อุตสาหกรรมไม้ยางพารา
อุตสาหกรรมไม้ยางพารา (Rubberwood Industry) หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับไม้ยางพาราทั้งระบบทุก ๆ ปัจจัย ครอบคลุมตั้งแต่การเลือกสรรพันธุ์ต้นยางพารา การปลูก การนำไม้ยางพารามาใช้ประโยชน์ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยมีการเพาะปลูกยางพารามากกว่าร้อยปี หากมองนโยบายของภาครัฐในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมานี้ ได้มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากน้ำยางเป็นหลัก จะเห็นถึงแนวโน้มการควบคุมการขยายพื้นที่การปลูกต้นยางอย่างชัดเจน ซึ่งการจำกัดพื้นที่การปลูกสวนยางโดยมิได้มองถึงประโยชน์จากไม้ยางพาราเป็นสำคัญ ข้อจำกัดต่างๆ ของไม้ยางพาราในประเทศยังไม่ได้มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจน ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคมที่แท้จริงยังมิได้มีการศึกษาอย่างจริงจังทั้งระบบ จึงมีความสำคัญยิ่งที่จะนำอุตสาหกรรมไม้ยางพาราทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและโอกาสในการพัฒนาในปัจจัยต่าง ๆ มาจัดทำยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมไม้ยางพาราเพื่อสร้างความชัดเจนและความสำคัญของไม้ยางพาราทั้งระบบ ในสภาพปัจจุบันการใช้ไม้ยางพาราในช้อจำกัดที่มีอยู่และมีการพัฒนาไปแล้วในระดับหนึ่งนั้น ไม้ยางพารายังคงมีศักยภาพที่จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกหลายด้าน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มในส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือ Waste ให้เป็นจริงเป็นจัง และการพัฒนาข้อจำกัดให้เป็นโอกาสอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากการให้การสงเคราะห์การตัดโค่นเพื่อปลูกทดแทนสวนยางพาราที่ประมาณ 200,000 ไร่/ปี ที่ผ่านมาจะมีศักยภาพในการผลิต ดังในผังแสดงปริมาณการตัดโค่นต้นยาง 1 ไร่ และ 200,000 ไร่
ปริมาตรไม้จากการตัดโค่นต้นยางพารา
|
ไม้แปรรูป |
ปีกไม้ |
ขี้เลื่อย |
ไม้ Ø น้อยกว่า 6” |
เศษไม้ขี้กบ |
200,000 ไร่ |
1.6 ล้าน ม.3 |
2.1 ล้าน ม.3 |
0.9 ล้าน ม.3 |
3 ล้าน ม.3 |
0.6 ล้าน ม.3 |
300,000 ไร่ |
2.4 ล้าน ม.3 |
3.15 ล้าน ม.3 |
1.35 ล้าน ม.3 |
4.5 ล้าน ม..3 |
0.9 ล้าน ม.3 |
400,000 ไร่ |
3.2 ล้าน ม.3 |
4.2 ล้าน ม.3 |
1.8 ล้าน ม.3 |
6 ล้าน ม.3 |
1.2 ล้าน ม.3 |
การตัดโค่นต้นยาง 200,000 ไร่ จะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต้นน้ำ – ปลายน้ำและมีรายได้ ดังนี้
อุตสาหกรรมต้นน้ำ (Primary Industry)
ขนาดไม้ |
ปริมาณ |
ราคาซื้อ-ขาย |
มูลค่า (ล้านบาท) |
Ø 6” ขี้นไป |
5 ล้าน ม.3 ( 4 ล้านตัน) |
1,150 บาท/ตัน |
4,000.00 |
Ø 5” ~ Ø 3” |
3 ล้าน ม.3 (2.4 ล้านตัน) |
600 บาท/ตัน |
1,440.00 |
|
|
รวม |
5,440.00 |
(ไม้ซุง 1 ม.3 = 0.800 ตัน)
