ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในไลน์ เพื่อติดต่อ-สอบถาม
dot
dot
ไม้อัด/MDF/Particle Board
dot
bulletเช็คราคาไม้อัด
bulletเลือกซื้อไม้อัดเกรดไหนดี?
bulletไม้อัด/MDF/Particle Board
dot
ไม้แปรรูป Timber
dot
bulletไม้แปรรูปที่เรามีจำหน่าย
bulletTimberX CCA Treated Wood
bulletRubberwood AB
bulletRubberwood C
bulletไม้แปรรูปอื่นๆ Other Species
dot
พาเลท IPPC
dot
bulletพาเลท ชนิด Four Way
bulletพาเลท ชนิด two way
dot
พาเลทStandard Pallet
dot
bulletพาเลท IPPC Pallet
bulletเกี่ยวกับ EURO Pallet
bulletพาเลทสำหรับCONTAINER
dot
นานาสาระArticle
dot
bulletการเลือกใช้ไม้ชนิดต่างๆให้เหมาะกับประโยชน์การงาน
bulletลิงค์เกี่ยวกับไม้ Hot Links
bulletผลิตภัณฑ์กลุ่มวัสดุแผ่น
bulletการตกแต่งผนังโดยไม้อัดสัก Italy
bulletSoftwood & Hardwood
bulletตารางแสดงค่ากลสมบัติของไม้ชนิดต่างๆ
bulletตารางการหดตัวของไม้ชนิดต่างๆ Wood Shrinkage Table
bulletPlain Sawn or Quarter Sawn ?
bulletการติดตั้งพื้นไม้ Decking
bulletข้อกำหนดไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็ง
bulletวิธีการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้
bulletผลิตภัณฑ์ไม้กับความชื้น
bulletวิธีการเลือกซื้อพื้นไม้
bulletทางเลือกในการซื้อพื้นไม้
bulletการป้องกันและรักษาเนื้อไม้
bulletความรู้เกี่ยวกับไม้สัก
bulletFSC และการรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification)
bulletWood to the rescue
bulletAbout Rubberwood
bulletRubberwood 1,2
bulletRubberwood 3
bulletRubberwood 4 - Utilization
bulletRubberwood 5, 6
bulletข้อมูลเศรษฐกิจไม้ยางพารา
bulletอุตสาหกรรมไม้ยางพารา
bulletไม้ยางพาราในประเทศไทย
bulletคุณรู้จัก IPPC หรือยัง?
bulletกฎใหม่ลังไม้ไปนอก
bulletIPPC- ISPM 15 by country April 2006
bulletผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ไม้ ISPM15
bulletประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
bulletThailand’s forests and the forestry sector
bulletสถิติการป่าไม้ของประเทศไทย 2545-2549
bulletอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา
bulletการใช้ประโยชน์จากไม้ยางพาราในปัจจุบัน
bulletมารู้จักศัพท์ทางด้านการบรรจุภัณฑ์ดีกว่า
bulletHeat treated หรือ Methyl Bromideเลือกแบบไหนดี?
bulletการใช้ไม้เพื่อการหีบห่อ
bulletลังไม้และกล่องไม้
bulletEPAL Pallet System
bulletPallets in a container, on a truck or wagon
bulletLike Box




ข้อมูลเศรษฐกิจไม้ยางพารา article


ข้อมูลด้านเศรษฐกิจไม้ยางพาราของไทย

 

