรือน และการนำไปเป็นแกนกลางของไม้อีกดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้เทคโนโลยี การผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดยังได้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นจนเทียบเท่าไม้อัดและไม้จริงคือ
1. แผ่นเวเฟอร์บอร์ด( Waferboard )
แผ่นเวเฟอร์บอร์ดนี้ใช้ชิ้นไม้ขนาดเล็กบางๆ เรียกว่าเกล็ดไม้ ( Flake ) มีทั้ง ลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งแบ่งย่อยเป็นชนิดSingle – layer Waferboard , 3-layer Waferboard และชนิดพิเศษคือ Waferboard – plus ตามลักษณะของเกล็ด ไม้และ เลียงตัวโดยมีกาวเป็นสารเกาะยึด ซึ่งแผ่นเวเฟอร์บอร์ดที่ได้นี้จะมีคุณสมบัติ ที่เทียบเท่าหรือดีกว่า แผ่นไม้อัด
2. แผ่นเกล็ดไม้อัดเรียงชิ้น ( Oriented Strand Board ,OSB)
แผ่นเกล็ดไม้อัดเรียงชิ้นนี้ผลิตจากชิ้นไม้ที่มีลักษณะบางแบนและมีความยาวมากเมื่อเทียบกบความกว้าง เรียกว่า Strands โดยนำมาเรียงชิ้นเป็นแผ่น 3 ชั้น คือผิวหน้าด้านนอกสองข้างจะเรียงตามความยาวแผ่น ส่วนแกนกลลางจะเรียงตามขวางเช่นเดียวกับลักษณะไม้อัดทให้มีความแข็งแรงและความทนทานสูงใช้ทดแทนแผ่นไม้อัดได้เช่นเดียวกัน ดังกล่าวนี้แผ่นชิ้นไม้อัดสามารถที่จะใช้เศษไม้ปลายไม้หรือไม้ท่อน เล็กๆได้และยังมีแหล่งวัตถุดิบที่มีอยู่มากคือไม้ยางพาราและไม้โตเร็วในอนาคต อีกทั้งแนงโน้มการสร้างโรงงานแผ่นชิ้นไม้อัดไม่ว่าชนิดใดจะกระจายตัวออกไปตามแหล่งวัตถุดิบไม้ ย่อมทำให้เกิดการจ้างแรงงานช่วยกระจายได้ให้แก่ชนบทต่อไป วัตถุดิบไม้ที่ใช้ ได้แก่ ไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส เป็นต้น
แผ่นใยไม้อัด ( Fiberboard )
1. แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลางหรือเอ็มดีเอฟ (MDF Board)
แผ่นใยไม้อัดนี้สามารถผลิตแผ่นไม่ให้ทดแทนแผ่นไม้อัดไม้ประกอบอื่น ๆ ได้ดีโดยเฉพาะแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง ( MDF ) ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงธรรมชาติและสามารถเพิ่มคุณค่าให้สูงขึ้นโดยการปิดทับด้วยไม้บาง กระดาษตกแต่งฟอร์ ไมก้า เครือบเมลามีนแผ่นวัตถุกันความร้อน หรือการพิมพ์สีสลักลายลงบนพื้นผิว
นอกจากนี้แผ่นยไม้อัดยังสามารถที่จะนำพืชเส้นใยทางเกษตรมาใช้ได้หลายชนิดนับว่าเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการเกษตร หรืออุตสาหกรรมต่อเนื่องจากโรงเลื่อย โรงงานไม้อัดโดนนำเศษเหลือมาใช้ได้
แผ่นใยไม้อัดนี้สามารถจำแนกได้ ความหนาแน่นเป็น 2 กลุ่ม 5 ชนิดด้วย กัน คือ
แผ่นใยไม้อัดอ่อน หรือแผ่นใยไม้ฉันฉนวน (S oftboard or Insulaion Board )