รายได้เบื้องต้นจากต้นยางของอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่ารวม 5,440 ล้านบาท
อุตสาหกรรมกลางน้ำ (Secondary Process)
ประเภทไม้ |
ปริมาณ |
ราคาซื้อ-ขาย |
มูลค่า(ล้านบาท) |
มูลค่าการส่งออก(ล้านบาท) |
ไม้แปรรูป |
16 ล้าน ม.3 |
7,000 บาท/ม.3 |
11,200.00 |
3,850.00 |
ปีกไม้ |
2.1 ล้าน ม..3 (1.365 ล้านตัน) |
250 บาท/ตัน |
341.25 |
- |
ขี่เลื่อย |
0.9 ล้าน ม..3 (0.585 ล้านตัน) |
150 บาท/ตัน |
87.75 |
- |
Particle board |
0.88 ล้าน ม.3 |
5,000 บาท/ม.3 |
4,400.00 |
2,383.00 |
MDF |
0.85 ล้าน ม.3 |
7,000 บาท/ม.3 |
5,800.00 |
2,929.00 |
VENEER |
0.2 ล้าน ม.3 |
10,000 บาท/ม.3 |
2,000.00 |
370.00 |
ยางแผ่นรมควัน |
1 ล้านตัน ใช้ไม้ 150,000 ม.3 |
500 บาท/ม.3 |
75.00 |
31,500.00 |
ใช้ไม้ยางเป็นเชื้อเพลิง |
|
|
|
|
|
|
รวม |
23,704.00 |
41,032.00 |
(ไม้แปรรูป 1 ม.3 (แห้ง ความชื้นต่ำกว่า 12% = 0.650 ตัน)
รายได้จากอุตสาหกรรมกลางน้ำ จากต้นยาง มีมูลค่ารวม 23,704.00 ล้านบาท(ไม่รวมมูลค่าของไม้ยางที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม หากรวมมูลค่ายางรมควันด้วยจะเท่ากับมีมูลค่า 55,204.00 ล้านบาท)
อุตสาหกรรมปลายน้ำ TERTIARY
ประเภทสินค้า |
ราคา/ม.3 |
มูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์
ไม้ท่อนยางพาราแปรรูป(ล้านบาท) |
มูลค่า
(ล้าน ม.3) |
ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วน
(ไม้ท่อนยางพาราแปรรูป) |
34,000.00 |
16,148.16 |
0.47 |
วัสดุก่อสร้าง (50% เป็นไม้ท่อน
ยางพาราแปรรูป) |
30,000.00 |
2,360.85 |
0.0787 |
ของเล่น |
70,000.00 |
3,000.00 |
0.0428 |
กรอบรูป (50% เป็นไม้ท่อน
ยางพาราแปรรูป) |
34,000.00 |
2,360.00 |
0.0694
|
ของใช้ครัวเรือน |
45,000.00 |
4,561.00 |
0.1013 |
ของที่ระลึก |
|
|
0.001 |
รวมมูลค่า Solid Rubberwood |
|
28,430.00 |
รวม 0.7632 |
เฟอร์นิเจอร์ไม้แผ่นเรียบ |
|
8,074.08 |
|
|
|
รวม 36,504.08 |
รวม 0.7632 |
หมายเหตุ คำนวณจากการใช้ไม้แปรรูปที่เป็น Solid Rubberwood เป็นวัตถุดิบหลัก
รายได้จากอุตสาหกรรมปลายน้ำ ที่เป็นไม้ยางพาราแปรรูป มีมูลค่าส่งออกรวม 36,504.08 ล้านบาท
ราคาไม้ท่อนและไม้แปรรูปอื่น ๆ เทียบกับไม้ยางพารา
ชนิดไม้ |
ราคาไม้
|
|
ไม้ท่อน (บาท/ม.3)
|
ไม้แปรรูป (บาท/ฟุต.3)
|
ประดู่
|
15,000
|
1,000
|
มะค่าโมง
|
15,000
|
1,200
|
แดง |
9,000-10,000
|
800
|
สัก (ธรรมชาติ) |
20,000
|
1,200
|
สัก (ตัดสางขยายระยะ) |
10,000
|
600
|
ยางพารา |
770-925
|
190-220
|
หมายเหตุ : ราคาไม้แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดและคุณภาพไม้ ฤดูกาลอาจจะเป็น
ปัจจัยให้ราคาสูงต่ำนอกเหนือจากความต้องการของตลาด (มกราคม 2542)
โอกาส (Opportunities)
ไม้ยางพาราสามารถนำมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มและใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดได้ในรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
- พลังงาน
- เยื่อกระดาษ
- Carbohydrate Nutrient
- ปุ๋ยชีวภาพ
ซึ่งจะประเมินได้ว่าหากสามารถนำไม้ยางพาราที่ตัดโค่นที่ปริมาณ 2 แสนไร่/ปี ในส่วนของเนื้อไม้จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ประมาณ 65,000 ล้านบาท หากรวมมูลค่าการส่งออกยางแผ่นรมควันซึ่งใช้ไม้ยางพาราเป็นวัตถุดิบในการรม จะมีมูลค่าถึง 97,000 ล้านบาท ซึ่งจากมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มีนี้และยังไม่ได้รวมมูลค่าอื่นทางเศรษฐกิจที่จะมีจากศักยภาพและโอกาสที่ยังไม่ได้มีการนำมาใช้ให้ครบวงจร จะเห็นถึงความสำคัญที่จะต้องจริงจังในการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจจาก ไม้ยางพาราซึ่งมีผลเกื้อหนุนเกษตรชาวสวนยางซึ่งเป็นเศรษฐกิจรากหญ้าให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ในSME ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำให้มีฐานกว้างครอบคลุมถึงการใช้ไม้ยางพาราให้ได้ประโยชน์สูงสุดทุกด้านและสร้างดุลยภาพที่เหมาะสมของการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ยางพาราทั้งระบบ
การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ยางพาราทั้งระบบจึงมีความจำเป็น เพื่อให้มีการกำหนดกลยุทธ์ มาตราการและวิธีการดำเนินการ ที่จะใช้ในการพัฒนาข้อจำกัด สร้างองค์ความรู้มีการวิจัยและพัฒนาด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี และดุลยภาพของไม้ยางพาราในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้ยางพาราทั้งระบบ ให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการนำปัจจัยต่าง ๆ และศักยภาพด้านต่าง ๆ ของไม้ยางพาราที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถกำหนดเป้าหมายและโครงสร้าง โอกาสและการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ยางพาราในอนาคตของประเทศไทยให้มีความยั่งยืน มีทิศทางที่ชัดเจนเป็นเอกภาพอย่างเป็นระบบบนพื้นฐานความเป็นธรรมและความเสมอภาคต่อไป
ไม้ยางพารา
ไม้ยางพาราเป็นวัตถุดิบทดแทนไม้ธรรมชาติอื่น ๆ ได้ดี จนมีผู้กล่าวว่า ไม้ยางพาราเป็นไม้สักขาว (White Teak) ไม้ยางพารามีส่วนเพิ่มแหล่งวัตถุดิบไม้อย่างยั่งยืน นอกจากได้น้ำยางแล้ว ยังเป็นการผลิตไม้ท่อนป้อนสู่อุตสาหกรรมไม้ของประเทศและการลดการบุกรุกทำลายป่า ในแต่ละปีมีสวนยางที่หมดอายุการกรีด เกษตรกรชาวสวนยางทำการโค่นปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี ในระหว่างปี 2540 - 2544 มีอัตราการโค่นยางปลูกแทนปีละ 150,000 – 230,000 ไร่ คิดเป็นปริมาณไม้ยางทั้งหมด 5.1 – 8.7 ล้านลูกบาศก์เมตร (ตารางที่ 44) ไม้ยางพาราที่โค่นลงนำไปทำไม้แปรรูป ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพาราทั้งใช้ภายในประเทศและส่งออก ปี 2540 –2544 ไม้ยางพาราทำรายได้ให้ประเทศ 7,947 – 28,081 ล้านบาท