การใช้ประโยชน์ไม้ยางพารา

จากการงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง มีข้อสรุปว่า ต้นยางพาราที่ตัดโค่นในพื้นที่ 1ไร่ จะได้ไม้ยางพาราคิดเป็นปริมาตรไม้ ประมาณ 44.6 ลูกบาศก์เมตร หรือ ประมาณ 30 ตัน โดยแยกเป็นไม้เสาเข็ม (pilings) 2.87 ลูกบาศก์เมตร ไม้เลื่อย (saw logs) 20.4 ลูกบาศก์เมตร ไม้ฟืน (fuel wood) 21.09 ลูกบาศก์เมตร
 ไม้ยางพาราแปรรูปที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์ได้จากการทำไม้ไม้เลื่อย (saw logs) ไปแปรรูปซึ่งจะได้ไม้แปรรูปประมาณ 9.7 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ หรือประมาณร้อยละ 47 ของไม้เลื่อย
 จากรายงานของกรมป่าไม้ปรากฏว่าปัจจุบันโรงงานแปรรูปไม้ยางพารามีประมาณ 389 โรง แยกเป็นโรงงานแปรรูป 210 โรง  โรงอบ 96 โรง  โรงงานผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ 27 โรง  และ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ 56 โรง
 สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทยได้คาดการณ์ปริมาณ  ความต้องการใช้ไม้ยางพาราแปรรูปในกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศในปี 2543 ว่าจะมีปริมาณรวมไม่เกิน 1.6 ล้านลูกบาศก์เมตร

การส่งออกไม้ยางพาราแปรรูป
 การส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด  และมีอัตราการขยายตัวสูงมาก จะเห็นได้จากปริมาณและมูลค่าการส่งออกปี 2541 เป็น 74,110 ลูกบาศก์เมตร มูลค่า 353.18 ล้านบาท ได้เพิ่มเป็น 1,305,015 ลูกบาศก์เมตร มูลค่า 3,417.26 ล้านบาท ในช่วง 11 เดือนแรก (มกราคม – พฤศจิกายน) ของปี 2545
การส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปต้องเสียอากรขาออกในอัตราร้อยละ 3 ของมูลค่าส่งออก

ปริมาณและมูลค่าการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปของไทย

 

ปี

ปริมาณ (ลูกบาศก์เมตร)

มูลค่า (ล้านบาท)

2541    

74,110

353.18

2542

244,977

1,289.22

2543 

1,129,669

211.27

2544

1,404,745

2,311.07

2545 (ม.ค. - พ.ย.) 

1,305,015

3,417.26

                                                                                                                                        ที่มา กรมศุลกากร

การคำนวณปริมาตรไม้เปรียบเทียบ

ปี

ปริมาณ (ลูกบาศก์เมตร)

มูลค่า (ล้านบาท) ราคาขายที่ 250 บาท/ลูกบาศก์ฟุต

2541 

30,000

353.18

2542

140,000

1,289.22

2543

230,000

211.27

2544

260,000

2,311.07

2545 (ม.ค. - พ.ย.)

387,042

3,417.26

                                                                                                                                        โดย สมาคมธุรกิจไม้ยางพารา

 ตลาดส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปที่สำคัญได้แก่ จีน ฮ่องกง เวียดนาม มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และ ญี่ปุ่น มูลค่าการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปของไทยไปจีน ได้เพิ่มขึ้นจาก 117.9 ล้านบาท ในปี 2542 เป็น 1,906.3 ล้านบาท ในช่วง 10 เดือนแรก (มกราคม – ตุลาคม) ของปี 2545 เช่นเดียวกับการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปในฮ่อองกง มูลค่าเพิ่มขึ้น 731.8 ล้านบาท ในปี 2542 เป็น 1,245.6 ล้านบาท ในช่วง 10 เดือนแรก ของปี 2545

มูลค่าการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปไปประเทศต่าง ๆ
มูลค่า : ล้านบาท

ปี

จีน

ฮ่องกง

เวียดนาม

มาเลเซีย

 

ไต้หวัน

2542   

117.9   

731.8 

352.8 

30.8  

76.6

28.3

2543   

535.0 

1,180.6 

215.8 

89.0

73.7

43.3

2544 

1,042.3 

1,038.3

126.8

57.5

62.9

29.8

2545(ม.ค.-ต.ค.)