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
แผ่นไม้อัดอ่อนใช้เป็นฉนวนกันความร้อนและเสียง ใช้ทำฝาเพดานผนังห้องประชุมโรงมหรสพ ห้องเสียง ห้องสมุด และสำนักงาน ซึ่งยังไม่มีการผลิตในประเทศต้องนำเข้ามาจากญี่ปุ่น
2.แผ่นใยไม้อัดแข็ง ( Hardboard )
แบ่งออกได้ 3 ชนิด
-
แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง( Intermediate or medium Density Fiberboard,MDF ) แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลางสามารถใช้ไม้ยูคา ลิปตัส เศษไม้ปลายไม้ชนิดต่าง ๆและชานอ้อยเป็นวัตถุดิบได้เช่นเดียวกัน แผ่นใยไม้อัดชนิดนี้มีคุณสมบัติใก้ลเคียงไม้ธรรมชาติ ซึ่งมีความต้องการมางทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศ และมีการผลิตเป็นเครื่องเรือน และได้ราคาดีกว่าเครื่องเรือนจากแผ่นชิ้นไม้อัดที่มีเกรดดีที่สุดถึง 20 %-50%
แผ่นไม้อัดสารแร่ ( Wood Mineral-bonded Panel )
แผ่นไม้อัดสารแร่นั้นเป็นการยึดเกาะของไม้กับสารแร่ เช่น ซีเมนต์ ยิปซัม เป็นต้น กับไม้ชิ้นเล็กๆ เช่น ฝอยไม้ ( Wood ) ชิ้นไม้ ( Panicle ) ใยไม้ ( Fiber ) เป็นต้น และเส้นใยทางเกษตรได้แผ่นไม้อัดสารแร่ในปัจจุบันอาจจำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ
1. แผ่นไม้อัดซีเมนต์ แบ่งย่อยได้ 3 ชนิด
1.1 แผ่นฝอยไม้อัดซีเมนต์ ( Wood-wool Cement Board ) วัตถุดิบไม้ที่ใช้คือไม้สมพง
1.2 แผ่นชิ้นไม้อัดซีเมนต์ ( Cement bonded Particleboard ) วัตถุดิบไม้ที่ใช้คือ ไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส
1.3 แผ่นใยไม้อัดซีเมนต์ ( Cement bonded Fiberboard ) ยังไม่มีการผลิตขึ้นในประเทศ
2. แผ่นไม้อัดยิปซัม ( Wood Gypsum Board ) แบ่งย่อยได้เป็น 2 ชนิด
2.1 แผ่นชิ้นไม้อัดยิปซัม ( Gypsum Particleboard )
2.2 แผ่นใยไม้อัดยิปซัม ( Gypsum Fiberboard )
แผ่นไม้อัดยิปซัมนี้มีการผลิตขึ้นเพื่อการค้าแล้วในประเทศเยรมัน ส่วนในประเทศยังไม่มีการผลิตซึ่งในอนาคตน่าจะผลิตขึ้นได้ เนื่องจากมีแร่ยิปซัมที่มีปริมาณมากเพียงพอและมีคุณภาพความบริสุทธิ์ดีมากแห่งหนึ่งของโลกด้วย
3. แผ่นไม้อัดสารอื่นๆ ( Other Wood Mineral-bonded Panel )
แผ่นไม้อัดสารแร่อื่นๆ ที่น่าสนใจชนิดหนึ่งคือ Ecocem ซึ่งเป็นชื่อการค้าผลิตโย Raute ของประเทศฟินแลนด์โดยใช้ส่วนผสมของขี้ตะกรัมผงกากเตาถลุงเหล็ก ( Blastfurnace Slag ) ซึ่งได้จากโรงงานถลุงเหล็กกับชิ้นไม้ ซึ่งยังไม่มีการผลิตในประเทศเช่นกัน
ข้อมูลจาก : การใช้ประโยชน์ไม้ขั้นพื้นฐาน. สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรม ป่าไม้. 2547.
เรียบเรียง : บางรักษ์ เชษฐสิงห์ นักวิชาการป่าไม้ 5