ตาราง พื้นที่ปลูกแทนและปริมาตรไม้ยางที่ตัดโค่น
ปี
|
พื้นที่ปลูกแทน(ไร่)
|
ปริมาตรไม้ (ลูกบาศก์เมตร)
|
|
|
ภาคใต้
|
ภาคตะวันออก
|
รวม
|
2540
|
230,312
|
8,020,166
|
731,690
|
8,751,856
|
|
|
(91.6%)
|
(8.4%)
|
(100%)
|
2541
|
222,401
|
7,564,432
|
886,806
|
8,451,238
|
|
|
(89.5%)
|
(10.5%)
|
(100%)
|
2542
|
170,187
|
5,928,266
|
538,840
|
6,467,106
|
|
|
(91.7%)
|
(8.3%)
|
(100%)
|
2543
|
135,279
|
4,734,952
|
405,650
|
5,140,602
|
|
|
(92.1%)
|
(7.9%)
|
(100%)
|
2544
|
144,521
|
4,799,400
|
692,398
|
5,491,798
|
|
|
(87.4%)
|
(12.6%)
|
(100%)
|
หมายเหตุ : คำนวณจากปริมาตรไม้ 38 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ (ต้นยาง 65 ตัน) ไม้ที่ได้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 3 นิ้ว ขึ้นไป
ที่มา : ข้อมูลวิชาการยางพารา 2545 สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร
กลสมบัติของไม้ยางพารา
ไม้ยางพาราไม่จัดเป็นไม้เนื้อแข็งตามมาตราฐานของ กรมป่าไม้และสำนักงานมาตรฐาน กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นไม้ที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้เป็นไม้ในการก่อสร้าง ทั้งนี้เนื่องจากขนาดไม้ยางพาราที่จะนำมาเป็นไม้แปรรูปเป็นขนาดไม้ก่อสร้างหายาก การบิดงอและไม่คงทนเป็นสาเหตุสำคัญแต่ก็ใช้ทำเป็นไม้แบบคอนกรีตดีพอสมควร ใช้ทำรังใส่ของดีมาก และมีแรงยืดตะปูสูง
|
ความชื้น (%) |
ความถ่วงจำเพาะ |
ความแข็งแรง กก./ ซม.2 |
ความดื้อ
x 100
กก./ซม.2
|
ความเหนียวการเคาะ
|
ความแข็ง กก.
|
|
|
|
การดัด |
การบีบ |
การเชือด |
|
|
|
ไม้ยางพารา |
12 |
0.70 |
973 |
478 |
162 |
960 |
2.86 |
538 |
ความทนทาน โดยเฉลี่ยจากการทดลองไม่เกิน 2ปี อย่างไรก็ดีไม้ยางพารานั้นเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ทำเครื่องเรือน โดยเฉพาะ โต๊ะ เก้าอี้ เพราะใช้ไม้แปรรูปที่มีขนาดไม่ใหญ่และยาวนัก สามารถเลือกไม้ส่วนที่ดีคัดมาทำโต๊ะและเครื่องเรือนได้ ความแข็งแรงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ สำหรับไม้ยางพาราที่ใช้ทำเครื่องเรือนสีขาวนวลของเนื้อไม้ ทำให้มีลักษณะคล้ายไม้ Ramin (Gonystyllus spp.) ของมาเลเซีย และคล้ายไม้มะปิน (Sterculia alata Roxb.) ของไทย ที่เป็นที่นิยมกันมากขณะนี้
การคงรูปขณะใช้งาน (Dimensional Stability)