1,906.3

1,245.6

99.9

88.

52.7

48.3


 

 มีการนำเข้าไม้ยางพาราแปรรูปจำนวนไม่มากในแต่ละปีกล่าวคือมีการนำเข้าไม้ยางพาราแปรรูปปริมาณ 62 ลูกบาศก์เมตรในปี 2542 แหล่งนำเข้าได้แก่ ลาว พม่า การนำเข้าต้องเสียอากรขาเข้าในอัตราร้อยละ 1 และ ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7

 การส่งออกเฟอร์นิเจอร์

มูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกในปี 2540 เป็น 14,393 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 28,081 ล้านบาท ในปี 2544 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 18.6 ต่อปี ตลาดส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่สำคัญ  ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาคา สหราชอาณาจักร เยอรมนี เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส อิตาลี และเนเธอร์แลนด์     ส่วนผลิตภัณฑ์ไม้ ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ การส่งออก เฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ไม่ต้องเสียภาษีส่งออก

มูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้

ปี 

มูลค่า

% การเปลี่ยนแปลง

2540

14,393.0

-

2441

17,766.1

23.4

2542

21,682.1

22.0

2543

27,833.2

28.3

2544

28,081.6

0.89


ราคากลางไม้ยางพารา
จัดทำโดย สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย

   ขนาด (หนา x กว้าง x ยาว)

ราคาหน้าโรงงาน เกรด AB บาท/ลบ.ฟุต

1. 

0.5” x 2”, x 3”, x 4” x 1.00 – 1.30 เมตร

190 - 195

 2. 

0.625” x 2”, x 3”, x 4” x 1.00 – 1.30 เมตร

190 - 200

3. 

0.75” x 2”, x 3”, x 4” x 1.00 – 1.30 เมตร

190 - 200

4. 

0.875” x 2”, x 3”, x 4” x 1.00 – 1.30 เมตร

190 - 200

5. 

1” x 2”, x 3”, x 4” x 1.00 – 1.30 เมตร

190 - 200

6. 

1.25” x 2”, x 3”, x 4” x 1.00 – 1.30 เมตร

195 - 205

7. 

1.5” x 2”, x 3”, x 4” x 1.00 – 1.30 เมตร

195 – 205

8. 

2” x 2”, x 3”, x 4” x 1.00 – 1.30 เมตร

205 - 210

9. 

2.5” x 2.5” x 1.00 – 1.30 เมตร

220 – 230

10. 

3” x 3”  x 1.00 – 1.30 เมตร

230 - 250

หมายเหตุ ก.   ราคาดังกล่าวเป็นราคาหน้าโรงงาน และยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
               ข. ไม้แปรรูปที่มีความยาวมากกว่า จะราคาสูงกว่า
               ค. ราคาดังกล่าวเป็นราคาในช่วงฤดูฝน ราคาจะลดลงประมาณ 5 บาท/ลบ.ฟุต ในช่วงฤดูแล้ง
               ง. ถ้าไม้ขนาดแปรรูป แตกต่างจากตารางข้างบน ราคาอาจสูงขึ้นแล้วแต่กรณี
               จ. คุณภาพไม้เป็นไปตามมาตรฐานไม้ยางพาราแปรรูปของสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย
เงื่อนไขการซื้อ – ขาย  โดยเงินสดหรือเปิด L/C ประกาศ ณ เดือน สิงหาคม 2545


ผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา – ภาพรวม
โดย ... Dr. Hoi Why Kong (FRIM)
ที่มา แปลจากเอกสารสัมมนา Developing Rubber wood Industries Workshop Handbook  จัดโดย  IRSG (8-12 October 2001 Malaysia/Thailand)ในส่วนProducts From Rubber wood–An Overview.

บทนำ

     ไม้ยางพาราเป็นวัตถุดิบที่สำคัญอย่างหนึ่งในผลิตภัณฑ์ไม้ที่หลากหลาย (Lew & Sim 1982, Daljeet Singh et al 1987, Chew & Rozehan 1990, Ser 1990, Lew 1992, Chew 1993)

     ในอดีตไม้ยางถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงในรูปแบบของไม้ฟืนในชุมชนชนบท หรือใช้ในการ     รมยาง  อุตสาหกรรมการผลิตอิฐ ไม้ยางได้รับการยอมรับในการทำเป็นถ่านเพื่อใช้ในการผลิต  เหล็กกล้า (Steel)  การใช้ประโยชน์จากไม้ยางพาราในปัจจุบัน นอกเหนือจากพัฒนาใช้ในอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแล้วยังใช้เป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญประมาณ 67% ของไม้ยางพาราของแหลมมาลายาใช้ในรูปของเชื้อเพลิง (Lew 1992)

      เริ่มจาก ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา ไม้ยางพาราได้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ไม้เพิ่มขึ้น การส่งออก ไม้ยางพาราแปรรูปได้เพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าของปริมาณและมูลค่าของการส่งออก ในเวลาเดียวกัน ปริมาณการส่งออกเฟอร์นิเจอร์จาก RM$ 29.6 ล้านในปี 1980 ขยายเป็น RM$ 578.7 ล้านในปี 1992 ซึ่งประเมินว่าเป็นเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา 70% ของการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมด (Ser 1990, Chew & Rozehan 1990) รวมถึงมีการเพิ่มอัตราการใช้ไม้ยางพาราในการผลิตไม้แผ่นเรียบ เช่น MDF โดยมีโรงงานซึ่งผลิตอยู่หลายแห่งในประเทศมาเลเซียและยังมีอีกซึ่งกำลังอยู่ในแผนการลงทุน (Tan 1993)

การใช้ในอดีต
 เชื้อเพลิง
มีการใช้ไม้ยางพาราเป็นเชื้อเพลิงในประเทศที่ปลูกยางพาราเช่น อินเดีย ศรีลังกา และ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อ :
(i) ใช้หุงต้ม
(ii) ตากและรมยางแผ่นรมควัน
(iii) บ่มใบยาสูญ
(iv) เผาอิฐและดินเผา
(v) ทำถ่านสำหรับอุตสาหกรรมเหล็กกล้า

Wood chips (เศษไม้)
 มีปริมาณไม้ยางพาราที่ได้ทำเป็นเศษไม้เพื่อส่งออกไปญี่ปุ่น (Lew & Sim 1982) เศษไม้นี้ใช้สำหรับการผลิตเยื่อกระดาษและสำหรับการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ (Rayon)

การใช้ประโยชน์ในปัจจุบันและศักยภาพในการนำมาใช้

 

ไม้แปรรูป (Sawn Timber)

ปัจจุบันมีโรงเลื่อยแปรรูปไม้ยางพาราที่จดทะเบียนประมาณ 175 โรง นอกเหนือจากนั้นมีโรงเลื่อยเคลื่อนที่ในสวนยางที่ทำการแปรรูปไม้ยางพาราในสวนยาง  การเพิ่มขึ้นของโรงเลื่อยมีผลสืบเนื่องจากความต้องการไม้ยางพาราทั้งในประเทศต่างประเทศ
 การส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปจากแหลมมาลายูเริ่มจากปริมาตร 903 ม.3 ในมูลค่า RM$140,000 ในปี 1979 ได้เพิ่มเป็น 221,361 M3 ในมูลค่า RM$ 98.7 ล้าน ในปี 1989  ในช่วงเริ่มต้นการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปดึงดูดผู้ส่งออกที่ไม่มีประสบการณ์ ซึ่งมีเครื่องมือในการผลิตที่ไม่มีคุณภาพเหมาะสมซึ่งส่งผลให้เกิดการร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราในเชิงของความเสียหายโดยมอดและราเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว  คณะกรรมการอุตสาหกรรมไม้ในมาเลเซีย (MTIB) ได้กำหนดมาตรฐานในการส่งออกในปี 1987 ควบคุมให้ไม้ยางพาราจะต้องมีการอัดน้ำยาและอบแห้งให้มีความชื้นไม่เกิน 16%

เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน

 

ไม้ยางพาราได้รับการตอบสนองจากกลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์เป็นส่วนใหญ่  ไม้ยางพาราถูกใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์หลายรูปแบบจากเฟอร์นิเจอร์ภายในเช่น ชุดโต๊ะอาหาร เฟอร์นิเจอร์     ทั่วไป เฟอร์นิเจอร์รับแขกและตู้ ไปจนถึงชุดสนาม (ในสวน)  เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราส่งออก      ทั้งโดยการประกอบสำเร็จ กึ่งสำเร็จรูป (Semi-knock-down) หรือแยกส่วนประกอบ (Complete-knock-down) ทั้งหมด เนื่องจากสีครีมธรรมชาติและคุณภาพในการทำสีย้อมทำให้ไม้ยางพาราเป็นที่ยอมรับของตลาดส่งออก มี 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งทำการผลิตโดยใช้ไม้ยางพารา (Solid) และไม้ต่อ  ด้วยกาว และอีกกลุ่มหนึ่งเชี่ยวชาญในเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ชิ้นส่วนไม้อัด, วีเนียร์ เช่น เก้าอี้ และโต๊ะเตี้ยสามชิ้น  ซึ่งขาโต๊ะทำจากไม้ท่อนแปรรูป หน้าโต๊ะและที่นั่งเป็นไม้ต่อแผ่นด้วยกาว ชิ้นส่วนโค้งของผนังหลังเก้าอี้ทำด้วยไม้อัดวีเนียร์ ความต้องการเฟอร์นิเจอร์ใช้ไม้อัดโค้งจากชิ้นส่วนวีเนียร์ที่      เพิ่มขึ้น   ทำให้โรงงานไม้อัดอีกมากติดตั้งเครื่องปอกพิเศษสำหรับผลิตวีเนียร์จากไม้ยางพาราท่อน  โรงงานเฟอร์นิเจอร์อีกมากก็มีการติดตั้งเครื่องปอกไม้วีเนียร์จากไม้ยางพารา จากปลายปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา ร้อยละ 70 ของการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ต่อปีของมาเลเซีย มาจากการผลิตในแหลมมาลายา (Chew & Rozetan 1990, Ser 1990)

การขึ้นรูป ปาร์เก้ ไม้พื้น และชิ้นส่วนประกอบ

สีครีมและผิวหน้าที่แน่นของไม้ท่อนแปรรูป (Timber) บวกกับความง่ายในการแปรรูปและผิวสำเร็จที่มีคุณภาพสูง ทำให้ไม้ยางพาราเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับการขึ้นรูปเพื่อใช้เป็นคิ้วตกแต่งภายใน เช่นเดียวกับการขึ้นรูปขนาดใหญ่ เช่น ขอบประตู และขอบหน้าต่าง และชิ้นส่วนประกอบอื่น ๆ ไม้ยางพาราสามารถใช้เป็นไม้พื้นและปาร์เก้ได้เช่นกัน
 ในปัจจุบันการใช้ไม้ขึ้นรูปขนาดใหญ่ทำจากไม้ยางต่อเป็นแผ่นด้วยกาว      หรือปิดผิวด้วยวีเนียร์ เนื่องจากข้อจำกัดของการตัดไม้ยางพารามี่มีความยาวไม่เกิน 2 เมตร การต่อไม้โดยระบบนิ้วเสียบ (Finger Jointing) จึงมีความจำเป็นต่อการผลิตชิ้นส่วนการขึ้นรูปไม้ขนาดใหญ่