นับเป็นคุณลักษณะของไม้ที่สำคัญประการหนึ่ง ในการพิจารณาถึงความเหมาะสมสำหรับไม้ที่นำมาใช้ทำเครื่องเรือน หรือส่วนประกอบของอาคารที่ต้องการความแนบเนียนในการเข้าไม้ เช่น วงกบและกรอบประตูหน้าต่าง การอบหรือผึ่งไม้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ความชื้นเหลืออยู่ในไม้ได้ส่วนสัมพันธ์กัน กับสภาวะความชื้นในอากาศโดยเฉลี่ยของสถานที่ซึ่งจะนำไม้นั้นไปใช้งานให้มากที่สุด เพื่อว่าไม้จะได้มีขนาดค่อนข้างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักในภายหลัง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะอยู่ภายในร่มหรือห้องปิด เช่นห้องปรับอากาศ เนื่องจากความแปรปรวนของสภาวะความชื้นอากาศย่อมมีอยู่เสมอตามช่วงเวลาของวันและฤดูกาล ดังนั้นไม้ที่อบแห้งอย่างถูกต้องเมื่อสัมผัสกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศที่แตกต่างไปจากสภาวะโดยเฉลี่ย (ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการอบ) มาก การเปลี่ยนขนาดก็จะเกิดขึ้นได้อีก เข่น ในช่วงอากาศชื้นมากในหน้าฝนไม้จะพองตัวออก และในช่วงอากาศแห้งมากในหน้าหนาวไม้จะหดตัวลงสลับกันไป ซึ่งจะทำให้เกิดรอยห่าง ข้อต่อหลวม หรือประตูหน้าต่างคับเปิดปิดไม่สะดวก เหล่านี้เป็นต้น ความมากน้อยในการเปลี่ยนขนาดของไม้ดังกล่าวขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการดังนี้ คือ ระยะเวลาที่ไม้สัมผัสกับสภาวะอากาศเช่นนั้น ขนาดของชิ้นไม้ การใช้สารเคมี สี หรือน้ำมันชักเงาเคลือบผิวไม้ และประการสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ด้วย ไม้พวกหนึ่งหลังจากอบแห้งดี และนำไปใช้งาน จะดูด (หรือคาย) ความชื้นจากอากาศน้อยมาก เช่น ไม้สักหรือไม้มะค่าโมง ซึ่งเป็นผลให้การคงรูปดีแต่ในไม้อีกพวกหนึ่ง การดูด (หรือคาย) ความชื้นจากอากาศจะสูงมาก เช่น ไม้ยูคลิปตัสและไม้เกต ซึ่งไม้พวกหลังนี้การคงรูปขณะใช้งานไม่ดี
ไม้ยางพาราเป็นไม้ที่มีการเปลี่ยนแปลงความชื้นได้ง่ายเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเพื่อป้องกันการดูดคายความชื้นที่เป็นไปได้ง่ายในไม้ยางพารา การเคลือบสีหรือการชักเงาควรใช้วัสดุที่มีคุณภาพสูงในการป้องกันความชื้น สำหรับการเปลี่ยนแปลงเฉพาะด้านรัศมีและสัมผัส จะเห็นได้ว่าไม้ยางพาราจัดเป็นไม้ที่มีการหดตัวน้อย แต่เนื่องจากดูดความชื้นได้มาก การพองตัวก็เป็นไปได้มากเช่นกัน และยิ่งไปกว่านั้นการยืดหดตัวทางด้านยาวของไม้ยางพาราสูงผิดปรกติ จึงทำให้การคงรูปขณะใช้งานไม่ดีนัก ทั้งนี้เว้นแต่ว่าไม้ยางพาราจะได้รับการอบที่ถูกต้องแลบะมีการเคลือบผิวดีเป็นพิเศษ
คุณสมบัติเกี่ยวกับการแห้ง การหดตัว และการคงรูปขณะใช้งาน
โดยการนำเข้าอบในเตาอบอุตสาหกรรม ปรากฏว่าไม้ยางพาราเป็นไม้ที่อบแห้งได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น ไม้หนา 1 –2 ½ นิ้ว กว้าง 3 –6 นิ้ว ความชื้นเริ่มอบ 60 –70 % อาจอบให้แห้งมีความชื้น 8 –10 % ได้ภายในเวลา 5 –7 วัน ในการทดลองผึ่งแห้งด้วยอากาศในเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม 2521 (ฝนตกค่อนข้างชุก) ปรากฏว่าไม้หนา 1 นิ้ว กว้าง 6 นิ้ว มีอัตราการแห้งดังนี้
อัตราการแห้งของไม้ยางพาราในการผึ่งด้วยกระแสอากาศ
จำนวนวันผึ่ง
|
ปริมาณความชื้นในไม้ (%)
|
อัตราการแห่งเฉลี่ย (% ต่อวัน)
|
0
|
60
|
-
|
1
|
52
|
8
|
2
|