ของใช้ในครัว

 ของใช้ในครัวเรือนหลายอย่างผลิตจากไม้ยางพารา รวมถึงชามใส่สลัด ถาดผลไม้ เขียง เขียงเนยแข็ง เขียงเนื้อ ที่เสียบมีด ถาดที่ใส่น้ำตาลและพริกไทย ซึ่งผลิตจากการต่อเศษไม้เล็ก ๆ ของไม้ยางพาราด้วยการทำให้การใช้ไม้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต้องการผิวหน้าที่ใสและไม่มีสารพิษ เครื่องใช้ในครัวจากไม้ยางพาราเป็นที่นิยมในอเมริกาเหนือและประเทศยุโรป

ของเล่นไม้

มีการผลิตของเล่นจากไม้ยางพาราสำหรับภายในประเทศและส่งออก  อย่างไรก็ตามการเคลือบของเล่นต้องใช้น้ำยาที่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์

ไม้ยางพาราเพื่อวัสดุก่อสร้าง

คุณภาพเฉพาะตัวของไม้ยางทำให้ปรับคุณภาพต่อแบบนิ้วเสียบและต่อแบบอัดกาวเป็นชิ้นใหญ่ได้ง่ายใช้ทำเป็นคาน (Beams) เสา (Columns) ผนัง  (Wealtherboards) ฯลฯ ที่ FRIM (FOREST RESEARCH INSTITUTE OF MALAYSIA) ได้สร้างบ้านทั้งหลังด้วยไม้ยางพารา      จุดประสงค์หลักเพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้ไม้ยางพาราอย่างหลากหลาย  แต่ขณะนี้การสร้างบ้าน    จากไม้ยางพาราล้วน ๆ ราคายังสูงอย่างไรก็ตามสามารถแสดงให้เห็นการใช้กาวอัดและเทคนิคที่         เหมาะสมสามารถผลิตชิ้นส่วนก่อสร้างที่มีคุณค่าได้จากไม้ยางพารา

วัสดุผสมระหว่างไม้ยางพารา – โพลีเมอร์

วัสดุผสมระหว่างไม้และโพลีเมอร์ (WPC) ได้มีการผลิตเชิงพาณิชย์ในยุโรปและอเมริกาตั้งแต่ 1960 เป็นต้นมา วัสดุผสมดังกล่าวได้จากการอัดสาร Monomers เข้าในไม้และในที่สุดทำให้เป็นโพลีเมอร์ในเนื้อไม้จึงกลายเป็นวัสดุผสมระหว่างไม้และโพลีเมอร์  ไม้จากการผลิตโดยวิธีนี้มีความต้านทานต่อการผุ  เพื่อคุณสมบัติทางด้านกลศาสตร์และไม่บิดเบี้ยว
 ไม้ยางพาราอัดด้วย Monomers ในอัตรา 200 kg/ml สามารถเพิ่มความแข็ง การรับแรงอัด การรับความสึก และความต้านทานต่อการผุ การทดลองพิสูจน์ว่าวัสดุผสมระหว่างไม้ยางพารา (RWPC) และโพลีเมอร์สามารถผลิตได้และวัสดุผสมนี้สามารถใช้ในการผลิตไม้พื้น ปาร์เก้          ขั้นบันได และชิ้นส่วนอื่น ๆ

ไม้แผ่นเรียบจากไม้ยางพารา

 

ไม้ยางพาราถูกใช้ในเชิงพาณิชย์ในการผลิตไม้แผ่นเรียบในมาเลเซีย เช่น Particleboard, Cement-bonded particleboard (CBP) กระดานดำ (black board), MDF ความหนาของ particleboard ไม้ยางพารา จาก 4 ~19 mm มีความหนาแน่น 600 gm/ml จะเป็นรูปแบบธรรมดาหรืออัดปิดด้วยลายต่างๆ และลายไม้อย่างหลากหลายผลิตภัณฑ์ไม้แผ่นเรียบใช้อย่างจริงจังในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนประกอบสำหรับตู้ในห้องน้ำ ตู้เสื้อผ้า ตู้กั้นข้าง ตู้กับข้าว โต๊ะทำงาน โต๊ะ ฝากั้นห้อง ประตู และตู้ใช้ในครัว
 Particlaboard อีกอย่างหนึ่ง คือ Moulded Particleboard ซึ่งใช้ไม้ยางพารา 100% เป็นส่วนประสมของไม้กระบวนการผลิตไม้ยางผสมกับเรสินสังเคราะห์ (Synthetic resins) ซึ่งเกี่ยวกับการปรับคุณภาพด้วยสารเคมีและปิดผิวโดยวัสดุกันขูดขีด เพื่อใช้ผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ เช่น หน้าโต๊ะ ที่นั่ง พนักเก้าอี้ แผ่นฝ้า ฯลฯ
 ไม้ยางพาราเส้นได้ใช้ในการทำแผ่นหนาเพื่อเป็นใส้ในการทำกระดานดำ สินค้าดังกล่าวส่วนใหญ่เพื่อการส่งออก เศษเกล็ดไม้ยางพาราได้ใช้เฉพาะเพื่อผลิต CBP ซึ่งมีโรงงานแห่งเดียวในมาเลเซีย CBP มีคุณสมบัติของไม้แต่ทนกว่า  ทนต่อดินฝ้าอากาศ ต่อการลุกไหม้ ขึ้นรา ทนต่อแมลง และมีคุณสมบัติเกี่ยวกับการควบคุมเสียงที่ดี ไม้บอร์ดซึ่งมีความหนาจาก 8 - 40 mm ได้ผลิตเพื่อการใช้ที่แตกต่างกัน CBP  เหมาะสำหรับการใช้อย่างหลากหลายทั้งภายในและภายนอกโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
 โรงงาน MDF โรงแรกของมาเลเซีย ติดตั้งเมื่อปี 1989 ในปี 1993 ในแหลมมาลายามีโรงงาน MDF 4 โรง และมีอีก 2 โรงจะเปิดดำเนินการในปี 1994/5 โรงงานดังกล่าวใช้ไม้ยางพาราโดยเฉพาะในการผลิตแผ่นบอร์ด MDF ใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์อย่างกว้างขวาง เช่น หน้าโต๊ะ ตู้ ประตู และหัวเตียง


เยื่อกระดาษและการทำกระดาษ

ในปี 1960 การวิจัยแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ในผลิตเยื่อกระดาษจากไม้ยางพาราสำหรับทำกระดาษ (Peel & Peh 1960) เยื่อกระดาษเป็นที่หน้าสนใจเพราะมีสีอ่อนและศักยภาพที่ใกล้เคียงกับเยื่อกระดาษ Sulphate
 เยื่อกระดาษจากไม้ยางพารา เหมาะสำหรับการผลิตกระดาษสำหรับเขียนและการพิมพ์    ลูกฟูกและส่วนผสมในหนังสือพิมพ์ อย่างไรก็ดี น้ำยางที่มีอยู่เป็นอุปสรรคในการใช้เยื่อกระดาษในเชิงพาณิชย์ แต่ชาวญี่ปุ่นได้ใช้เยื่อกระดาษไม้ยางพาราในการผลิตกระดาษลูกฟูกในเชิงพาณิชย์