46
|
6
|
3
|
42
|
6
|
6
|
30
|
2.7
|
11
|
21
|
1.8
|
15
|
18
|
0.72
|
25
|
16.5
|
0.15
|
32
|
16
|
0.07
|
39
|
15.5
|
0.07
|
54
|
15
|
0.03
|
67
|
15
|
0
|
การหดตัวของไม้ยางพารา
การหดตัว (Shrinkage)หมายถึงการเปลี่ยนขนาดเนื่องมาจากการสูญเสียความชื้นของไม้ต่ำกว่าจุดหมาด (Fiber Saturation Point) สำหรับจุดหมาดของไม้เมืองไทย 83 ชนิด ที่ประมาณได้โดยวิธีการหาจุดตัดจากหดตัว เป็นตั้งแต่ 16 – 44 % และโดยเฉลี่ยเป็น 24.4% สำหรับไม้ยางพารา จุดหมาดที่หาได้จากวิธีนี้เป็น 21.3% (ซึ่งอาจกล่าวโดยอนุโลมได้ว่า การหดตัวส่วนใหญ่ใน ไม้ยางพาราจะมีขึ้นเมื่อความชื้นลดลงต่ำกว่า 21.3%)
การหดตัวของไม้ยางพาราเปรียบเทียบกับไม้สัก จากสภาพสดถึงอบแห้งสนิท
(คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของขนาดเมื่อสด)
รายงาน |
ไม้ยางพารา
|
ไม้สัก
|
|
รัศมี
|
สัมผัส
|
ยาว
|
ปริมาตร
|
รัศมี
|
สัมผัส
|
ยาว
|
ปริมาตร
|
พงศ์ และคณะ (4) |
2.95
|
5.58
|
0.09
|
9.19
|
2.52
|
5.15
|
0.09
|
7.64
|
โชติฯ และดำรงค์ฯ (1) |
2.55
|
5.20
|
1.07
|
8.60
|
-
|
-
|
-
|
-
|
U.S. For Prod. Lab |
2.00
|
5.10
|
0.46
|
7.80
|
-
|
-
|
-
|
-
|
Lee Y.H.C.Y. (Pun 12) |
2.30
|
5.10
|
0.99
|
8.20
|
2.30
|
4.20
|
-
|
-
|
Tokyo For Exp. Sta. (18) |
-
|
-
|
-
|
-
|
2.52
|
4.36
|
0.25
|
7.66
|
Table Density and specific gravity of rubberwood and some Malaysian Commercial timbers
Species |
Seasoning condition
|
Moisture content
|
Specific Density
|
gravity
|
Rubberwood
Hevea brasiliensis
|
Green
Air-dry
|
52
17.2
|
0.53
0.55
|
800
640
|
Dark red meranti
Shorea platyclados
|
Green
Air-dry
|
66
16.7
|
0.49
0.53
|
815
610
|
Light red meranti
Shorea leprosula
|
Green
Air-dry
|
63
14.2
|
0.46
0.50
|
755
575
|
Sepetir
Sindora coriacea
|
Green
Air-dry
|
47
16.6
|
0.56
0.59
|
815
690
|
Nyatoh
Palaquium gutta
|
Green
Air-dry
|
67
17.5
|
0.56
0.58
|
930
675
|
Ramin
Gonystylus bancanus
|
Green
Air-dry
|
55
18.6
|
0.58
0.59
|
895
675
|
ข้อจำกัดของกระบวนการผลิตไม้ยางพาราแปรรูป
ไม้สวนยาง 40 ม.3ข้อจำกัด
- ต้องโค่นเพราะไม่มีน้ำยางโดยเฉลี่ย 25-30 ปี
ต้นขนาด 8 ” ขึ้นไป |
ต้นขนาด 6” ขึ้นไป |
VENEER
|
โรงเลื่อยข้อจำกัดในการผลิต
- ต้องนำเข้าโรงงานเร็วทันทีหลังตัดโค่นไม่เกิน 7 วัน
- คุณภาพไม้ไม่ได้มาตรฐานพอสำหรับการแปรรูป
ไม้แปรรูป ข้อจำกัด
- ต้องอบทันทีและไม่เกิน 3 วัน
- เวลาอบอุณหภูมิความชื้นต้องควบคุม
การอบไม้ ข้อจำกัด
- ความชื้นต้องต่ำกว่า 12%
ไม้แปรรูปอบแห้ง
-โอกาสดูดความชื้นกลับมามีสูงมากหากอยู่ในที่บรรยากาศความชื้นในอากาศสูง
- โอกาสเป็นราสูง
- โอกาสโดนมอดทำลาย
- โก่งงอ ไม่ตรง
- ต้องจัดจำหน่ายไม่เกิน 3 เดือนมิฉะนั้นต้องอบความชื้นใหม่อยู่ที่ต่ำกว่า 12%
|