ถ่านและถ่านอัด

ถ่านไม้ยางพาราใช้ในการผลิตเหล็กกล้า การศึกษาของ FRIM ชี้ให้เห็นว่าสามารถนำเศษเล็ก ๆ และหัวไม้จากการตัดซิยไม้ยางพารามาผลิตถ่านโดยใช้เตาเคลื่อนที่ เตาดังกล่าวราคาอยู่ที่ RM 2,000 จึงเหมาะสำหรับชาวสวนยางรายย่อยและโรงงานที่เศษไม้เหลือ (HOl et al. 1990) ซึ่งสามารถทำให้ชาวสวนยางรายย่อยมีรายได้พิเศษ หัวไม้และเศษไม้ชิ้นเล็ก ๆ สามารถสับและใช้ในการผลิตเศษไม้และถ่านอัด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น  เกาหลี  ออสเตรเลีย ฯลฯ ถ่านขาวเป็นถ่านอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งสามารถทำจากไม้ยางพารา ซึ่งนับเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปถ่านสะอาดซึ่งมีควันน้อยในการเผาไหม้ และใช้มากในญี่ปุ่น 

 ไม้ยางพาราได้รับการยอมรับเป็นไม้ท่อนแปรรูปที่มีคุณภาพ  ซึ่งสามารถใช้ในผลิตภัณฑ์หลากหลาย วัตถุดิบสามารถหาได้ง่ายเนื่องจากการปลูกทดแทนในรอบ 25-30 ปี เฉพาะในมาเลเซียจะมีการผลิตไม้ท่อนยางพาราปีละ 9 ล้าน ม.3 ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญต่อการพัฒนาของอุตสาหกรรมไม้ท่อนแปรรูป ถึงแม้ว่ามีการใช้ในปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ การประเมินอย่างรอบคอบประเมินว่ายังมีอีกมากกว่า หนึ่งในสามของอุปทานของไม้ทั้งหมดที่ยังไม่ได้ถูกใช้ จึงมีศักยภาพในการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ในอนาคตของวัตถุดิบนี้ในทุกประเทศที่มีการปลูกไม้ยางพารา นอกเหนือจากประเทศมาเลเซีย

 





นานาสาระ

การเลือกใช้ไม้ชนิดต่างๆให้เหมาะกับประโยชน์การงาน article
ผลิตภัณฑ์กลุ่มวัสดุแผ่น
การตกแต่งผนังโดยไม้อัดสัก Italy article
ผลิตภัณฑ์ไม้กับความชื้น
การป้องกันและรักษาเนื้อไม้ article
วิธีการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้
ข้อกำหนดไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็ง
ทางเลือกในการซื้อพื้นไม้ article
ความรู้เกี่ยวกับไม้สัก
FSC และการรับรองทางป่าไม้ (Forest Certification)
ตารางแสดงค่ากลสมบัติของไม้ชนิดต่างๆ
ตารางการหดตัวของไม้ชนิดต่างๆ Wood Shrinkage Table
Softwood & Hardwood
Plain Sawn or Quarter Sawn ?
การติดตั้งพื้นไม้ Decking
ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
Thailand’s forests and the forestry sector
สถิติการป่าไม้ของประเทศไทย 2545 ->2549 article
อุตสาหกรรมไม้ยางพารา article
ไม้ยางพาราในประเทศไทย article
อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา
การใช้ประโยชน์จากไม้ยางพาราในปัจจุบัน
Rubberwood 1,2 - Introduction & Resourse Proporties article
Rubberwood 3- Resources Availability article
Rubberwood 4 - Utilization article
Rubberwood 5, 6- Availability and Conclusion article
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับEURO PALLET
ส่งออกสินค้าไปยุโรป อ่านที่นี่
มารู้จักศัพท์ทางด้านการบรรจุภัณฑ์ดีกว่า article
คุณรู้จัก IPPC แล้วหรือยังว่าคืออะไร article
กฎใหม่ลังไม้ไปนอก article
IPPC- ISPM 15 Implementation Dates by country April 2006 article
Heat treated หรือ Methyl Bromideเลือกแบบไหนดี?
รายชื่อผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ISPM15 article
การใช้ไม้เพื่อการหีบห่อ
ลังไม้และกล่องไม้
EPAL Pallet System
Pallets in a container, on a truck or wagon article
พาเลทหมุนเวียน ลดต้นทุนโลจิสติกส์ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Loading